สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2548

ดาวเคราะห์ในปี 2548

8 มกราคม 2548
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 21 มิถุนายน 2565
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์วงใน จึงปรากฏบนท้องฟ้าเฉพาะเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างเช้ามืดและหัวค่ำ หากช่วงใดมองเห็นได้ในเวลาหัวค่ำก็จะไม่เห็นในเวลาเช้ามืด และหากสังเกตเห็นดาวพุธได้ในเวลาเช้ามืด ก็จะมองไม่เห็นในเวลาหัวค่ำ ถ้าไม่คำนึงถึงฤดูกาลและปริมาณเมฆในท้องฟ้า ช่วงที่ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์และปรากฏบนท้องฟ้ามองเห็นได้ดีในประเทศไทยสำหรับปีนี้ คือ เวลาเช้ามืดของต้นเดือนมกราคม กลางเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม และต้นเดือนถึงกลางเดือนธันวาคม ส่วนช่วงที่มองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ คือ ปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม และอาจพอมองเห็นได้ในปลายเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน

ภาพจำลองจากโปรแกรม Starry Night แสดงภาพสว่างและขนาดปรากฏเปรียบเทียบกันของดาวเคราะห์ในรอบปี 2548 

ช่วงวันที่มองเห็นดาวพุธได้ดีในปี 2548
ช่วงวันที่ เวลา กลุ่มดาว หมายเหตุ
1-7 มกราคม เช้ามืด คนแบกงู ใกล้ดาวศุกร์
20 เมษายน พฤษภาคม เช้ามืด ปลา, ซีตัส -
24 มิถุนายน -16 กรกฎาคม หัวค่ำ คนคู่, ปู, สิงโต ใกล้ดาวศุกร์กับดาวเสาร์
17 ธันวาคม เช้ามืด ตาชั่ง, แมงป่อง -


ดาวศุกร์ หลังจากสัปดาห์แรกของเดือนมกราคมที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้กับดาวพุธ เราจะไม่สามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เกือบตลอดครึ่งแรกของปีเนื่องจากมีตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์จะกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำเป็น "ดาวประจำเมือง" ทางทิศตะวันตกตั้งแต่เดือนมิถุนายนในกลุ่มดาวคนคู่ พร้อมกันนั้นจะมีตำแหน่งใกล้กับดาวพุธและดาวเสาร์ จากนั้นดาวศุกร์จะมีมุมเงยสูงขึ้นอย่างช้า ๆ ในเวลาเดียวกันของแต่ละวัน

ตลอดเดือนกรกฎาคม-กันยายน ดาวศุกร์จะเคลื่อนจากกลุ่มดาวปูไปยังกลุ่มดาวสิงโต กลุ่มดาวหญิงสาว และกลุ่มดาวตาชั่ง (ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 1-2 กันยายน) จากนั้นตลอด เดือนสุดท้ายของปี ดาวศุกร์จะเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่อง กลุ่มดาวคนแบกงู กลุ่มดาวคนยิงธนู และกลุ่มดาวแพะทะเล โดยทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในวันที่ พฤศจิกายน หลังจากวันนั้น ดาวศุกร์จะเริ่มเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ หายลับไปจากท้องฟ้าเวลาหัวค่ำในช่วงที่เข้าสู่ปีใหม่ 2549

ตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2548 แผนภาพนี้ช่วยให้สามารถเห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวตั้ง คือ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลาง คือ ส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนคือมุมห่าง แกนตั้งคือวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวทแยงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด ในทางตรงกันข้าม เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180 องศา แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี 

ดาวอังคาร อยู่ในท้องฟ้ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืดตลอด 10 เดือนแรกของปี เคลื่อนจากกลุ่มดาวแมงป่องเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกงู กลุ่มดาวคนยิงธนู กลุ่มดาวแพะทะเล กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ กลุ่มดาวปลา และกลุ่มดาวแกะ ดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกมากขึ้นเรื่อยๆ และมีความสว่างเพิ่มขึ้นทีละน้อย จากที่ต้นปีมีโชติมาตร +1.6 ปลายเดือนมิถุนายน จะเห็นดาวอังคารมีความสว่างที่โชติมาตร +0.0 ใกล้เคียงกับดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ และมีขนาดเชิงมุมประมาณ พิลิปดา

