สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สะเก็ดข่าวดาราศาสตร์

คลื่นความมืดจากสุริยคราส

10 ก.พ. 61

นักวิทยาศาสตร์จากหอดูดาวเฮย์สแต็กของเอ็มไอทีและจากหอดูดาวทรุมเซอของนอร์เวย์ ได้สำรวจบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ในทางผ่านของคราสขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2561 พบคลื่นกระแทกโค้งที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ที่เกิดจากเงาของดวงจันทร์พาดผ่านบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง 

ภาพรายละเอียดดาวยักษ์

4 ก.พ. 61

นักดาราศาสตร์ได้ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพชื่อ ไพโอเนียร์ ของหอสังเกตการณ์วีแอลทีไอในชิลีถ่ายภาพดาว ไพ นกกระเรียน (Pi1 Gruis) ซึ่งเป็นดาวยักษ์แดงที่อยู่ห่างออกไป 530 ปีแสง ภาพนี้ให้รายละเอียดลักษณะพื้นผิวได้ถึงระดับที่แสดงภาพของการเกิดฟองบนผิวดาวได้ นับเป็นการถ่ายภาพพื้นผิวของดาวยักษ์ที่ละเอียดสูงถึงระดับนี้ได้เป็นครั้งแรก

เรดาร์วัดขนาดเฟทอน

18 ม.ค. 61

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 นักดาราศาสตร์ได้ใช้เรดาร์ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุอาริซิโบสำรวจดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน พบว่า วัตถุที่เป็นต้นกำเนิดของฝนดาวตกคนคู่ดวงนี้มีสัญฐานค่อนข้างกลมเกลี้ยง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าที่เคยคิดไว้

จุดจรวดวอยเอเจอร์ 1 ครั้งแรกในรอบ 37 ปี

2 ธ.ค. 60

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 ศูนย์ควบคุมภารกิจวอยเอเจอร์ได้ส่งคำสั่งให้ยานวอยเอเจอร์ 1 ซึ่งเป็นยานอวกาศที่เดินทางไกลที่สุด จุดจรวดเพื่อปรับมุมในการหันจานสายอากาศได้สำเร็จ เป็นการจุดจรวดครั้งแรกของยานลำนี้หลังจากที่ไม่ได้ใช้งานมานานถึง 37 ปี.

ดาวหางเขียวพิสดาร

1 ธ.ค. 60

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องไออาร์ทีเอฟในฮาวายศึกษาดาวหาง 45 พี/ฮนดะ-เมอร์กอส-ปัจดูซาโควา เพื่อต้นปีที่ผ่านมา พบว่าดาวหางดวงนี้มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์แข็งน้อยมาก แต่กลับมีมีเทนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลก เพราะคาร์บอนไดออกไซด์แข็งกับมีเทนในดาวหางทั่วไปมักมีมากหรือน้อยไปในทางเดียวกัน

ไม่ต้องรอให้ดาวหางชน

22 พ.ย. 60

อาร์จัน เบเรรา จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ เสนอทฤษฎีว่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ลอยละล่องอยู่ในบรรยากาศชั้นบนโลกอาจถูกพัดพาไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่นได้จากการถูกฝุ่นจากอวกาศพุ่งชน หากทฤษฎีเป็นจริง โอกาสในการแพร่สิ่งมีชีวิตระหว่างดาวเคราะห์ก็จะมากกว่าที่เคยคาดไว้ เนื่องจากโลกถูกฝุ่นอวกาศพุ่งชนทุกวัน

เทียนกง-1 โหม่งโลกต้นปีหน้า

15 พ.ย. 60

ข้อมูลจากการติดตามการเคลื่อนที่ของสถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน พบว่าขณะนี้สถานีอยู่สูงจากพื้นดิน 310 กิโลเมตร และกำลังลดระดับลงเรื่อย ๆ คาดว่าสถานีจะตกลงสู่พื้นโลกในราวต้นปี 2561 แต่วันและสถานที่ยังไม่อาจระบุได้ในขณะนี้

ภาพสุดท้าย(จริง ๆ) จากโรเซตตา

12 พ.ย. 60

นักวิทยาศาสตร์จากโครงการโรเซตตาพบภาพถ่ายนิวเคลียสดาวหาง 67 พี ภาพหนึ่งตกค้างอยู่ในคลังข้อมูลของโรเซตตา พบว่าเป็นภาพสุดท้ายที่ยานถ่ายได้ก่อนที่จะปิดภารกิจ เป็นภาพสุดท้ายจริง ๆ นั่นคือถ่ายหลังจาก "ภาพสุดท้าย" ที่เคยมีการเผยแพร่เมื่อยานเพิ่งปิดภารกิจ เหตุที่ภาพนี้ตกค้างอยู่นานโดยไม่มีการเผยแพร่เนื่องจากข้อมูลภาพจากยานส่งมาไม่สมบูรณ์ ระบบอัตโนมัตจึงเข้าใจว่าเป็นภาพเสียหาย

