สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สะเก็ดข่าวดาราศาสตร์

นิวทริโนยืนยัน มีปฏิกิริยาอีกชนิดในดวงอาทิตย์

1 ธ.ค. 63

นักดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จในการตรวจจับนิวทริโนจากดวงอาทิตย์ที่เกิดจากปฏิกิริยาฟิวชันแบบไตรวัฏจักรซีเอ็นโอ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาอีกชนิดหนึ่งนอกเหนือจากปฏิกิริยาโปรตอน-โปรตอน ซึ่งเป็นปฏิริยาหลักที่สร้างพลังงานในดวงอาทิตย์

ฉางเอ๋อ 5 ถึงดวงจันทร์

1 ธ.ค. 63

ยานฉางเอ๋อ 5 ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์และเก็บตัวอย่างกลับโลกลำแรกของจีนได้เข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์แล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ยานลำนี้จะเก็บตัวอย่างฝุ่นดินจากดวงจันทร์แล้วนำกลับมายังโลกในกลางเดือนธันวาคม

บอกลา อาเรซีโบ

20 พ.ย. 63

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กล้องโทรทรรศน์อาเรซีโบเสียหายเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้อย่างปลอดภัย แม้แต่การรื้อถอนโดยมีการควบคุมก็เป็นเรื่องทำได้ยาก ก่อนหน้านี้ในเดือนสิงหาคมเกิดเหตุสายเคเบิลเส้นหนึ่งที่พยุงชุดตัวรับสัญญาณเหนือจานได้ขาดไป และต่อมาในเดือนพฤศจิกายน สายเคเบิลอีกเส้นหนึ่งก็ขาดไป เป็นไปได้ว่าโครงสร้างเหนือจานทั้งหมดอาจถล่มลงมาภายในเวลาอันใกล้

พบดาวแคระน้ำตาลจากคลื่นวิทยุ

11 พ.ย. 63

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโกรนิงเงินได้ค้นพบดาวแคระน้ำตาลชื่อ บีดีอาร์ เจ 1750+3809 (BDR J1750+3809) โดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุโลฟาร์ (LOFAR) นับเป็นดาวแคระน้ำตาลดวงแรกที่ค้นพบด้วยคลื่นวิทยุ

สวัสดีวอยเอเจอร์ 2

6 พ.ย. 63

สถานีดีปสเปซเน็ตเวิร์ก 43 ประสบความเร็จในการติดต่อกับวอยเอเจอร์ 2 ได้อีกครั้งหลังจากที่ต้องปิดปรับปรุงไปนานถึง 8 เดือน สถานีแห่งนี้เป็นเพียงสถานีเดียวที่ติดต่อกับยานได้

ฟีเลคาปูชีโน

3 พ.ย. 63

คณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย ลอว์เรนซ์ โอรวร์ก ได้ศึกษาการกลิ้งกระดอนของยานฟีเลที่ลงจอดบนนิวเคลียสดาวหาง 67 พี/ชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโคเมื่อหกปีก่อน พบว่าพื้นผิวของดาวหางดวงนี้มีลักษณะฟูและโปร่งมาก ประกอบด้วยที่ว่างถึง 80 เปอร์เซ็นต์ โดยเปรียบเทียบว่าโปร่งนุ่มยิ่งกว่าขนมสายไหมหรือฟองนมของคาปูชีโนเสียอีก

มอดูลซเวซดาขัดข้องอีก

15 ต.ค. 63

มอดูลซเวซดาบนสถานีอวกาศนานาชาติพบปัญหาเพิ่มอีกแล้ว เมื่อวันพุธ (14 ตุลาคม 2563) เครื่องผลิตออกซิเจนในมอดูลขัดข้องไม่ทำงาน แต่มนุษย์อวกาศบนสถานีไม่ได้รับอันตรายเพราะบนสถานียังมีเครื่องผลิตอีกเครื่องหนึ่งอยู่ในฝั่งของอเมริกา เกนนาดี ปาดาลกา อดีตมนุษย์อวกาศรัสเซียให้ความเห็นว่ามอดูลของรัสเซียบนสถานีล้าเต็มทนแล้ว เพราะใช้งานมานานถึง 20 ปีแล้วทั้งที่ควรจะใช้เพียง 15 ปี