เดือนกันยายน หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย จะเห็นดาวอังคารสุกสว่างใกล้เคียงกับดาวซิริอัส ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าเวลากลางคืน และเป็นช่วงที่ดาวอังคารขึ้นเหนือขอบฟ้าตะวันออกตั้งแต่เวลาประมาณ ทุ่ม ดาวอังคารยังคงมีความสว่างเพิ่มขึ้นและปรากฏขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อดูผ่านกล้องโทรทรรศน์ โดยจะมีขนาดใหญ่ที่สุดและสว่างที่สุดในคืนวันที่ 30 ตุลาคม ด้วยขนาดเชิงมุม 20.2 พิลิปดา และมีโชติมาตร -2.3 ห่างจากกระจุกดาวลูกไก่ประมาณ 13 องศา ซึ่งเป็นการเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ ปี ต่อมาในวันที่ พฤศจิกายน ดาวอังคารจึงจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ช่วงเวลานี้ดาวอังคารจะปรากฏบนท้องฟ้าตลอดทั้งคืน ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกจนถึงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น (วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกที่สุดกับวันที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ห่างกัน วัน เนื่องจากดาวอังคารมีวงโคจรเป็นวงรีเล็กน้อย) หลังจากนั้นเราจะเห็นดาวอังคารได้ตั้งแต่ท้องฟ้าเริ่มมืดในเวลาหัวค่ำ ก่อนสิ้นปี 2548 ดาวอังคารจะมีขนาดเชิงมุมลดลงเหลือ 12.1 พิลิปดา และมีความสว่างลดลงไปอยู่ที่โชติมาตร -0.6 (ใกล้เคียงกับดาวคาโนปัส ดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นลำดับ 2) มีทิศทางปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวแกะไปจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2549

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2548
ดาวเคราะห์ วัน เดือน โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวเสาร์ 14 ม.ค. -0.4
ดาวพฤหัสบดี เม.ย. -2.5
ดาวพลูโต 11 มิ.ย. 13.8
ดาวเนปจูน ส.ค. 7.8
ดาวยูเรนัส 28 ส.ค. 5.7
ดาวอังคาร พ.ย. -2.3


ดาวพฤหัสบดี อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวเกือบตลอดทั้งปี ต้นปี 2548 เป็นช่วงที่สามารถสังเกตดาวพฤหัสบดีได้ดีที่สุด เพราะดาวพฤหัสบดีมีตำแหน่งบริเวณที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ เดือนมกราคม-มีนาคมจะเห็นดาวพฤหัสบดีได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อถึงเดือนเมษายน ดาวพฤหัสบดีจะส่องสว่างมากที่สุดด้วยโชติมาตร -2.5 ขณะที่เข้าใกล้โลกที่สุด หลังจากนั้นจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีได้ทุกคืนในเวลาหัวค่ำไปจนถึงเดือนกันยายน ก่อนที่ดาวพฤหัสบดีจะหายเข้าไปในแสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัสบดีจะกลับมาปรากฏในท้องฟ้าทิศตะวันออกเวลาเช้ามืดในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนและมองเห็นได้ในเวลานี้ไปจนถึงสิ้นปี ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวพฤหัสบดีกำลังจะเข้าสู่กลุ่มดาวตาชั่ง

ดาวเสาร์ อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในเดือนมกราคม จึงมองเห็นได้นับตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเช้ามืด โดยมีตำแหน่งอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ตลอดครึ่งปีแรก เราสามารถสังเกตดาวเสาร์ได้ในเวลาหัวค่ำจนถึงประมาณปลายเดือนมิถุนายน ก่อนที่ดาวเสาร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จากนั้นดาวเสาร์จะปรากฏในท้องฟ้าเวลากลางคืนอีกครั้งตั้งแต่เช้ามืดของกลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ซึ่งเป็นเวลาที่ดาวเสาร์มีทิศทางอยู่ในกลุ่มดาวปู ส่องสว่างด้วยโชติมาตร +0.3 และจะเคลื่อนผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในกลางเดือนกันยายน

ดาวยูเรนัส อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ ขณะที่ ดาวเนปจูน อยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล ผู้ที่มีกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ สามารถเริ่มสังเกตดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้ได้ในเวลาเช้ามืดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม หากท้องฟ้าแจ่มใสจะมองเห็นดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนได้ดีที่สุดในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวเคราะห์ทั้งสองอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ และจะสังเกตการณ์ต่อไปได้ในเวลาหัวค่ำจนถึงสิ้นปี

ดาวพลูโต มีโชติมาตร 14 ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมองเห็นได้ยากด้วยกล้องโทรทรรศน์ อยู่ในกลุ่มดาวงูตลอดปีนี้