สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ก.พ. 43) เมื่อ 20 ปีก่อน โรเบิร์ต เวอริช พบก้อนหินสองก้อนจากทะเลทรายโมฮาเวในแคลิฟอร์เนีย และได้เก็บเอาไว้ด้วยเห็นว่ามีรูปร่างแปลกดี จนเมื่อเดือนตุลาคมปีที่ผ่านมานี้เองเมื่อเขากำลังชมก้อนหินในคอลเลกชันที่สะสมไว้แล้วเกิดสงสัยว่ามันอาจจะเป็นอุกกาบาตก็ได้ จากการวิเคราะห์ธาตุที่อยู่ในก้อนหินสองก้อนนี้โดยนักวิทยาศาสตร์จากยูซีแอลเอ ...

พบหลุมดำเดี่ยวผ่านหน้าดาวฤกษ์

(1 ก.พ. 43) นักดาราศาสตร์ได้พบหลุมดำเดี่ยวที่มีมวลระดับดาวฤกษ์สองดวงผ่านหน้าดาวฤกษ์ดวงอื่นในดาราจักรทางช้างเผือกจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลและกล้องโทรทรรศน์อื่นบนพื้นโลกในออสเตรเลียและชิลี การค้นพบหลุมดำที่มีมวลระดับดาวฤกษ์ก่อนหน้านี้ มักจะพบอยู่กับระบบดาวคู่ ซึ่งเป็นการค้นพบโดยการตีความจากการเคลื่อนไหวแกว่งไกวของดาวฤกษ์สหาย แต่หลุมดำที่ค้นพบในครั้งนี้ถูกค้นพบทางอ้อมจากปรากฏการณ์ ...

แอดวานซ์แอโรเบรกกิง

(1 ก.พ. 43) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยอิลินอยส์ได้คิดเทคนิคใหม่เรียกว่า แอดวานซ์แอโรเบรกกิง ซึ่งเป็นเทคนิคแอโรเบรกกิงแบบใหม่ที่นอกจากจะสามารถหน่วงความเร็วของยานอวกาศได้แล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางของยานอวกาศได้โดยอิสระได้อีกด้วย การเปลี่ยนทิศทางทำโดยเพิ่มแผ่นคล้ายกับแผงรับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อ ...

อนาคตของกาลิเลโอ

(1 ม.ค. 43) ผู้บริหารองค์การนาซาได้ตัดสินใจที่จะยืดอายุการปฏิบัติงานของยานอวกาศกาลิเลโอออกไปอีก จากกำหนดเดิมที่จะต้องจบปฏิบัติการในวันที่ 31 มกราคม 2543 ปฏิบัติการเสริมครั้งใหม่นี้จะมีชื่อว่า กาลิเลโอมิลเลเนียมมิชชัน (Galileo Millennium Mission) กำหนดการต่าง ๆ ของปฏิบัติการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนวางแผนอยู่ ...

มาร์สโพลาร์แลนเดอร์อาจพังเพราะพุ่งตกเหว

(1 ม.ค. 43) วิศวกรของล็อกฮีด มาร์ติน สันนิษฐานว่า สาเหตุที่ทำให้ภารกิจยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ล้มเหลว อาจเป็นเพราะยานได้ชนหรือตกลงไปในกับหน้าผาในบริเวณใกล้กับขั้วเหนือของดาวอังคาร ซึ่งมีความเป็นไปได้ แม้ว่าพื้นที่ ๆ กำหนดให้ยานลงจอดจะมีความราบเรียบมาก แต่ก็มีบางส่วนมีลักษณะเหมือนกับร่องเหว ...

สิ่งมีชีวิตใหม่ในทะเลสาบแอนตาร์กติกาสนับสนุนการมีสิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่น

(1 ม.ค. 43) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแบคทีเรียภายใต้แผ่นน้ำแข็งลึกในทวีปแอนตาร์กติกา จุดประกายความหวังที่จะพบสิ่งมีชีวิตบนยูโรปา การค้นพบครั้งนี้เป็นผลงานของ ดร. คริส แมกเคย์ นักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ของ NASA Ames Research Center และทีมงาน จากงานวิจัยที่มีชื่อว่า Geomicro-bioloty of Subglacial Ice About Lake Vostok, Antarctica ซึ่งเป็นการวิเคราะห์น้ำแข็ง ...