โซยุซเอ็มเอส 17 สามชั่วโมงถึงสถานี

15 ต.ค. 63

ยานโซยุซ 17 ได้เดินทางไปถึงสถานีอวกาศแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ใช้เวลาเดินทางนับจากขึ้นจากพื้นโลกถึงสถานีเพียง 3 ชั่วโมง 3 นาที เร็วที่สุดเท่าที่เคยทำได้ เที่ยวบินนี้เป็นเที่ยวบินสุดท้ายที่องค์การนาซาจะส่งมนุษย์อวกาศไปกับยานโซยุซของรัสเซีย เพราะต่อจากนี้นาซาจะใช้ยานของของอเมริกันเอง

สถานีอวกาศนานาชาติรั่วที่มอดูลรัสเซีย

30 ก.ย. 63

การสืบหาตำแหน่งที่เกิดการรั่วไหลของอากาศบนสถานีอวกาศนานาชาติที่ดำเนินมาตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคมใกล้ได้คำตอบแล้ว ขณะนี้พบว่ามอดูลที่เกิดการรั่วไหลคือมอดูลซเวซดา ซึ่งเป็นมอดูลหลักของฝั่งรัสเซียและเป็นมอดูลที่สำคัญที่สุดของสถานี

อาการแปลก ๆ ของมนุษย์อวกาศ

6 ก.ย. 63

การศึกษาผลกระทบต่อสมองของมนุษย์อวกาศของรัสเซียโดยการสแกนสมองเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าแม้มนุษย์อวกาศกลับมาสู่พื้นโลกเป็นเวลานานแล้ว ยังพบความเปลี่ยนแปลงระยะยาวเกิดขึ้นอีกสองอย่าง ได้แก่ สมองส่วนที่ควบคุมทักษะการเคลื่อนไหวพัฒนามากขึ้น ส่วนความสามารถในการมองเห็นระยะใกล้จะลดลง 

อีกเสียงเรียกร้องให้เลิกใช้เวลาออมแสง

4 ก.ย. 63

สำนักวิชายานอนหลับอเมริกัน (American Academy of Sleep Medicine) ได้เรียกร้องให้ประเทศยกเลิกการใช้เวลาออมแสง (daylight saving time) เนื่องจากการใช้เวลาออมแสงก่อปัญหาหลายอย่างต่อสุขภาพรวมถึงความปลอดภัยสาธารณะมาอย่างยาวนาน

ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก

22 ส.ค. 63

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา โครงการ แซดทีเอฟ ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ ชื่อ 2020 คิวจี (2020 QG) เป็นการค้นพบหลังจากที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เพิ่งเฉียดโลกไปด้วยระยะเพียง 2,950 กิโลเมตรเพียงหนึ่งชั่วโมงเท่านั้น คาดว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-6 เมตร

สถานีอวกาศนานาชาติ รั่วอีกแล้ว

21 ส.ค. 63

ผู้ควบคุมสถานีอวกาศนานาชาติภาคพื้นดินตรวจพบการรั่วไหลของอากาศบนสถานีอวกาศนานาชาติอีกครั้ง แม้อัตราการรั่วในขณะนี้ไม่ถึงกับเป็นอันตรายต่อมนุษย์อวกาศทั้งสามบนสถานี แต่ก็อยู่ในระดับที่ต้องดำเนินการแก้ไข ในสุดสัปดาห์นี้มนุษย์อวกาศทั้งสามบนสถานีจะต้องปิดประตูเชื่อมมอดูลทุกมอดูลและไปอยู่ในมอดูลชเวซดาเพื่อให้ผู้ควบคุมภาคพื้นดินวิเคราะห์ความดันในแต่ละมอดูลเพื่อหาว่าจุดรั่วอยู่ที่ใด การรั่วครั้งนี้นับเหตุอากาศรั่วครั้งแรกในรอบสองปีที่เกิดกับสถานีอวกาศนานาชาติ

เคเบิลอาริซีโบขาดทำจานเสียหาย

12 ส.ค. 63

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา สายเคเบิลเส้นหนึ่งที่พยุงแท่นของตัวรับสัญญาณเหนือจานของกล้องโทรทรรศน์อาเรซีโบ ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์จานเดี่ยวที่มีความกว้างถึง 305 เมตร ส่งผลให้จานสายอากาศเบื้องล่างเสียหายเป็นทางยาวถึง 30 เมตร

กองทัพยานอวกาศเดินทางสู่ดาวอังคาร

5 ส.ค. 63

เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มียานอวกาศสำรวจดาวอังคารถึงสามลำเดินทางไปสำรวจดาวอังคาร เริ่มจากยานโฮป จากองค์การอวกาศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออกเดินทางไปเมื่อวันที่ 19 ตามมาด้วยยานเทียนเวิ่น-1 ของจีน ออกเดินทางไปเมื่อวันที่ 23 และสุดท้ายคือยานเพอร์เซอร์วีแรนซ์ขององค์การนาซา ออกเดินทางไปเมื่อวันที่ 30 ยานทั้งสามจะใช้เวลาประมาณครึ่งปีจึงไปถึงดาวอังคาร

มนุษย์อวกาศทำกระจกหลุด

30 มิ.ย. 63

คริส แคสซิดี มนุษย์อวกาศจากนาซา และผู้บังคับการสถานีอวกาศนานาชาติเผลอทำกระจกเงาหลุดจากปลอกแขนขณะปฏิบัติการย่ำอวกาศเมื่อวันที่ 26 มิถุนายนที่ผ่านมา กระจกบานนั้นจะกลายเป็นขยะอวกาศชิ้นใหม่ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนนับล้านชิ้นที่โคจรรอบโลกอยู่ในปัจจุบัน

ดาวแม่เหล็กแรกรุ่น

21 มิ.ย. 63

นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวนิวตรอน สวิฟต์ เจ1818.0-1607 ที่พบเมื่อเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น เกิดจากการระเบิดเมื่อราว 240 ปีก่อนเท่านั้น นับเป็นดาวนิวตรอนที่อายุน้อยที่สุดเท่าที่รู้จัก และยังมีสนามแม่เหล็กรุนแรงนับพันเท่าของดาวนิวตรอนทั่วไป จัดเป็นประเภทดาวแม่เหล็กหรือแมกนีตาร์ดวงที่ 31 ที่เคยค้นพบ

เจมส์เว็บบ์เลื่อนอีกแล้ว

16 มิ.ย. 63

การระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ทำให้นาซาตัดสินใจเลื่อนการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์อีกครั้ง จากเดิมเดือนมีนาคม 2564 ออกไป แต่คาดว่าจะปล่อยได้ภายในปีเดียวกัน

จีนเตรียมสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่

8 มิ.ย. 63

จีนพร้อมเริ่มสร้างสถานีอวกาศแห่งใหม่ในปีหน้า คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปีและการขนส่ง 11 เที่ยวบินในการสร้าง สถานีอวกาศแห่งใหม่นี้จะมีอายุการใช้งาน 10 ปี

ครูว์ดรากอนทำได้

1 มิ.ย. 63

เมื่อเช้ามืดวันจันทร์ (1 มิถุนายน) ที่ผ่านมา ประตูของสถานีอวกาศนานาชาติได้เปิดออกเพื่อต้อนรับมนุษย์อวกาศอเมริกันสองคนที่นั่งมากับยานครูว์ดรากอน นับเป็นเที่ยวบินประวัติศาสตร์ที่สหรัฐอเมริกาส่งชาวอเมริกันขึ้นสู่อวกาศได้โดยยานสัญชาติอเมริกันจากแผ่นดินอเมริกาในรอบ 9 ปี