ดาวเคราะห์ในปี 2544
ดาวพุธ เริ่มปรากฏให้เห็นครั้งแรกในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคม โดยจะเริ่มหายไปในแสงสนธยาอีกครั้งภายในสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ดาวพุธจะมาให้เห็นทางทิศตะวันออกในปลายเดือนกุมภาพันธ์ต่อเนื่องจนถึงตลอดเดือนมีนาคม ซึ่งการปรากฏของดาวพุธในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดในรอบปีนี้ สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม ดาวพุธจะอยู่ในท้องฟ้าเวลาพลบค่ำ โดยดาวพุธจะผ่านใกล้กับดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ก่อนที่จะลดความสว่างลงพร้อม ๆ กับหายลับไปจากท้องฟ้าหัวค่ำอย่างรวดเร็วภายในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน สามารถดูดาวพุธได้อีกครั้งในท้องฟ้าเช้ามืดตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม ซึ่งดาวพุธจะเคลื่อนผ่านใกล้กับดาวพฤหัสบดีอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม การปรากฏของดาวพุธในท้องฟ้าหลังจากดวงอาทิตย์ตกในช่วงถัดไปไม่ดีนักเนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ขอบฟ้ามากและเป็นช่วงฤดูฝน จะสามารถมองเห็นดาวพุธตอนเช้ามืดได้อีกครั้งและเป็นช่วงสุดท้ายของปีนี้ ได้ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน คราวนี้ดาวพุธจะผ่านใกล้กับดาวศุกร์และเคลื่อนเข้าหาแสงอรุณไปกับดาวศุกร์
ดาวศุกร์ปรากฏให้เห็นในเวลาพลบค่ำหลังจากดวงอาทิตย์ตก ซึ่งเป็นการปรากฏเป็นดาวประจำเมืองต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยในต้นปีนี้ ดาวศุกร์จะปรากฏสูงจากขอบฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 17 มกราคม จนมีตำแหน่งทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด หลังจากนั้นมุมเงยของดาวศุกร์จากขอบฟ้าจะค่อนข้างคงที่และเริ่มลดลงพร้อมๆ กับเคลื่อนเข้าหาดวงอาทิตย์ โดยจะมีความสว่างมากที่สุดในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดทำให้มองไม่เห็นในปลายเดือนมีนาคม จากนั้นต้นเดือนเมษายนจึงกลับมาปรากฏให้เห็นเป็นดาวรุ่ง หรือดาวประกายพรึก ทางทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ซึ่งดาวศุกร์จะค่อย ๆ มีตำแหน่งสูงขึ้นจากขอบฟ้าในเช้ามืดของแต่ละวันจนกระทั่งถึงตำแหน่งที่ทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในต้นเดือนมิถุนายน และปรากฏเป็นดาวรุ่งไปตลอดถึงสิ้นปี
ดาวอังคารครึ่งแรกของปี ดาวอังคารปรากฏให้เห็นในท้องฟ้าเวลาเช้ามืด อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวและเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่องและคนยิงธนู เริ่มปรากฏเคลื่อนที่ถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์เบื้องหลังตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป ดาวอังคารมาถึงตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และเข้าใกล้โลกมากที่สุดในเดือนมิถุนายน ซึ่งขณะนี้ดาวอังคารปรากฏอยู่ในเขตของกลุ่มดาวคนแบกงู ตรงกลางระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับคนยิงธนู โดยจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 22 มิถุนายน ที่ระยะห่าง 0.4502 หน่วยดาราศาสตร์ หรือ 67 ล้านกิโลเมตร ซึ่งทำให้ดาวอังคารมีขนาดปรากฏสูงสุดที่ 20.8 พิลิปดา ซึ่งใหญ่กว่าขนาดของดาวเสาร์ (ไม่รวมวงแหวน) และความสว่างใกล้เคียงกับดาวพฤหัสบดี หลังจากนี้จะมองเห็นดาวอังคารได้ในเวลาหัวค่ำ ซึ่งดาวอังคารจะเดินหน้าและเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนูและแพะทะเล
ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาววัวซึ่งเป็นบริเวณที่มีดาวฤกษ์สว่างอยู่กันหลายดวง และปรากฏในท้องฟ้าพลบค่ำทางทิศตะวันออก จากนั้นจะเลื่อนไปปรากฏในฟ้าด้านตะวันตกในราวต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวพฤหัสบดีอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ในเดือนมิถุนายน ต้นเดือนกรกฎาคมจึงสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้อีกครั้งในท้องฟ้าเช้ามืดก่อนรุ่งอรุณซึ่งดาวพฤหัสบดีได้เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนคู่แล้ว หลังจากนั้นปลายเดือนพฤศจิกายนจึงสามารถมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้ตลอดทั้งคืนเนื่องจากอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์
ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาววัวเช่นเดียวกับดาวพฤหัสบดี จึงมีโอกาสในการมองเห็นคล้ายกับดาวพฤหัสบดี แต่เนื่องจากดาวเสาร์เคลื่อนที่ช้ากว่าจึงอยู่ในกลุ่มดาวนี้ตลอดทั้งปี ปลายเดือนพฤษภาคม ดาวเสาร์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากจึงมองไม่เห็น จากนั้นจึงมาปรากฏในท้องฟ้าเช้ามืดตลอดหกเดือน จนมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดูดาวเสาร์ได้ดีที่สุด
ดาวยูเรนัสและ ดาวเนปจูน มีตำแหน่งในท้องฟ้าอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลตลอดปีนี้ ดาวยูเรนัสมองเห็นได้ดีด้วยกล้องสองตา ส่วนดาวเนปจูนต้องอาศัยกล้องโทรทรรศน์ ถ้าท้องฟ้าแจ่มใสจะสามารถมองเห็นดาวยูเรนัสและเนปจูนได้ดีที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
ดาวพลูโตมีอันดับความสว่าง 14 มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู
ดาวศุกร์
ดาวอังคาร
ดาวเคราะห์ | วัน | อันดับความสว่าง |
---|---|---|
อังคาร | 14 | -2.4 |
เนปจูน | 30 | +7.8 |
ยูเรนัส | 15 | +5.7 |
เสาร์ | 3 | -0.4 |
พฤหัสบดี | 1 | -2.7 |
ดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์
ดาวยูเรนัส
ดาวพลูโต
วันที่ | ใกล้กันระหว่าง | ระยะห่าง | เวลาและทิศที่เห็น |
---|---|---|---|
16 | ดาวพุธกับดาวพฤหัสบดี | 2.8° | พลบค่ำทางทิศตะวันตก |
13 | ดาวพุธกับดาวพฤหัสบดี | 1.9° | เช้ามืดทางทิศตะวันออก |
15 | ดาวศุกร์กับดาวเสาร์ | 0.8° | เช้ามืดทางทิศตะวันออก |
6 | ดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดี | 1.2° | เช้ามืดทางทิศตะวันออก |