สมาคมดาราศาสตร์ไทย

บอเรลลี ดาวหางที่ร้อนแล้ง

บอเรลลี ดาวหางที่ร้อนแล้ง

5 มิ.ย. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์เคยเชื่อมาเป็นเวลานานว่า นิวเคลียสของดาวหางคือก้อนน้ำแข็งผสมฝุ่นที่เย็นยะเยือก แต่ข้อมูลจากยานดีปสเปซ ที่ได้เฉียดเข้าใกล้ดาวหางบอเรลลี (19P/Borelly) เมื่อปีที่แล้วพบว่าไม่เป็นเช่นนั้น 

เมื่อไม่นานมานี้ นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์สเปกตรัมของนิวเคลียสของดาวหางบอเรลลีพบว่า บนผิวนิวเคลียสไม่มีร่องรอยของแร่ธาตุที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบเลย และยังพบว่านิวเคลียสของบอเรลลีมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 300-345 เคลวิน (27-72 องศาเซลเซียส) ซึ่งสูงกว่าที่เคยคิดไว้มาก 

ลอเรนซ์ โซเดอร์โบลม จากกรมแผนที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะวิจัยในครั้งนี้กล่าวว่า การค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าผิวของดาวหางดวงนี้ได้เข้าสู่ภาวะสงบแล้ว มีน้ำน้อยเกินกว่าที่จะตรวจจับได้โดยสเปกตรัม และยังพบว่าบริเวณที่เป็นจุดปล่อยก๊าซและฝุ่นออกจากนิวเคลียสมีพื้นที่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวทั้งหมดที่ยานมองเห็น นอกจากนี้ข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินก็ยืนยันว่า ดาวหางดวงนี้ปล่อยก๊าซและฝุ่นออกมาน้อยมาก มีอัตราการคายน้ำไม่ถึง ตันต่อ วินาที ทั้งนี้เนื่องจากบอเรลลีได้ผ่านเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาหลายครั้งแล้ว มีการบันทึกการปรากฏตัวของดาวหางบอเรลลีมาแล้วไม่ต่ำกว่าสองศตวรรษ และคาบการโคจรก็สั้นเพียง ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงเหลือวัตถุดิบที่จะสร้างหางไม่มากนัก 

อย่างไรก็ตาม ในความเงียบสงบและมืดมิดของนิวเคลียสของบอเรลลี ยังมีสิ่งที่น่าสนใจบางอย่าง จากการศึกษาสเปกตรัมพบว่า มีการดูดกลืนในช่วงความยาวคลื่น 3.29 ไมครอน ซึ่งยังอธิบายไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร โซเดอร์โบลมสันนิษฐานว่าการดูดกลืนนี้อาจเกิดจากโพลีออกซีเมทีลีน (สายของโพลีเมอร์ของฟอร์มาลดีไฮด์ (H2CO) ซึ่งเคยพบในดาวหางฮัลลีย์) หรือสารอินทรีย์บางอย่าง 

นิวเคลียสของดาวหางบอเรลลี ถ่ายโดยยานอวกาศดีปสเปซ 1 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 แต่ละพิกเซลแทนขนาดจริง 50 เมตร เนื่องจากพื้นผิวของบอเรลลีมืดคล้ำมาก ดังนั้นภาพนี้จึงมีการตกแต่งคอนทราสต์เพื่อให้มองเห็นรายละเอียดได้ และเนื่องจากบอเรลลีปล่อยฝุ่นก๊าซออกมาเป็นจำนวนน้อย ภาพนิวเคลียสของบอเรลลีจึงมีความคมชัดมากกว่าภาพนิวเคลียสของดาวหางฮัลลีย์ที่ได้จากยานจอตโตและวีกามาก

นิวเคลียสของดาวหางบอเรลลี ถ่ายโดยยานอวกาศดีปสเปซ 1 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2544 แต่ละพิกเซลแทนขนาดจริง 50 เมตร เนื่องจากพื้นผิวของบอเรลลีมืดคล้ำมาก ดังนั้นภาพนี้จึงมีการตกแต่งคอนทราสต์เพื่อให้มองเห็นรายละเอียดได้ และเนื่องจากบอเรลลีปล่อยฝุ่นก๊าซออกมาเป็นจำนวนน้อย ภาพนิวเคลียสของบอเรลลีจึงมีความคมชัดมากกว่าภาพนิวเคลียสของดาวหางฮัลลีย์ที่ได้จากยานจอตโตและวีกามาก

ที่มา: