สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สะเก็ดข่าวดาราศาสตร์

จิบแชมเปญในสภาพไร้น้ำหนัก

18 มิ.ย. 61

มุม ผู้ผลิตแชมเปญสัญชาติฝรั่งเศสเตรียมออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในเดือนกันยายนนี้ คือ แกรนด์กอร์ดอนสเตลลาร์ ซึ่งเป็นระบบบรรจุรินและดื่มแชมเปญในสภาพไร้น้ำหนัก ซึ่งอาจจะถูกนำไปใช้ในธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศในอนาคต

สเปซเอกซ์เลื่อนกำหนดทัวร์ชมดวงจันทร์

5 มิ.ย. 61

สเปซเอกซ์ได้ประกาศการเลื่อนกำหนดการทัศนาจรชมดวงจันทร์ที่เดิมวางไว้ว่าจะออกเดินทางปลายปีนี้ไปเป็นอย่างเร็วกลางปีหน้า ทัวร์ชมดวงจันทร์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์นี้จะมีนักท่องเที่ยวสองคน เดินทางไปกับยานดรากอน 2 ที่ขับดันโดยจรวดฟัลคอนเฮฟวี

พลาดอีกแล้ว

1 มิ.ย. 61

การปล่อยจรวดฟัลคอน 9 เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมาของสเปซเอกซ์ประสบความสำเร็จ แต่การเก็บกู้ฝาประกับหัวจรวดทั้งสองเพื่อกลับมาใช้ใหม่ล้มเหลว โดยเรือเก็บกู้ชื่อมิสเตอร์สตีเวนที่มีตาข่ายรองรับเข้าใกล้จนเกือบจะรับฝาประกับที่ร่อนลงมาได้ แต่ก็พลาดเป้าไปประมาณ 50 เมตร

กล้องยักษ์ได้ชื่อใหม่

31 พ.ค. 61

กล้องโทรทรรศน์ อี-อีแอลที (E-ELT--European Extremely Large Telescope) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น กล้อง อีแอลที (ELT--Extremely Large Telescope) กล้องอีแอลทีมีกระจกปฐมภูมิเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 39.3 เมตร จะเป็นกล้องโทรทรรศน์เชิงแสงที่มีกระจกใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อสร้างเสร็จ คาดว่ากล้องนี้จะเปิดรับแสงแรกได้ในปี 2567

ภาพเรียกน้ำย่อยจากกล้องเทสส์

21 พ.ค. 61

กล้องเทสส์ ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศที่มีภารกิจค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบดวงใหม่ซึ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าไปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ทดลองเปิดกล้องครั้งแรกและส่งภาพที่น่าประทับใจกลับมา เป็นภาพท้องฟ้าบริเวณดาวบีตาคนครึ่งม้า แม้จะเปิดรับแสงเพียงสองวินาที แต่มีจุดดาวในภาพมากถึงสองแสนดวง

ดาวเคราะห์น้อยพลัดถิ่น

21 พ.ค. 61

นักดาราศาสตร์จากหอดูดาวไอเวอรีโคสต์ได้ใช้แบบจำลองติดตามตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยชื่อ 2015 บีแซด 509 (2015 BZ509) ซึ่งปัจจุบันโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบที่พ้องกับดาวพฤหัสบดี พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีต้นกำเนิดมาจากระบบสุริยะอื่น เช่นเดียวกับ โอมูอามูอา แต่ต่างกันตรงที่โอมูอามูอาแค่ผ่านเข้ามาแล้วก็จากไป ส่วน 2015 บีแซด 509 ย้ายเข้ามาอยู่อย่างถาวร

ฟัลคอน 9 ปรับปรุงอีกครั้ง

19 พ.ค. 61

สเปซเอกซ์ได้ปรับปรุงจรวดฟัลคอน 9 อีกครั้ง จากเดิมเรียกว่าบล็อก 4 เป็นบล็อก 5 จรวดฟัลคอน 9 บล็อก 5 นี้ได้เพิ่มความสามารถในการใช้ซ้ำของจรวดจากเดิมใช้ได้สองครั้งเป็นใช้ได้มากถึง 10 ครั้ง

เอกชนจีนส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ

18 พ.ค. 61

สเปซวัน และ ไอสเปซ สองบริษัทเอกชนด้านการบินอวกาศของจีนได้ทดสอบส่งจรวดของตนขึ้นสู่อวกาศได้เป็นผลสำเร็จ สเปซวันส่งจรวดฉงชิ่งเหลี่ยงเจียงขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูง 273 กิโลเมตร ส่วนไอสเปซส่งจรวด ไฮเพอร์โบลา-1 เอส ขึ้นสู่ท้องฟ้าได้สูง 108 กิโลเมตร

ยูเรนัสมีกลิ่นตุ ๆ

4 พ.ค. 61

แพทริก เออร์วิน นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ดและคณะ ได้ศึกษาบรรยากาศดาวยูเรนัสด้วยกล้องเจมิไนเหนือ พบว่า บรรยากาศชั้นบนของยูเรนัสประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือแก๊สไข่เน่าเป็นส่วนใหญ่

