สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เฮล-บอปป์ยังคึกไม่เลิก

เฮล-บอปป์ยังคึกไม่เลิก

22 มี.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดาวหางเฮล-บอปป์ (C/1995 O2) ดาวหางใหญ่ที่สุดดวงหนึ่งที่มนุษย์เคยรู้จักได้เข้ามาเยือนสุริยะชั้นใน อวดโฉมให้ชาวโลกได้ชมในช่วงปี 2539-2540 แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานถึง ปีแล้ว แต่ดาวหางเฮล-บอปป์ยังคงสร้างความประหลาดใจให้นักดาราศาสตร์ด้วยการปล่อยหางยาวโค้งและมีโคม่ารูปกรวยแผ่กว้าง คาดว่าโคม่าของเฮล-บอปป์ในขณะนี้ยังมีขนาด ล้านกิโลเมตร ขณะนี้ดาวหางเฮล-บอปป์อยู่ในกลุ่มดาวปลาปากดาบ ห่างจากดวงอาทิตย์ 13 หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งอยู่ประมาณกึ่งกลางระหว่างวงโคจรของดาวเสาร์กับดาวยูเรนัส 

ขณะนี้ดาวหางเฮล-บอปป์มีความสว่างประมาณ 14.5 หรือจางกว่าระดับที่ตามนุษย์จะมองเห็นได้ถึง 2,500 เท่า ยังคงเคลื่อนที่ถอยห่างจากโลกไปวันละประมาณ ล้านกิโลเมตร นักดาราศาสตร์ตั้งใจจะสังเกตดาวหางดวงนี้ไปเรื่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งอาจจะนานหลายสิบปีเลยทีเดียว 

ภาพนี้ได้จากการเปิดหน้ากล้อง 14 ครั้งผ่านฟิลเตอร์สีแดง เหลือง และน้ำเงิน ถ่ายโดยกล้อง 2.2 เมตรที่หอสังเกตการณ์อีเอสโอ ที่ลา ซิลลา ประเทศชิลี ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม

ภาพนี้ได้จากการเปิดหน้ากล้อง 14 ครั้งผ่านฟิลเตอร์สีแดง เหลือง และน้ำเงิน ถ่ายโดยกล้อง 2.2 เมตรที่หอสังเกตการณ์อีเอสโอ ที่ลา ซิลลา ประเทศชิลี ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถึง 2 มีนาคม

ที่มา: