- ข่าว
- ท้องฟ้า
- กิจกรรม
- ห้องสมุด
- สมาคม
4 มิ.ย. 62
นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองนิวเคลียร์แห่งชาติสหรัฐ ประสบความสำเร็จในการสร้างกระแสไฟฟ้าจากอเมริเซียมได้สำเร็จเป็นครั้งแรก อเมริเซียมเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่คาดว่าจะมาเป็นแหล่งพลังงานหลักในยานอวกาศในอนาคต
3 มิ.ย. 62
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคนซัสเสนอทฤษฎีว่า ซูเปอร์โนวาใกล้เคียงที่เกิดขึ้นใกล้โลกในช่วง 2.6 ถึง 8 ล้านปีก่อน ได้กระตุ้นให้บรรพบุรุษของมนุษย์ยืนสองขาได้
6 เม.ย. 62
จิม ไบรเดนสไตน์ ผู้อำนวยการองค์การนาซา ได้กล่าวต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติสหรัฐอเมริกาว่า นาซาได้วางกำหนดที่จะนำมนุษย์กลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้งก่อนปี 2024 และนำมนุษย์ไปดาวอังคารได้ก่อนปี 2033 เส้นตายใหม่นี้เร็วกว่าที่เคยกำหนดไว้เดิมถึงสี่ปี
6 เม.ย. 62
นักบินอวกาศในโครงการอะพอลโลที่ยังมีชีวิตอยู่ 8 คนได้มาร่วมในงานรำลึกครบรอบ 50 ปีของภารกิจอะพอลโล 11 ล่วงหน้า ภาพจากซ้ายมาขวา : ชาลี ดุก (อะพอลโล 16), บัซ อัลดริน (อะพอลโล 11), วัลเตอร์ คันนิงแฮม (อะพอลโล 7), อัล วอร์เดน (อะพอลโล 15), รัสตี ชวิกคาร์ท (อะพอลโล 9), แฮร์ริสัน สมิตต์ (อะพอลโล 17), ไมเคิล คอลลินส์ (อะพอลโล 11) และ เฟรด เฮส (อะพอลโล 13) ภาพถ่ายโดย Felix Kunze/The Explorers Club
3 เม.ย. 62
อาร์เคเคอีเนอร์กียาของรัสเซีย เปิดเผยว่าบริษัทกำลังพัฒนาเครื่องซักผ้าสำหรับใช้ในสถานีอวกาศ ซึ่งมีความจำเป็นมากขึ้นในการเดินทางไปเป็นระยะทางไกลอย่างดาวอังคารในอนาคต เครื่องซักผ้าแบบนี้ไม่ใช่น้ำในการซัก แต่ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ดึงมาจากลมหายใจของมนุษย์อวกาศในสถานี
7 มี.ค. 62
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งกรุงเบรุต ได้สร้างแบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่ออธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้วัตถุพ้นวงโคจรเนปจูนบางดวงมีวงโคจรผิดปกติ ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีดาวเคราะห์หมายเลขเก้า พบว่า ไม่จำเป็นต้องมีดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ก็ได้ หากมีวัตถุดวงเล็กกระจายอยู่ในบริเวณนั้น ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน
25 ก.พ. 62
สเปซเอกซ์ วางกำหนดการทดลองปล่อยยานครูดรากอนเป็นครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ยานจะเทียบเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติและถอนตัวออกโดยไม่เป็นอันตรายต่อสถานี ในเที่ยวบินทดสอบนี้จะยังไม่มีมนุษย์อวกาศเดินทางไปด้วย
22 ก.พ. 62
จรวดฟัลคอน 9 ได้นำยานเบเรชีต ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของบริษัทสัญชาติอิสราเอลชื่อสเปซไอแอลขึ้นสู่ท้องฟ้าวันนี้ ยานแบร์ชีตจะไปถึงดวงจันทร์ในราวเดือนเมษายน
8 ก.พ. 62
