อุปราคาในปี 2556
พ.ศ. 2556 มีอุปราคาทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นสุริยุปราคา 2 ครั้ง จันทรุปราคา 3 ครั้ง ปีนี้ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาบางส่วนได้ 1 ครั้ง กับจันทรุปราคาเงามัวอีก 1 ครั้ง เมื่อเกิดอุปราคาขึ้นครั้งใด อีกราว 6,585.32 วัน (18 ปี กับ 10 หรือ 11 วัน) ถัดไปหรือก่อนหน้านั้น จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นด้วย เรียกคาบเวลานี้ว่าซารอส (saros) แบ่งได้เป็นชุดต่าง ๆ กำหนดลำดับชุดด้วยตัวเลข
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เอียงทำมุมกันราว 5° อุปราคาจะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์และดวงอาทิตย์มีตำแหน่งอยู่ใกล้จุดตัดระหว่างระนาบทั้งสอง จุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนจากใต้ระนาบวงโคจรโลกขึ้นมาเหนือระนาบเรียกว่าจุดโหนดขึ้น (ascending node) จุดที่อยู่ตรงกันข้ามเรียกว่าจุดโหนดลง (descending node) เกี่ยวข้องกับซารอสด้วย กล่าวคือ สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคู่ เกิดที่จุดโหนดลง สุริยุปราคาในชุดซารอสที่เป็นเลขคี่ เกิดที่จุดโหนดขึ้น ส่วนของจันทรุปราคาจะสลับกัน
1.
อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้(ที่เหลืออีก 2 ครั้งเป็นจันทรุปราคาเงามัว) โดยเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางดึก ก่อนรุ่งอรุณของวันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 ตามเวลาประเทศไทย ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวในเวลา 01:04 น. แต่ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
ดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำจนสังเกตได้ในเวลาประมาณตี2 จากนั้นขอบดวงจันทร์เริ่มแหว่งเวลา 02:54 น. ดวงจันทร์จะถูกเงาของโลกบังลึกที่สุดเวลา 03:07 น. คิดเป็นขนาดความลึกเพียง 1.5% ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 40° สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 03:21 น. และสิ้นสุดจันทรุปราคาเงามัวในเวลา 05:11 น.
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือด้านตะวันออกของอเมริกาใต้ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย ผู้ที่อยู่ทางตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป และแอฟริกา จะเกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนสูงขึ้นในค่ำวันที่ 25 เมษายน ตามเวลาท้องถิ่น ส่วนเอเชียและออสเตรเลีย เกิดจันทรุปราคาขณะดวงจันทร์เคลื่อนต่ำลงในเวลาเช้ามืดของวันที่ 26 เมษายน
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา26 เมษายน 2556
1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 01:03:38 น.
2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 02:54:05 น.
3. กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 03:07:29 น.
4. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 03:21:02 น.
5. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 05:11:24 น.
เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวโดยมีดาวเสาร์อยู่สูงเหนือดวงจันทร์ 5° ส่วนดาวรวงข้าวอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 11°-12° ดวงจันทร์เฉียดทางทิศใต้ของเงาโลก ขณะบังลึกที่สุดจึงเห็นขอบด้านทิศเหนือของดวงจันทร์ (ขวามือ เยื้องไปทางด้านบน) มีลักษณะมืดคล้ำ และแหว่งเล็กน้อย
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่65 ใน 72 ครั้ง ของชุดซารอสที่ 112 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 859 - 2139 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 7 ครั้ง บางส่วน 21 ครั้ง เต็มดวง 15 ครั้ง บางส่วน 22 ครั้ง และเงามัว 7 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1490 นาน 1 ชั่วโมง 39.9 นาที
2.
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีนี้เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่10 พฤษภาคม 2556 ตามเวลาประเทศไทย นับเป็นเวลา 3 วัน ก่อนดวงจันทร์จะผ่านตำแหน่งไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์จึงอยู่ห่างโลกจนมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เส้นทางคราสวงแหวนเริ่มต้นที่ออสเตรเลีย ผ่านปาปัวนิวกินี หมู่เกาะโซโลมอน หมู่เกาะกิลเบิร์ต ไปสิ้นสุดในตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ประเทศไทยไม่เห็นสุริยุปราคาในวันนี้
สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา04:25 น. ตามเวลาประเทศไทย จากนั้นเวลา 05:31 น. เงาคราสวงแหวนเริ่มสัมผัสผิวโลกในตอนกลางค่อนไปทางเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย บริเวณอุทยานแห่งชาติคอลลิเออร์เรนจ์ (Collier Range) เงากว้าง 222 กิโลเมตร เกิดสุริยุปราคาวงแหวนขณะดวงอาทิตย์ขึ้น นาน 4 นาที 11 วินาที เมืองนิวแมนซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ประชากรราว 4 พันกว่าคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศเหนือของแนวคราส ที่นั่นเกิดสุริยุปราคาวงแหวนนานประมาณ 1 นาที 50 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงยเพียง 1°
เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็วเส้นกลางคราสลากผ่านทะเลสาบดิสแซปพอยต์เมนต์ (Lake Disappointment) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ปกติจะแห้งขอด จากนั้นผ่านตอนกลางของรัฐนอร์เทิร์นเทริทอรี เมืองเทนแนนต์ครีก (Tennant Creek) ประชากรราว 3 พันคน อยู่ใกล้ขอบเขตด้านทิศใต้ของแนวคราส เกิดสุริยุปราคาวงแหวนนาน 3 นาที 6 วินาที ดวงอาทิตย์มีมุมเงย 16°
ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกกับระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
1. จันทรุปราคาบางส่วน 26 เมษายน 2556
อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาที่เห็นดวงจันทร์แหว่งครั้งเดียวของปีนี้
ดวงจันทร์เริ่มหมองคล้ำจนสังเกตได้ในเวลาประมาณตี
พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้พร้อมประเทศไทยคือด้านตะวันออกของอเมริกาใต้
ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา
เมื่อสังเกตจากประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่
2. สุริยุปราคาวงแหวน 10 พฤษภาคม 2556
สุริยุปราคาครั้งแรกของปีนี้เกิดขึ้นในวันศุกร์ที่
สุริยุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อเงามัวแตะผิวโลกในเวลา
เงาคราสวงแหวนเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างรวดเร็ว