เอนเซลาดัสตะแคง

8 พ.ย. 60

นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้านธรณีวิทยาของดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ที่ได้จากการสำรวจของยานแคสซีนี เชื่อว่าครั้งหนึ่งดวงจันทร์ดวงนี้เคยถูกชนอย่างแรงจนขั้วหมุนเปลี่ยนไปจากเดิมถึง 55 องศา โดยจุดที่ถูกชนอาจเป็นบริเวณขั้วใต้ในปัจจุบันซึ่งเป็นบริเวณของ "ลายพาดกลอน" ของดวงจันทร์ดวงนี้

ไร้ชีวิตในพร็อกซิมาบี

7 ส.ค. 60

ดร.แคเทอรีน กาเซียร์-เซจ จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด ได้ศึกษาสภาพแวดล้อมของดาวพร็อกซิมาบี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า พบว่าที่ระยะของดาวเคราะห์ดวงนี้ ระดับของรังสีที่ได้รับจากดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้ารุนแรงมาก จนแม้แต่ดาวเคราะห์ที่มีบรรยากาศและสนามแม่เหล็กอย่างโลกที่อยู่ที่นั่นก็จะถูกทำลายบรรยากาศไปจนหมดสิ้นภายในเวลาไม่นาน จึงเชื่อว่าดาวพร็อกซิมาบีน่าจะเป็นดาวเคราะห์ที่ไร้ชีวิต

27 ก.ค. 60

กล้องมาสคารา ซึ่งเป็นกล้องค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบด้วยหลักการค้นหาการผ่านหน้าของหอดูดาวลาซียาในชีลีได้เปิดรับแสงแรกแล้ว กล้องมาสคาราใช้เลนส์ถ่ายภาพมุมกว้างห้าตัวแทนการใช้เลนส์ขนาดใหญ่

จอมอึดแห่งจักรวาล

20 ก.ค. 60

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดพบว่า ทาร์ดิเกรดชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Milnesium tardigradum มีความทรหดอดทนมากพอที่จะดำรงเผ่าพันธุ์บนโลกต่อไปได้แม้จะผ่านยุคที่ดวงอาทิตย์เป็นดาวยักษ์แดงไปแล้ว (ภาพจากKatexic Publications, unaltered, CC2.0))

18 ก.ค. 60

โครงการ สตารส์ 2 ของสภาวิจัยยุโรป ได้ศึกษากัมมันตภาพของดาวฤกษ์ทั้งจากการสำรวจและการสร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่าดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงอื่นมีวัฏจักรของกัมมันตภาพที่มีคาบประมาณ 11 ปีเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์

23 มิ.ย. 60

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ถ่ายภาพของยานคิวริโอซิตีได้ขณะที่ยานอยู่บนเขาชาร์ป

18 มิ.ย. 60

จีนปล่อยดาวเทียมฮุ่ยหยั่น หรือ เอชเอกซ์เอ็มที ขึ้นสู่อวกาศเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ดาวเทียมฮุ่ยหยั่นเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศรังสีเอกซ์กล้องแรกของจีน มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจหลุมดำ พัลซาร์ และวัตถุมืด

29 เม.ย. 60

นักดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์เวิร์ด-สมิทโซเนียน พบว่าดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (proxima Cen) มีวัฏจักรของจุดมืดเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ แต่วัฏจักรของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้ามีคาบเจ็ดปี มีจุดมืดที่มีขนาดใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดของดาวทั้งดวง และพื้นที่รวมของจุดมืดในช่วงสูงสุดของวัฏจักรกินพื้นที่ถึงหนึ่งในห้าของดาวทั้งดวง

20 เม.ย. 60

นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุอาริซิโบสำรวจดาวเคราะห์น้อย 2014 JO25 ซึ่งได้เฉียดโลกไปเมื่อหัวค่ำของวันที่ 19 เมษายน ที่ผ่านมา พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีรูปร่างเป็นสองตุ้มเกาะติดกัน แต่ละตุ้มมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 670 เมตร ขนาดรวมด้านกว้างสุดของทั้งดวงยาวถึง 1.3 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้มาก

30 มี.ค. 60

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียได้เสนอทฤษฎีว่า ทรายที่ปกคลุมอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์น่าจะเป็นประจุไฟฟ้าจากการกระทบกันโดยแรงลมและประจุคงอยู่ได้นานครั้งละหลายวันหรือหลายสัปดาห์

24 มี.ค. 60

กล้องบนรถคิวริโอซิตีที่กำลังสำรวจอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร ได้ตรวจพบรอยฉีกบนล้อซ้ายกลางของรถสองรอย ความเสียหายนี้ยังไม่มีผลต่อภารกิจของยาน

15 มี.ค. 60

สำนักข่าวจีนแย้มว่า ขณะนี้จีนกำลังพัฒนาอวกาศยานที่ลงจอดบนดวงจันทร์ได้และโคจรรอบโลกในระดับวงโคจรต่ำได้