ข่าวลือส่งท้ายปี 2542 ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด

(1 ม.ค. 43) ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2542 ที่ผ่านมา ได้มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางทั่วโลกรวมทั้งสื่อมวลชนในประเทศไทยว่า จันทร์เพ็ญที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคมนั้น จะเป็นดวงจันทร์ที่สว่างที่สุดในรอบ 133 ปี หรือใกล้โลกที่สุดในรอบ 133 ปี ซึ่งไม่จริงแต่อย่างใด ดวงจันทร์ในคืนนั้นแม้จะปรากฏใหญ่ ...

หลักฐานเพิ่มเติมของมหาสมุทรบนยูโรปา

(1 ม.ค. 43) ยานกาลิเลโอของนาซาได้พุ่งเฉียดยูโรปาของดาวพฤหัสบดีเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา และได้พบหลักฐานเพิ่มเติมที่ยืนยันว่า ใต้ผิวน้ำแข็งของยูโรปามีมหาสมุทรอยู่จริง ๆ ...

เทคนิคใหม่ในการวัดระยะทางจากแสงวาบรังสีแกมมา

(1 ธ.ค. 42) ทีมนักดาราศาสตร์นำโดย เจย์ นอร์ริส จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดของนาซา ได้ค้นพบวิธีใหม่ในการวัดระยะทางของแสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-Ray Burst) โดยใช้วิธีการวัดระยะเวลาระหว่างช่วงที่ตรวจจับรังสีในย่านพลังงานต่างกัน นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้พบว่า การเกิดแสงวาบรังสีแกมมาแต่ละครั้ง รังสีแกมมาที่มีพลังงานสูงกว่าจะมาถึงก่อนรังสีแกมมาที่มีพลังงานต่ำกว่า และพบว่ายิ่งแสงวาบนั้นมีความสว่าง ...

ฝนดาวตกสิงโตบนดวงจันทร์

(1 ธ.ค. 42) นักดาราศาสตร์สมัครเล่นในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโกได้พบสิ่งที่เชื่อว่าเป็นการพุ่งชนดวงจันทร์ของฝุ่นจากฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต เป็นครั้งแรกที่มีการพบเห็นโดยตรงว่าดวงจันทร์ถูกวัตถุพุ่งชน คนแรกที่พบการพุ่งชนคือ ไบรอัน คัดนิก จากฮูสตัน ได้สังเกตแสงวาบขึ้นที่ด้านมืดของดวงจันทร์เมื่อเวลา 4.46 น. ของวันที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาสากล แสงวาบนี้ยังได้รับการ ...

มาร์สโพลาร์แลนเดอร์ล้มเหลว

(1 ธ.ค. 42) องค์การนาซาได้สูญเสียยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ ยานสำรวจดาวอังคารไปอีกหนึ่งลำ พร้อมทั้งหัวสำรวจสองหัวจากโครงการ ดีปสเปซ 2 ยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์และดีปสเปซ 2 ถูกกำหนดให้ลงจอดบนดาวอังคารเมื่อประมาณ 20:00 น. ของวันที่ 3 ธันวาคม ตามเวลาสากล การติดต่อระหว่างยานกับศูนย์ควบคุมภาคพื้นดินถูกตัดไปเมื่อเวลาก่อนที่ยานจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ แต่เมื่อถึงเวลา 20:39 น. ซึ่งเป็นเวลาที่ยานควรจะต้อง ...

พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ 6 ดวง

(1 ธ.ค. 42) ทีมนักดาราดาราศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาดาวเคราะห์ชั้นนำของโลก ใช้ได้กล้องโทรทรรศน์เค็กสำรวจดาวฤกษ์ต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียงกับโลกและได้พบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกถึง 6 ดวง ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะใหม่ทั้ง 6 ดวงนี้ถูกค้นพบโดยวิธีการศึกษาการเลื่อนไปมาของสเปกตรัมของดาวฤกษ์ ซึ่งเกิดจากการส่ายของดาวฤกษ์เพราะแรงโน้มถ่วงของ ...

ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะผ่านหน้าดาวแม่

(1 ธ.ค. 42) เดวิด ชาบอนโน จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน ทีโมที เอ็ม บราวน์ จากศูนย์วิจัยบรรยากาศแห่งชาติและทีมงานได้ตรวจพบการบัง (transit) ของดาวเคราะห์บริวารของดาว HD 209458 เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้า การสังเกตการณ์ครั้งนี้ใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว ในระหว่างที่ดาวมีการ ...

ฮับเบิลหลับ

(1 ธ.ค. 42) เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ไจโรสโคปตัวที่สี่จากจำนวน 6 ตัวของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้เกิดเสียไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้องไม่สามารถควบคุมทิศทางได้และปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะปลอดภัย (safe mode) ทางเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินจึงต้องส่งนักบินอวกาศไปกับยานขนส่งอวกาศดิสคัฟเวอรีเพื่อ ...

พบวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ

(1 พ.ย. 42) ทีมนักดาราศาสตร์ทีมหนึ่งนำโดย ดร. เบรตต์ แกลดแมนจากสถาบันฟิสิกส์ทฤษฎีแคนาดา (Canadian Institute of Theoretical Physics) ได้ค้นพบวัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object) ดวงใหม่ ซึ่งเป็นวัตถุในระบบสุริยะดวงที่ไกลที่สุดที่มนุษย์เคยค้นพบ ...

วงแหวนรอบดาวเป็นแหล่งกำเนิดดาวเคราะห์

(1 พ.ย. 42) นักดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน (CfA) และจากสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศ (SSI) พบว่า เมื่อดาวเคราะห์ได้กำเนิดขึ้นรอบดาวฤกษ์แล้ว จานฝุ่นที่ล้อมรอบดาวฤกษ์จะกลายสภาพเป็นวงแหวนแทน ดังเช่นที่เกิดขึ้นกับดาว HR 4796A ถูกค้นพบเมื่อปีที่แล้ว ...

หลักฐานของปรากฏการณ์ชั่วครู่บนดวงจันทร์

(1 พ.ย. 42) นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลดวงจันทร์จากยานเคลเมนไทน์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงปี พ.ศ. 2537 และได้พบหลักฐานที่สนับสนุนว่า ปรากฏการณ์ชั่วครู่บนดวงจันทร์ (LTP - Lunar Transient Phenopena) เป็นเรื่องจริง ...

พบดาวเคราะห์บริวารของดาวคู่

(1 พ.ย. 42) นักดาราศาสตร์จากโครงการไมโครเลนซิงพลาเนตเสิร์ช (Microlensing Planet Search - MPS) นำโดยเดวิด เบนเนตต์ และ ซุน ฮอง รี จากมหาวิทยาลัยนอเตอร์แดม ได้พบหลักฐานของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ซึ่งโคจรรอบระบบดาวคู่จากการใช้เทคนิคไมโครเลนซิง ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 4 พฤศจิกายน ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้มีมวลประมาณ 3 เท่าของดาวพฤหัสบดี ...

นาซาคัดเลือกโครงการสำรวจอวกาศใหม่อีกสองโครงการ

(1 พ.ย. 42) องค์การนาซาได้คัดเลือกโครงการอวกาศใหม่ขึ้นมาอีกสองโครงการสำหรับสำรวจแสงวาบรังสีแกมมาและดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะในทศวรรษหน้า ...

ดีปสเปซ 1 ประสบความสำเร็จ

(1 ต.ค. 42) ยานอวกาศดีปสเปซ 1 ขององค์การนาซา ได้ประสบความสำเร็จในการบินเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อย เบรล (9969 Braille) หรือ 1992 KD เมื่อเวลา 4.56 นาฬิกาของวันที่ 28 กรกฎาคมตามเวลาสากล ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น