ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดี : 23 กุมภาพันธ์ 2552
เช้ามืดวันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 นอกจากจะเป็นวันที่ดวงจันทร์เคลื่อนไปอยู่ท่ามกลางดาวเคราะห์ 3 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี ยังจะเป็นวันที่ประเทศไทยและพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียจะมีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดีถูกดวงจันทร์บัง
23 กุมภาพันธ์ เริ่มต้นขณะที่ดวงจันทร์อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก จึงอาจสังเกตได้ยาก โดยเฉพาะในกรณีที่มีหมอกบดบังในบริเวณใกล้ขอบฟ้า แม้ว่ามีแนวโน้มที่ท้องฟ้าน่าจะปลอดโปร่งปราศจากเมฆก็ตาม
ดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยวบางๆ มีส่วนสว่างอยู่เพียงร้อยละ 4 ของพื้นผิว ดาวพฤหัสบดีหายลับไปที่ขอบด้านสว่างของดวงจันทร์ จากนั้นปรากฏการณ์จะสิ้นสุดเมื่อดาวพฤหัสบดีโผล่พ้นขอบด้านมืดซึ่งอยู่ในซีกด้านตรงกันข้าม และเป็นเวลาที่ท้องฟ้าสว่างแล้ว
หมายเหตุ:
●ตารางแสดงผลการคำนวณสำหรับอำเภอเมืองของจังหวัดใช้ค่าความละเอียดในระดับทศนิยม 1 ตำแหน่งของนาที หากทราบพิกัดที่แน่นอนของสถานที่สังเกตการณ์ สามารถคำนวณได้ถึงระดับวินาที
●เวลาที่แสดงในตารางเป็นเวลาเมื่อขอบดวงจันทร์ผ่านกึ่งกลางดาวพฤหัสบดี กล้องโทรทรรศน์กำลังขยายสูงจะสังเกตได้ว่าดวงจันทร์ใช้เวลาประมาณ 80-90 วินาทีนับตั้งแต่เริ่มแตะขอบด้านหนึ่งไปยังขอบอีกด้านหนึ่งของดาวพฤหัสบดี
●ม.ย.ย่อจาก มุมจุดยอด (vertex angle : V.A.) หมายถึงมุมที่วัดจากด้านบนสุดของดวงจันทร์ กวาดทวนเข็มนาฬิกาไปทางซ้ายมือที่ 90° ด้านล่างที่ 180° และขวามือที่ 270° ใช้บอกตำแหน่งที่ดาวพฤหัสบดีแตะขอบดวงจันทร์โดยเทียบกับทิศทางไปยังจุดเหนือศีรษะของผู้สังเกต
●จากตารางจะเห็นได้ว่าหากไม่คำนึงถึงสภาพอากาศภาคใต้ตอนล่างมีโอกาสเห็นปรากฏการณ์ครั้งนี้ได้ดีกว่าภาคอื่น ๆ เนื่องจากเริ่มปรากฏการณ์ในเวลาที่ดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้า และสิ้นสุดปรากฏการณ์ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น ต่างจากภาคอื่นที่ปรากฏการณ์สิ้นสุดหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น นอกจากนั้น ด้านตะวันออกของภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่สังเกตปรากฏการณ์ขณะเริ่มต้นได้ดี เพราะดวงจันทร์ขึ้นสูงเหนือขอบฟ้ามากที่สุด
●ตัวเลขในตารางนี้บางค่าแตกต่างจากที่พิมพ์ในวารสารทางช้างเผือก ฉบับคู่มือดูดาว พ.ศ. 2552 อยู่เล็กน้อย เนื่องจากคำนวณด้วยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นใหม่
เกิดขึ้นเมื่อเช้ามืดวันที่ 19 กรกฎาคม 2544 แต่เห็นได้เฉพาะภาคใต้ตอนล่างเท่านั้น และหลังจากครั้งนี้ก็จะเกิดอีกในวันที่ 12 สิงหาคม 2555 เห็นได้เฉพาะภาคใต้ตอนล่างอีกเช่นเดียวกัน สำหรับในกรุงเทพฯ เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2541 และหลังจากปีนี้จะเกิดอีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม 2577
หมายเหตุ:เลือกเฉพาะที่เห็นในพื้นที่ประเทศไทยและเกิดขึ้นในเวลากลางคืน * ปรากฏการณ์ในคืนวันที่ 12 เมษายน 2581 เกิดหลังจากดวงจันทร์บังดาวยูเรนัสไม่ถึง 2 ชั่วโมง
ลักษณะของปรากฏการณ์
ปรากฏการณ์ในเช้ามืดวันที่ดวงจันทร์จะเป็นเสี้ยวบาง
สถานที่ | ดวงจันทร์ขึ้น | เริ่มบังดาวพฤหัสบดี | สิ้นสุดการบัง | ดวงอาทิตย์ขึ้น | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เวลา | ม.ย. | มุมเงย | เวลา | ม.ย. | มุมเงย | |||
กรุงเทพฯ | 5.15 | 5:36.9 | 175° | 4° | 6:41.5 | 296° | 19° | 6.38 |
ขอนแก่น | 5.09 | 5:38.7 | 161° | 6° | 6:49.9 | 300° | 21° | 6.30 |
เชียงใหม่ | 5.28 | 5:39.0 | 156° | 1° | 6:48.9 | 305° | 17° | 6.47 |
นครราชสีมา | 5.10 | 5:37.6 | 168° | 5° | 6:46.1 | 298° | 20° | 6.32 |
นครศรีธรรมราช | 5.10 | 5:39.0 | 201° | 6° | 6:27.6 | 283° | 17° | 6.36 |
ประจวบคีรีขันธ์ | 5.15 | 5:36.8 | 184° | 4° | 6:36.3 | 292° | 18° | 6.39 |
พิษณุโลก | 5.20 | 5:38.0 | 162° | 3° | 6:47.1 | 301° | 18° | 6.41 |
ระยอง | 5.10 | 5:36.9 | 178° | 5° | 6:40.3 | 294° | 19° | 6.34 |
สงขลา | 5.05 | 5:40.5 | 207° | 7° | 6:24.6 | 279° | 17° | 6.33 |
อุบลราชธานี | 4.59 | 5:38.9 | 163° | 8° | 6:50.7 | 298° | 24° | 6.21 |
หมายเหตุ
●ตารางแสดงผลการคำนวณสำหรับอำเภอเมืองของจังหวัด
●เวลาที่แสดงในตาราง
●ม.ย.
●จากตารางจะเห็นได้ว่าหากไม่คำนึงถึงสภาพอากาศ
●ตัวเลขในตารางนี้
ในอดีตและอนาคต
ดวงจันทร์บังดาวพฤหัสบดีที่เห็นได้ในประเทศไทยครั้งที่ผ่านมาวันที่ | ภูมิภาคที่มองเห็น |
---|---|
24 | ทั่วประเทศ |
11 | ภาคใต้ |
30 | ทั่วประเทศ |
26 | ภาคเหนือตอนบน |
10 | ทั่วประเทศ |
1 | เกือบทั่วประเทศ |
19 | ภาคใต้ตอนล่าง |
23 | ทั่วประเทศ |
12 | ภาคใต้ตอนล่าง |
3 | ภาคใต้ |
25 | เกือบทั่วประเทศ |
20 | ทั่วประเทศ |
12 | ทั่วประเทศ |
2 | ภาคเหนือตอนบน |
หมายเหตุ: