สมาคมดาราศาสตร์ไทย

อุปราคาในปี 2556

อุปราคาในปี 2556

6 มกราคม 2556
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
พ.ศ. 2556 มีอุปราคาทั้งหมด ครั้ง เป็นสุริยุปราคา ครั้ง จันทรุปราคา ครั้ง ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาบางส่วนได้ ครั้ง กับจันทรุปราคาเงามัวอีก ครั้ง เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นครั้งใด อีกราว 6,585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (saros) แบ่งได้เป็นชุดต่าง ๆ กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข

ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ เอียงทำมุมกันราว 5° อุปราคาจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีตำแหน่งอยู่ใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง จุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรโลกขึ้นมาเหนือระนาบเรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) จุดที่อยู่ตรงกันข้ามเรียกว่าจุดโหนดลง (descending node) เกี่ยวข้องกับซารอสด้วย กล่าวคือ สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคู่ เกิดที่จุดโหนดลง สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคี่ เกิดที่จุดโหนดขึ้น ส่วนของจันทรุปราคาจะสลับกัน

เงาดวงจันทร์ที่ทาบลงบนเมฆที่ปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ถ่ายโดยนักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ขณะเกิดสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 (ภาพ – Don Pettit/NASA)  

1. จันทรุปราคาบางส่วน 26 เมษายน 2556


อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้ (ที่เหลืออีก ครั้งเป็นจันทรุปราคาเงามัว) โดยเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางดึก ก่อนรุ่งอรุณของวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 ตามเวลาประเทศไทย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวในเวลา 01:04 น. แต่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด 


ดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำจนสังเกตได้ในเวลาประมาณตี จากนั้นขอบดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 02:54 น. ดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 03:07 น. คิดเป็นขนาดความลึกเพียง 1.5% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 40° สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 03:21 น. และสิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัวในเวลา 05:11 น.

พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ผู้ที่อยู่ทางตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป และแอฟริกา จะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นในค่ำวันที่ 25 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนเอเชียและออสเตรเลีย เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 เมษายน

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 26 เมษายน 2556

    1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 01:03:38 น.
    2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 02:54:05 น.
    3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:07:29 น.
    4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 03:21:02 น.
    5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 05:11:24 น.

เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยมีดาวเสาร์อยู่สูงเหนือดวงจันทร์ 5° ส่วนดาวรวงข้าวอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 11°-12° ดวงจันทร์เฉียดทางทิศใต้ของเงาโลก ขณะบังลึกที่สุดจึงเห็นขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ (ขวามือ เยื้องไปทางด้านบน) มีลักษณะมืดคล้ำ และแหว่งเล็กน้อย

จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 65 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 112 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 859 2139 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว ครั้ง บางส่วน 21 ครั้ง เต็มดวง 15 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ มิถุนายน ค.ศ. 1490 นาน ชั่วโมง 39.9 นาที

2. สุริยุปราคาวงแหวน 10 พฤษภาคม 2556


สุริยุปราคาครั้งแรกของปีนี้เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556 ตามเวลาประเทศไทย นับเป็นเวลา วัน ก่อนดวงจันทร์จะผ่านตำแหน่งไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์จึงอยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนเริ่มต้นที่ออสเตรเลีย ผ่านปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะกิลเบิร์ต ไปสิ้นสุดในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้


สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา 04:25 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเวลา 05:31 น. เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกในตอนกลางค่อนไปทางเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย บริเวณอุทยานแห่งชาติคอลลิเออร์เรนจ์ (Collier Range) เงากว้าง 222 กิโลเมตร เกิดสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน นาที 11 วินาที เมืองนิวแมนซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากรราว พันกว่าคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 

เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว เส้นกลางคราสลากผ่านทะเลสาบดิสแซปพอยต์เมนต์ (Lake Disappointment) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ปกติจะแห้งขอด จากนั้นผ่านตอนกลางของรัฐนอร์เทิร์นเทริทอรี เมืองเทนแนนต์ครีก (Tennant Creek) ประชากรราว พันคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศใต้ของแนวคราส เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16°

