- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
7 ก.ค. 65
รอสคอสมอส ได้เผยแพร่ภาพมนุษย์อวกาศรัสเซียที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติถือธงชาติของดอแนตสก์และลูฮันสก์ ซึ่งทั้งสองแคว้นเป็นส่วนหนึ่งของยูเครนแต่พยายามแยกตัวออกจากยูเครน
30 มิ.ย. 65
งานวิจัยขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติหรือโนอา ระบุว่า การขนส่งอวกาศที่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างมากภายในยี่สิบปีข้างหน้า จะทำให้เกิดเขม่าจากการเผาไหม้เครื่องยนต์จรวดตกค้างในบรรยากาศมากขึ้นจนอาจทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศได้
25 พ.ค. 65
นาซาสั่งระงับการปฏิบัติงานนอกยานบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นการชั่วคราว เพื่อสอบสวนหาสาเหตุที่เกิดน้ำรั่วในหมวกของชุดอวกาศระหว่างการปฏิบัติงานนอกยานเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
24 พ.ค. 65
ยานสตาร์ไลเนอร์ของโบอิ้ง ประสบความสำเร็จในการเข้าสู่วงโคจรและเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา เวลา 7:28 น.ตามเวลาประเทศไทย ยานรุ่นนี้จะใช้ในการขนส่งมนุษย์อวกาศระหว่างโลกกับสถานีอวกาศนานาชาติต่อไป
16 เม.ย. 65
ยานเฉินโจว 13 ของจีนกลับมาถึงโลกแล้ว หลังจากทำสถิตินำมนุษย์อวกาศจีนที่อยู่ในอวกาศนานที่สุดถึง 6 เดือนกลับมาจากสถานีอวกาศเทียนกง
12 เม.ย. 65
องค์การนาซายังคงเพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องจากนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่งให้เปลี่ยนชื่อกล้องโทรทรรศน์เจมส์เว็บบ์เป็นชื่ออื่น เนื่องจาก เว็บบ์ เคยแสดงพฤติกรรมเหยียดเพศในสมัยที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการขององค์การ
19 มี.ค. 65
ยานโซยุซ เอ็มเอส-21 ได้เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อเช้าวันที่ 19 มีนาคม 2565 และมนุษย์อวกาศชาวรัสเซียทั้งสามได้เข้าไปในสถานีเรียบร้อย แต่ที่น่าสังเกตคือ มนุษย์อวกาศรัสเซียทั้งสามใส่ชุดสีเหลือง-น้ำเงิน ซึ่งเป็นสีในธงชาติยูเครน อย่างไรก็ตามทั้งสามมิได้พูดถึงที่มาของการเลือกชุดนี้
7 มี.ค. 65
รอสคอสมอสของรัสเซียประกาศเลิกสนับสนุนเครื่องยนต์จรวดแก่สหรัฐอเมริกาเพื่อตอบโต้ที่รัสเซียถูกคว่ำบาตรในกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน โดยดิมิทรี โรโกซิน ผู้อำนวยการรอสคอสมอสกล่าวว่า "ให้พวกมันขี่ไม้กวาดขึ้นไปเองก็แล้วกัน"
24 ธ.ค. 64
ยุซะกุ มะเอซะวะ มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งกลับมาจากการเที่ยวอวกาศนาน 12 วัน กล่าวชวนให้บุคคลที่มีศักยภาพและอิทธิพลในสังคมให้หาโอกาสขึ้นไปอวกาศสักครั้ง เพราะการได้เห็นโลกจากอวกาศ จะทำให้การมองโลกและการปฏิบัติต่อโลกเปลี่ยนไปได้อย่างสิ้นเชิง
12 ธ.ค. 64
ลอรา เชปเพิร์ด ลูกสาวคนโตของ แอลัน เชปเพิร์ด มนุษย์อวกาศคนแรกของอเมริกา ได้เป็นหนึ่งในลูกเรือรับเชิญของยานนิวเชปเพิร์ดเที่ยวบินที่ 3 เมื่อเช้าวันนี้ (11 ธันวาคม 2564)
23 ก.ย. 64
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอุปซอลาพบว่า ดิถีของดวงจันทร์มีผลต่อประสิทธิภาพการนอนหลับของมนุษย์ด้วย โดยพบว่ามนุษย์จะนอนหลับในช่วงข้างแรมได้ดีกว่าช่วงข้างขึ้น และผลนี้เห็นชัดเจนในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
9 ส.ค. 64
องค์การอนามัยโลกเสนอให้ใช้ชื่อกลุ่มดาวมาเรียกสายพันธุ์ของคอโรนาไวรัส 2019 (โควิด 19) ต่อหลังจากอักษรกรีกถูกใช้เรียกจนหมดแล้ว
29 ก.ค. 64
รัสเซียประสบความสำเร็จในการส่งมอดูลห้องทดลองมอดูลใหม่ชื่อ นาอูคา เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติเป็นผลสำเร็จเมื่อค่ำวันที่ 29 กรกฎาคม ตามเวลาประเทศไทย
19 ก.ค. 64
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เสนอทฤษฎีว่า ฟอสฟีนที่ตรวจพบในบรรยากาศดาวศุกร์อาจมาจากฟอสไฟด์ที่อยู่ใต้ดินถูกนำขึ้นสู่เบื้องบนโดยการปะทุของภูเขาไฟครั้งใหญ่ และทำปฏิริยากับกรดซัลฟิวริกในบรรยากาศจนได้เป็นฟอสฟีนออกมา
3 ก.ค. 64
นักดาราศาสตร์พบดาวแคระขาวดวงใหม่ มีชื่อว่า แซดทีเอฟ เจ 1901+1458 (ZTF J1901+1458) มีมวล 1.35 เท่าของดวงอาทิตย์ นับเป็นดาวแคระขาวที่มีมวลสูงที่สุดเท่าที่เคยพบ มีมวลเกือบเท่าขีดจำกัดจันทรเสขร ซึ่งเป็นมวลสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ในทางทฤษฎีสำหรับดาวแคระขาว
17 มิ.ย. 64
อาร์กติกแอสโทรนอติก บริษัทสร้างดาวเทียมสัญชาติฟินแลนด์ เตรียมส่งดาวเทียมวีซาวูดแซตขึ้นสู่อวกาศในปีนี้ ดาวเทียมนี้จะเป็นดาวเทียมดวงแรกของโลกที่ใช้ไม้อัดเป็นโครงสร้าง
5 มิ.ย. 64
เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติมีรูโหว่กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตรอยู่บนแขนกลแคนาดาร์มซึ่งเป็นหนึ่งในแขนกลที่สำคัญมากแขนหนึ่งบนสถานี คาดว่าเกิดจากขยะอวกาศพุ่งชน อย่างไรก็ตาม แขนกลแคนาดาร์มยังคงทำงานได้ตามปกติ
27 ม.ค. 64
เอริก อากอล จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้ศึกษาระบบดาวเคราะห์ของดาวแทรปพิสต์ พบว่าดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดในระบบนี้มีความหนาแน่นเกือบเท่ากัน มีน้ำอยู่มาก มีสนิมเหล็กเป็นส่วนประกอบเกือบทั้งดวงตั้งแต่พื้นผิวจรดแกนเหล็ก แม้แต่แกนเหล็กก็มีสนิมกินทั้งก้อน
22 ม.ค. 64
ดร.