ริชาร์ต แบรนสัน มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ เจ้าของเวอร์จินกรุ๊ป ประกาศว่าตนจะขึ้นสู่อวกาศไปกับยานสเปซชิป 2 ของเวอร์จินกาแล็กติกในเดือนกรกฎาคมปีนี้ เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของการพิชิตดวงจันทร์ของภารกิจอะพอลโล
8 ก.พ. 62
จีนได้เปิดเผยภาพของดวงจันทร์ด้านไกลคู่กับโลกในกรอบภาพเดียวกันที่ถ่ายโดยดาวเทียม หลงเจียง-2 ซึ่งเป็นดาวเทียมถ่ายทอดสัญญาณสำหรับภารกิจฉางเอ๋อ-4
3 ก.พ. 62
นักดาราศาสตร์จากเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาการเกิดดาวในเมฆโมเลกุลใจเนบิวลานายพราน พบว่าลมดาวที่ดาวฤกษ์เกิดใหม่พัดออกมาโดยรอบมีอิทธิพลในการยับยั้งไม่ให้ดาวดวงอื่นในละแวกใกล้เคียงกำเนิดขึ้นมาได้ด้วย
28 ม.ค. 62
หินหนัก
18 ม.ค. 62
นักดาราศาสตร์ได้เปิดเผยภาพของ
8 ม.ค. 62
สเปซเอกซ์เตรียมสร้างจรวดชื่อสตาร์ฮอปเปอร์ ซึ่งเป็นจรวดสตาร์ชิป (ชื่อเดิมคือ บิกฟัลคอน) ย่อส่วน เพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่จะใช้ในจรวดสตาร์ชิป ภาพที่เผยแพร่ออกมาแสดงว่าจรวดนี้ใช้เครื่องยนต์แรปเตอร์สามเครื่อง คาดว่าสตาร์ฮอปเปอร์พร้อมสำหรับเที่ยวบินแรกภายในปีนี้
4 ธ.ค. 61
ยานโซยุซเอ็มเอส-11
24 พ.ย. 61
สเปซเอกซ์
17 พ.ย. 61
หอดูดาวยุโรปซีกใต้ (ESO) ได้เปิดเผยภาพของดาวบีตาขาตั้งภาพบี (Beta Pictoris b) ที่ถ่ายไว้เป็นระยะตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน แสดงการเปลี่ยนตำแหน่งเทียบกับดาวแม่อย่างชัดเจน ซึ่งแสดงการโคจรรอบดาวบีตาขาตั้งภาพ ดาวบีตาขาตั้งภาพบีเป็นดาวเคราะห์ต่างระบบเพียงไม่กี่ดวงที่ถูกค้นพบจากภาพถ่ายโดยตรง ช่วงเวลาระหว่างปลายปี 2559 จนถึงกลางปี 2561 ไม่มีภาพถ่ายเนื่องจากดาวบีตาขาตั้งภาพบีมีระยะห่างปรากฏใกล้ดาวฤกษ์มากจนถูกแสงจ้ากลบไปเสียหมด
2 พ.ย. 61
เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2561 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลได้เปลี่ยนชื่อ กฏฮับเบิล (Hubble's Law) เป็น กฎฮับเบิล-เลอแมตร์ (Hubble-Lemaître Law) ตามมติการลงคะแนนเสียงโดยสมาชิก ท่ามกลางคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างดุเดือดถึงความถูกต้องในเชิงประวัติศาสตร์และบทบาทของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กฏนี้คือกฏที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางกับอัตราการเคลื่อนที่ถอยหนีของดาราจักร
1 พ.ย. 61
ภาพขำขันเบา
การสวมชุดแฟนซีในวันฮาโลวีนเป็นธรรมเนียมประจำปีบนสถานีอวกาศนานาชาติ
11 ต.ค. 61
องค์การแจ็กซา เลื่อนกำหนดการลงจอดดาวเคราะห์น้อยริวกิวของยานฮะยะบุซะ 2 ออกไป จากเดิมที่คาดว่าเป็นปลายเดือนนี้ไปเป็นปลายเดือนมกราคมปีหน้าเป็นอย่างเร็ว ด้วยเหตุผลคือ ต้องการใช้เวลามากขึ้นในการเลือกสถานที่ลงจอด เนื่องจากพบว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์น้อยริวกิวขรุขระระเกะระกะไปด้วยก้อนหิน แทบไม่มีส่วนราบเรียบเลย ซึ่งผิดไปจากที่คาดไว้ตั้งแต่ก่อนยานไปถึงมาก