เงาคราสผ่านพื้นที่บางส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงสู่อ่าวคาร์เพนแทเรีย เส้นกลางคราสผ่านเกาะมอร์นิงตันในอ่าวแห่งนี้ จากนั้นลากผ่านคาบสมุทรเคปยอร์ก ทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ก่อนลงสู่ทะเลคอรัล

เวลาประมาณ 06:00 น. เงาคราสวงแหวนแตะแผ่นดินทางด้านตะวันออกของปาปัวนิวกินี บริเวณนี้มีเกาะที่อยู่ในแนวคราสวงแหวนหลายเกาะ เส้นกลางคราสผ่านเกาะบาซิลากี (Basilaki Island) ที่นั่นเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 59 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 39° จากนั้นผ่านทะเลโซโลมอนและมุ่งหน้าสู่หมู่เกาะโซโลมอน

เกาะชัวเซิล (Choiseul) ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ในหมู่เกาะโซโลมอน อยู่ในแนวคราส บนเส้นกลางคราสเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 16 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 49° หลังจากนั้น เงาคราสผ่านเส้นศูนย์สูตรในเวลาประมาณ นาฬิกาเศษ เป็นเวลาไม่นานก่อนจะถึงหมู่เกาะกิลเบิร์ต อันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศคิริบาส เกาะตาระวา (Tarawa) ซึ่งเป็นอะทอลล์ อยู่ใกล้เส้นกลางคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 74°

กึ่งกลางคราส (Greatest eclipse) ซึ่งเป็นเวลาที่ศูนย์กลางของเงาดวงจันทร์ผ่านใกล้ศูนย์กลางโลกมากที่สุด เกิดขึ้นเวลา 07:25:12 น. ตรงจุดที่อยู่ห่างหมู่เกาะกิลเบิร์ตไปทางทิศตะวันออกไม่ไกลนัก ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที วินาที เงากว้าง 173 กิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 74°

เงาคราสวงแหวนเคลื่อนต่อไป ผ่านเกาะทาบูเอรันหรือเกาะแฟนนิง (Tabuaeran หรือ Fanning Island) เป็นอะทอลล์ส่วนหนึ่งของคิริบาส ชายฝั่งทางทิศใต้ของเกาะเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที 49 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 40° จากนั้นเงาคราสวงแหวนเคลื่อนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยไม่ผ่านเกาะอื่น ๆ อีก เงาคราสวงแหวนหลุดออกจากผิวโลกในเวลา 09:20 น. หลังจากนั้น สุริยุปราคาจะสิ้นสุดเมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 10:25 น.


บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วนครอบคลุมพื้นที่บางส่วนทางด้านตะวันออกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย บางส่วนทางตอนเหนือของนิวซีแลนด์ ฮาวาย และส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกของออสเตรเลีย ดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นสุริยุปราคาครั้งที่ 31 ใน 70 ครั้งของซารอสที่ 138 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1472 2716 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน ครั้ง วงแหวน 50 ครั้ง ผสม ครั้ง เต็มดวง ครั้ง และบางส่วน ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดคือ นาที วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1869 สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ 56 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ เมษายน ค.ศ. 2554

สุริยุปราคาครั้งถัดไปของชุดซารอสที่ 138 ในอีก 18 ปีข้างหน้า เกิดขึ้นในช่วงบ่ายของวันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2574 เป็นสุริยุปราคาวงแหวนที่เส้นทางคราสวงแหวนผ่านจังหวัดบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย รวมถึงบางส่วนของมาเลเซีย โดยแนวกลางคราสผ่านเกาะลังกาวีและ อ.เบตง จ.ยะลา นับเป็นสุริยุปราคาวงแหวนครั้งแรกในรอบ 66 ปีที่เห็นได้ในประเทศไทย หลังจากครั้งที่แล้วซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508

3. จันทรุปราคาเงามัว 25 พฤษภาคม 2556

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2556 เกิดจันทรุปราคาเงามัว ดวงจันทร์ถูกเงามัวของโลกบังลึกที่สุดเวลา 11:10 น. ด้วยความลึกเพียง 1.6% ของเส้นผ่านศูนย์กลาง ไม่เห็นในประเทศไทย และสังเกตไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ พื้นที่บนโลกหันเข้าหาดวงจันทร์ขณะเกิดจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ส่วนใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ด้านตะวันตกของยุโรป และด้านตะวันตกของทวีปแอฟริกา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 25 พฤษภาคม 2556

