สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2559

ดาวเคราะห์ในปี 2559

6 กุมภาพันธ์ 2559
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 26 กรกฎาคม 2560
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2559 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180° แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี 

ดาวพุธ


ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุด ด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปี 2559 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ดาวพุธ ช่วงที่ คือปลายเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนมิถุนายน ช่วงที่ คือปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ช่วง ช่วงแรกต่อเนื่องมาจากเดือนธันวาคม 2558 ถึงต้นเดือนมกราคม ช่วงที่ คือครึ่งหลังของเดือนเมษายน ช่วงที่ คือปลายเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม โดยมีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างไปทางขวามือของดาวพุธ ช่วงสุดท้ายคือเกือบตลอดเดือนธันวาคม ยกเว้น 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ปีนี้มีปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่ พฤษภาคม กล้องโทรทรรศน์ส่องเห็นดาวพุธเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ ประเทศไทยอยู่ในเขตที่เห็นได้ขณะเริ่มปรากฏการณ์เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะตก ในทางปฏิบัติจึงอาจไม่สามารถสังเกตได้หรือสังเกตได้ยากมาก

เหตุการณ์เกี่ยวกับดาวพุธในปี 2559
ร่วมทิศแนววงใน14 ม.ค.พ.ค.13 ก.ย.29 ธ.ค.
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุดก.พ. (26°)มิ.ย. (24°)29 ก.ย. (18°)-
ร่วมทิศแนววงนอก24 มี.ค.ก.ค.27 ต.ค.-
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด18 เม.ย. (20°)17 ส.ค. (27°)11 ธ.ค. (21°)-


ดาวศุกร์


ดาวศุกร์ปรากฏเป็นดาวประกายพรึกบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องมาจากปี 2558 โดยกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มปรากฏบริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนแบกงู ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวเสาร์ ครั้ง ครั้งแรกใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ มกราคม 2559 ที่ระยะ 0.3° ปลายเดือนดาวศุกร์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู

ตลอดช่วงวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์ปรากฏสูงเหนือดาวพุธโดยเยื้องไปทางขวามือที่ระยะ 4° หลังจากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเลและคนแบกหม้อน้ำ หากบริเวณใกล้ขอบฟ้าไม่มีเมฆบัง มีโอกาสเห็นดาวศุกร์อยู่เรี่ยขอบฟ้าขณะฟ้าสางได้ทุกวันต่อเนื่องไปถึงราวเดือนมีนาคมหรืออาจถึงเดือนเมษายน ก่อนที่ดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้

ดาวศุกร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก คือผ่านด้านหลังดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกในวันที่ มิถุนายน หลังจากนั้นค่อย ๆ ทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น ราวปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ มีดาวพุธมาอยู่ใกล้โดยปรากฏในทิศทางของกลุ่มดาวสิงโต ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ สิงหาคม ห่างกันที่ระยะ 

ปลายเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี ชุมนุมกันเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก วันที่ 27 สิงหาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้ที่สุด 0.4° เป็นช่วงที่ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว

เมื่อสิ้นเดือนกันยายน ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่องในกลางเดือนตุลาคม ปลายเดือนเดียวกันจะเห็นดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวเสาร์เป็นครั้งที่ ของปีด้วยระยะห่าง 3° โดยวันที่ 28 ตุลาคม ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ และดาวแอนทาเรส (หรือดาวปาริชาต) ซึ่งเป็นดาวสว่างในกลุ่มดาวแมงป่อง เรียงตัวกันบนท้องฟ้าอยู่ในแนวเกือบเป็นเส้นตรง หลังจากนั้นเราจะยังคงเห็นดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำไปจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560

ภาพจำลองดาวเคราะห์ในปี 2559 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ 

ดาวอังคาร


พ.ศ. 2559 เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตดาวอังคาร เนื่องจากดาวอังคารจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก ปี เดือน แม้ว่าปีนี้จะยังไม่ใช่ช่วงที่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ตาม ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ดีในเวลาเช้ามืด ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง แมงป่อง และคนแบกงู ต้นเดือนเมษายนจะเห็นดาวอังคาร ดาวเสาร์ และดาวแอนทาเรสอยู่ใกล้กัน ขณะที่ดาวอังคารและดาวแอนทาเรสต่างก็มีสีส้มเหมือนกัน

กลางเดือนเมษายน ดาวอังคารเริ่มมีการเคลื่อนที่ปรากฏแบบถอยหลัง (เคลื่อนจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ฉากหลัง) เนื่องจากโลกซึ่งมีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าได้เคลื่อนแซงไปข้างหน้า ต้นเดือนพฤษภาคม ดาวอังคารถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องและคันชั่ง ดาวอังคารผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 พฤษภาคม ขณะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง สว่างที่โชติมาตร -2.1 นับว่าสว่างพอ ๆ กับดาวพฤหัสบดีในขณะนั้น

ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในเช้ามืดวันที่ 31 พฤษภาคม ที่ระยะห่าง 0.503 หน่วยดาราศาสตร์ (75 ล้านกิโลเมตร) ขณะอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง วันนั้นดาวอังคารมีขนาดปรากฏใหญ่สุดที่ 18.6 พิลิปดา คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3/4 ของขนาดใหญ่สุดที่เป็นไปได้ (25.1 พิลิปดา) ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2546

หลังจากเดือนพฤษภาคม ดาวอังคารมีความสว่างลดลงและมีขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์เล็กลงเนื่องจากเคลื่อนห่างโลกมากขึ้น ดาวอังคารเริ่มกลับมาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกครั้งในปลายเดือนมิถุนายน เข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องในต้นเดือนสิงหาคม ปลายเดือนเดียวกันมองเห็นดาวอังคารเคลื่อนผ่านระหว่างดาวเสาร์กับดาวแอนทาเรส ขณะนั้นดาวอังคารสว่างกว่าดาวทั้งสอง

ดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อ พ.ศ. 2544 (ภาพ – NASA/Hubble Heritage Team (STScI/AURA))  


ต้นเดือนกันยายนถึงสิ้นปี ดาวอังคารเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนแบกงู คนยิงธนู แพะทะเล และกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ คืนวันที่ มกราคม 2560 กล้องโทรทรรศน์สามารถส่องเห็นดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวเนปจูนด้วยระยะห่างเพียง 0.2°


ดาวอังคารขณะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปีต่าง ๆ (เวลาประเทศไทย) ตัวเลขที่ระบุไว้ข้างเส้นซึ่งเชื่อมระหว่างโลกกับดาวอังคารคือระยะห่างขณะใกล้กันที่สุด มีหน่วยเป็นล้านกิโลเมตร ในวงเล็บคือวันที่ใกล้กันที่สุด ซึ่งอาจไม่ตรงกับวันที่ดาวอังคารทำมุม 180° กับดวงอาทิตย์ 


ดาวพฤหัสบดี


ต้นปี 2559 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ใกล้เส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตกับกลุ่มดาวหญิงสาว ตามการแบ่งเขตกลุ่มดาวสากล จากนั้นปรากฏเคลื่อนถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฉากหลัง วันที่ 8-9 มีนาคม 2559 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.5 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน

ต้นเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° กับดวงอาทิตย์ โดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ปลายเดือนกรกฎาคม ดาวพุธและดาวศุกร์มาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ และอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในปลายเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว และเคลื่อนต่ำใกล้ขอบฟ้า หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์โดยอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนกันยายน

ครึ่งหลังของเดือนตุลาคม หากท้องฟ้าเปิดอาจเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น และยังคงอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดตลอดระยะเวลาที่เหลือของปี

บรรยากาศของดาวพฤหัสบดีแบ่งได้เป็นหลายส่วนตามริ้วที่พาดในแนวขนานกับเส้นศูนย์สูตร ริ้วคล้ำเรียกว่าแถบ (belt) ริ้วสว่างเรียกว่าเขต (zone) ซ้อนกับบริเวณต่าง ๆ ได้แก่ เขตศูนย์สูตร (equatorial) เขตร้อน (tropical) เขตอบอุ่น (temperate) และเขตขั้วดาว (polar) ทั้งซีกเหนือและใต้ 

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2559
ดาวเคราะห์วันที่โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวพฤหัสบดีมีนาคม-2.5
ดาวอังคาร22 พฤษภาคม-2.1
ดาวเสาร์มิถุนายน+0.0
ดาวเนปจูนกันยายน+7.8
ดาวยูเรนัส15 ตุลาคม+5.7


ดาวเสาร์


ตลอดปี 2559 ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ซึ่งคั่นอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับคนยิงธนู ต้นปีอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยมีดาวศุกร์ผ่านมาอยู่เคียงกันในเช้ามืดวันที่ มกราคม

วันที่ มิถุนายน ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร 0.0 หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดาวเสาร์ได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตก ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ในเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยมีดาวอังคารมาอยู่ใกล้ในปลายเดือนสิงหาคม และดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ในปลายเดือนตุลาคม

เมื่อใกล้สิ้นปี ดาวเสาร์ออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนอาจเริ่มเห็นได้เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเช้ามืด โดยยังคงอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู

ภาพถ่ายวงแหวนดาวเสาร์จากยานแคสซีนี แสดงวงหลัก A, B, กับวงที่ไม่ชัดนัก คือวง ที่อยู่ด้านใน และวง ที่อยู่ด้านนอก 

กราฟความสว่างของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวงตลอดปี 2559 

ดาวยูเรนัส


ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา เดือนมกราคมถึงกลางเดือนมีนาคม 2559 สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้น ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 10 เมษายน แล้วกลับมาสังเกตได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืด โดยเริ่มตั้งแต่ราวกลางเดือนพฤษภาคม

ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 15 ตุลาคม 2559 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้ในเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปถึงเดือนมีนาคม 2560

ดาวเนปจูน


ดาวเนปจูนอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ สังเกตได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ เดือนมกราคม 2559 ดาวเนปจูนอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้น ดาวเนปจูนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนไม่สามารถสังเกตได้ ต้นเดือนเมษายน เริ่มสังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด

ดาวเนปจูนอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ กันยายน 2559 สว่างที่สุดด้วยโชติมาตร +7.8 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 2.4 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้ในเวลาหัวค่ำ คืนวันที่ มกราคม 2560 ดาวอังคารจะผ่านใกล้ดาวเนปจูนโดยเข้าใกล้กันที่สุดที่ระยะ 0.2° ขณะนั้นทั้งคู่มีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ 59° ตะวันออก เป็นจังหวะที่ดีสำหรับการสังเกตดาวเนปจูนด้วยกล้องโทรทรรศน์ โดยปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันตกพร้อมกับดาวศุกร์และจันทร์เสี้ยว

แผนที่แสดงตำแหน่งดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน โดยมีเส้นบอกตำแหน่งทุกวันแรกของเดือน (1 มกราคม 2559, กุมภาพันธ์ 2559, ..., 13 มกราคม 2560, 14 กุมภาพันธ์ 2560) ขนาดของวงกลมดาวในภาพ กำหนดตามความสว่าง ดาวดวงเล็กที่สุดในแผนที่สำหรับดาวเนปจูนมีโชติมาตร