พบฮีเลียมในดาวเคราะห์ต่างระบบ

4 พ.ค. 61

คณะนักดาราศาสตร์นานาชาติที่นำโดย เจสซิกา พาร์ก จากมหาวิทยาลัยเอกเซตเตอร์ ได้ตรวจพบว่า ดาวเคราะห์ต่างระบบดวงหนึ่งชื่อ วอส์ป-107 บี ซึ่งอยู่ห่างจากโลกไป 200 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวหญิงสาว มีบรรยากาศที่ประกอบด้วยแก๊สฮีเลียม คาดว่าบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงนี้หนานับพันกิโลเมตรเลยทีเดียว

บลูออริจินส์ขึ้นสัมผัสอวกาศ

2 พ.ค. 61

บลูออริจินส์ บริษัทเดินอวกาศเอกชนได้ทดลองปล่อยจรวดนิวเชปเพิร์ดขึ้นสัมผัสอวกาศและกลับลงสู่พื้นโลกได้ประสบความสำเร็จ จรวดขับดันกลับลงสู่ในแบบตั้งขึ้น ส่วนหัวกลับลงสัมผัสผิวโลกอย่างนิ่มนวลด้วยร่มชูชีพ

เผยโฉมโรงแรมอวกาศแห่งแรก

20 เม.ย. 61

บริษัท โอไรอันสแปน ได้เปิดเผยแผนที่จะสร้างสถานีอวกาศที่เป็นโรงแรมอวกาศแห่งแรกโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการท่องเที่ยวอวกาศ โรงแรมอวกาศแห่งแรกนี้มีชื่อว่า ออโรราสเตชัน รองรับผู้พักได้คราวละ 6 คน ค่าเดินทางทัวร์สถานีอวกาศ 12 วันอยู่ที่คนละ 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าสถานีนี้จะขึ้นสู่อวกาศในปี 2564

ทอร์นาโดสุริยะ

14 เม.ย. 61

นักดาราศาสตร์จากยุโรปได้ศึกษาเปลวสุริยะ (prominence) บนดวงอาทิตย์จากข้อมูลที่ได้จากยานเอสดีโอ ยืนยันว่า เปลวสุริยะ หรือที่บางคนเรียกเชิงอุปมาว่าทอร์นาโดสุริยะ ไม่มีการหมุนรอบตัวเองดังที่เคยเชื่อกัน แต่เคลื่อนที่ไปตามการนำของสนามแม่เหล็ก ดังนั้นการเปรียบเปลวสุริยะว่าเป็นทอร์นาโดจึงไม่ถูกต้อง

จุดแดงใหญ่สูงขึ้น

12 เม.ย. 61

เอมี ไซมอน จากศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ดในกรีนเบลต์ แมรีแลนด์ พบว่าจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดีที่แม้ขนาดกำลังหดเล็กลงเรื่อย ๆ แต่ความเร็วของพายุภายในยังคงที่ แต่ความสูงกลับเพิ่มขึ้น

บิ๊กฟัลคอน เริ่มแล้ว

12 เม.ย. 61

อีลอน มัสก์ ประธานกรรมการของสเปซเอกซ์ได้เผยภาพของเครื่องมือในการสร้างจรวดบิ๊กฟัลคอนเป็นครั้งแรกทางอินสตาแกรม ภาพนี้ได้แสดงถึงความใหญ่โตของจรวดบิ๊กฟัลคอนโดยเทียบกับรถเทสลาที่จอดอยู่ข้าง ๆ เมื่อสำเร็จ จรวดบิ๊กฟัลคอนจะสูงถึง 106 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เมตร และมีระวางบรรทุก 150 ตันสำหรับวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ

เลื่อนอีกแล้ว

30 มี.ค. 61

นาซาเลื่อนการปล่อยกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์ออกไปอีกครั้งเป็นเดือนพฤษภาคม 2563

ระวังรังสีคอสมิก

27 มี.ค. 61

นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวแฮมเชียร์ได้ศึกษาข้อมูลจากยานลูนาร์รีคอนเนสเซนส์ออร์บิเตอร์ พบว่าระดับของรังสีคอสมิกดาราจักรที่เข้ามาถึงโลกขณะนี้มีความรุนแรงมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของวัฏจักรสุริยะรอบที่แล้วถึง 30 เปอร์เซ็นต์

ไฟนรกท้ายยุคน้ำแข็ง

13 ก.พ. 61

เอเดรียน เมลอตต์ ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์และดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคนซัสได้ศึกษาตะกอนตามที่ต่าง ๆ บนโลก พบหลักฐานที่แสดงว่า เมื่อราว 12,800 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เพิ่งพ้นยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด ได้มีดาวหางที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่ถึง 100 กิโลเมตรชนโลก เป็นผลให้พื้นที่ราวหนึ่งในสิบของพื้นดินบนโลกลุกเป็นไฟ

คาดหมายวันตกเทียนกง-1

13 ก.พ. 61

การคาดการณ์ล่าสุดถึงวันที่ 7 กุมภาพันธ์โดยสำนักงานขยะอวกาศในเยอรมนีประเมินว่า สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีนจะตกลงสู่บรรยากาศโลกในช่วง 25 มีนาคม ถึง 17 เมษายน

รังสีคอสมิกบุก

11 ก.พ. 61

นักดาราศาสตร์ตรวจพบว่า ปริมาณรังสีคอสมิกที่เข้าถึงโลกมีความเข้มสูงขึ้นกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดจากกัมมันตภาพของดวงอาทิตย์กำลังลดลงตามวัฏจักร