1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 10:53:17 น.
2. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 11:09:59 น.
3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 11:26:49 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นจันทรุปราคาครั้งแรกใน 71 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 150 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 2013 3275 ซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว ครั้ง บางส่วน 23 ครั้ง เต็มดวง 12 ครั้ง บางส่วน 15 ครั้ง และเงามัว 13 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของซารอสนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ กรกฎาคม ค.ศ. 2680 นาน ชั่วโมง 45.3 นาที


4. จันทรุปราคาเงามัว 19 ตุลาคม 2556


จันทรุปราคาครั้งนี้เกิดขึ้นในเช้ามืดวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2556 ตรงกับวันออกพรรษา ดวงจันทร์ถูกเงามัวของโลกบังลึกที่สุดเวลา 06:50 น. พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เกือบทั้งหมดของเอเชีย ยกเว้นด้านตะวันออก

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นชนิดเงามัว ซึ่งเราจะไม่เห็นดวงจันทร์แหว่ง เงามัวทำให้ดวงจันทร์คล้ำลงเล็กน้อย ยากที่จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม หากสังเกตดี ๆ จะพบว่าผิวดวงจันทร์ด้านทิศใต้หมองคล้ำลงเล็กน้อย เมื่อสังเกตจากประเทศไทย ดวงจันทร์ตกและดวงอาทิตย์ขึ้นขณะเกิดจันทรุปราคา กรุงเทพฯ ดวงจันทร์ตกเวลา 06:10 น.


ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 19 ตุลาคม 2556

    1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 04:50:36 น.
    2. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 06:50:16 น.
    3. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 08:49:48 น.

จันทรุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 52 ใน 71 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 117 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1094 2356 ซารอสนี้ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว ครั้ง บางส่วน ครั้ง เต็มดวง 24 ครั้ง บางส่วน ครั้ง และเงามัว 23 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1707 นาน ชั่วโมง 45.7 นาที

5. สุริยุปราคาผสม พฤศจิกายน 2556


อุปราคาครั้งสุดท้ายของปีเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ พฤศจิกายน 2556 เป็นสุริยุปราคาผสม ช่วงเริ่มต้นเป็นสุริยุปราคาวงแหวน จากนั้นกลายเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง แนวคราสเริ่มต้นทางด้านตะวันตกของแอตแลนติกเหนือ จากนั้นเข้าสู่ตอนกลางของทวีปแอฟริกา ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้


สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวของดวงจันทร์แตะผิวโลกในเวลา 17:05 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นสุริยุปราคาวงแหวนเริ่มเมื่อเงาคราสวงแหวนแตะผิวโลกบริเวณตอนเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลา 18:05 น. จุดนั้นอยู่ห่างชายฝั่งรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางทิศตะวันออกเกือบ 1,000 กิโลเมตร เกิดสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นานเพียง วินาที โดยเงาคราสวงแหวนกว้างเพียง กิโลเมตร

เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยเงามีขนาดเล็กลงจนเป็นศูนย์ภายในไม่เกิน 20 วินาที หลังจากเริ่มแตะผิวโลก แล้วเปลี่ยนเป็นสุริยุปราคาเต็มดวง โดยขนาดของเงามืดขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ กึ่งกลางคราสเกิดขึ้นเวลา 19:46:28 น. จุดนั้นอยู่ในมหาสมุทร ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไลบีเรียราว 320 กิโลเมตร เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที 39.5 วินาที เงามืดกว้าง 57.5 กิโลเมตร ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 71°

เงามืดของดวงจันทร์เคลื่อนตัวไปทางตะวันออก ประเทศเซาตูเมและพรินซีพี ซึ่งเป็นเกาะ อยู่ห่างไปทางเหนือของแนวคราสเต็มดวง เห็นดวงอาทิตย์เป็นเสี้ยวบาง ๆ ขณะบังลึกที่สุด จากนั้นเงามืดพาดผ่านตอนกลางของทวีปแอฟริกา แตะชายฝั่งประเทศกาบองในเวลาประมาณ 20:50 น. จุดนั้นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน นาที วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 47° แล้วเข้าสู่สาธารณรัฐคองโก สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และยูกันดา เส้นกลางคราสผ่านใกล้เมืองกูลู (Gulu) บริเวณนั้นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 20 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16°

เงามืดเข้าสู่ตอนเหนือของเคนยา ถึงบริเวณทะเลสาบทูร์คานา (Lake Turkana) ในเวลา 21:25 น. ที่กลางคราสเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงนาน 16 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 13° เงามืดเคลื่อนต่อไปโดยผ่านทางใต้ของเอธิโอเปีย ที่เส้นกลางคราสมีโอกาสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวงในเวลาที่สั้นลงเรื่อย ๆ จนสิ้นสุดคราสเต็มดวงเวลา 21:28 น. ในประเทศโซมาเลีย ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขณะดวงอาทิตย์ตกนานเพียง วินาที หลังจากนั้น สุริยุปราคาจะสิ้นสุดลงอย่างสมบูรณ์เมื่อเงามัวของดวงจันทร์ออกจากผิวโลกในเวลา 22:28 น.


บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาใต้ พื้นที่กว้างใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ของทวีปยุโรป และเกือบทั้งหมดของแอฟริกา สุริยุปราคาดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ขึ้นเมื่อสังเกตจากด้านตะวันออกของอเมริกาเหนือและตอนเหนือของอเมริกาใต้ ดำเนินอยู่ขณะดวงอาทิตย์ตกเมื่อสังเกตจากด้านตะวันออกของแอฟริกา

สุริยุปราคาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 23 ใน 72 ครั้งของชุดซารอสที่ 143 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1617 2897 ซารอสนี้ประกอบด้วยสุริยุปราคาบางส่วน 10 ครั้ง เต็มดวง 12 ครั้ง ผสม ครั้ง วงแหวน 26 ครั้ง และบางส่วน 20 ครั้ง ตามลำดับ สุริยุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดคือ นาที 50 วินาที เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1887 สุริยุปราคาวงแหวนครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้คือ นาที 54 วินาที จะเกิดขึ้นในวันที่ กันยายน ค.ศ. 2518

สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาในชุดซารอสที่ 143 คือสุริยุปราคาเต็มดวงที่พาดผ่านประเทศไทยเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงนำคณาจารย์และนักเรียนโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ศึกษาปรากฏการณ์ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ วิทยาเขตสีคิ้ว จ.นครราชสีมา โดยสถานีโทรทัศน์ทุกช่องได้ถ่ายทอดสดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นด้วย

สุริยุปราคาในชุดซารอสนี้จะผ่านประเทศไทยอีกครั้งในอีก 90 ปีข้างหน้า โดยกลายเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เห็นได้ในภาคใต้ของไทยในเวลาบ่ายของวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2646 โดยเงาคราสวงแหวนผ่านพื้นที่จังหวัดกระบี่ ตรัง และนครศรีธรรมราช ผู้สังเกตที่แนวเส้นกลางคราสเห็นสุริยุปราคาวงแหวนนาน นาที

พ.ศ. 2557


     จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557 ไม่เห็นในประเทศไทย
     สุริยุปราคาวงแหวน 29 เมษายน 2557 แนวคราสวงแหวนผ่านทวีปแอนตาร์กติกา บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาบางส่วน ได้แก่ ตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย ออสเตรเลีย และบางส่วนของอินโดนีเซีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
     จันทรุปราคาเต็มดวง ตุลาคม 2557 จันทรุปราคาเต็มดวงดำเนินอยู่ขณะดวงจันทร์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตกที่ประเทศไทย
     สุริยุปราคาบางส่วน 24 ตุลาคม 2557 เห็นไดัในเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาเหนือ และด้านตะวันออกเฉียงเหนือของรัสเซีย ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้

ดูเพิ่ม


     สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงอาทิตย์
     สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดดวงจันทร์