ดาวเคราะห์ในปี 2559
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก 2 ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดด้วยมุมห่างจากดวงอาทิตย์ที่จำกัด คนบนโลกจึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปี 2559 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ 3 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยมีดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ดาวพุธ ช่วงที่ 2 คือปลายเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนมิถุนายน ช่วงที่ 3 คือปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี4 ช่วง ช่วงแรกต่อเนื่องมาจากเดือนธันวาคม 2558 ถึงต้นเดือนมกราคม ช่วงที่ 2 คือครึ่งหลังของเดือนเมษายน ช่วงที่ 3 คือปลายเดือนกรกฎาคมถึงปลายเดือนสิงหาคม โดยมีดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างไปทางขวามือของดาวพุธ ช่วงสุดท้ายคือเกือบตลอดเดือนธันวาคม ยกเว้น 1-2 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน
ปีนี้มีปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่9 พฤษภาคม กล้องโทรทรรศน์ส่องเห็นดาวพุธเป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ ประเทศไทยอยู่ในเขตที่เห็นได้ขณะเริ่มปรากฏการณ์เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะตก ในทางปฏิบัติจึงอาจไม่สามารถสังเกตได้หรือสังเกตได้ยากมาก
ดาวศุกร์ปรากฏเป็นดาวประกายพรึกบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องมาจากปี2558 โดยกำลังเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มปรากฏบริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนแบกงู ดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวเสาร์ 2 ครั้ง ครั้งแรกใกล้กันที่สุดในเช้ามืดวันที่ 9 มกราคม 2559 ที่ระยะ 0.3° ปลายเดือนดาวศุกร์เคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนยิงธนู
ตลอดช่วงวันที่12-15 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์ปรากฏสูงเหนือดาวพุธโดยเยื้องไปทางขวามือที่ระยะ 4° หลังจากนั้นเข้าสู่กลุ่มดาวแพะทะเลและคนแบกหม้อน้ำ หากบริเวณใกล้ขอบฟ้าไม่มีเมฆบัง มีโอกาสเห็นดาวศุกร์อยู่เรี่ยขอบฟ้าขณะฟ้าสางได้ทุกวันต่อเนื่องไปถึงราวเดือนมีนาคมหรืออาจถึงเดือนเมษายน ก่อนที่ดาวศุกร์จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้
ดาวศุกร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอกคือผ่านด้านหลังดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโลกในวันที่ 7 มิถุนายน หลังจากนั้นค่อย ๆ ทำมุมห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น ราวปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ มีดาวพุธมาอยู่ใกล้โดยปรากฏในทิศทางของกลุ่มดาวสิงโต ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ 5 สิงหาคม ห่างกันที่ระยะ 1°
ปลายเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ดาวพุธดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี ชุมนุมกันเหนือขอบฟ้าทิศตะวันตก วันที่ 27 สิงหาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในระยะใกล้ที่สุด 0.4° เป็นช่วงที่ดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว
เมื่อสิ้นเดือนกันยายนดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่ง จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแมงป่องในกลางเดือนตุลาคม ปลายเดือนเดียวกันจะเห็นดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวเสาร์เป็นครั้งที่ 2 ของปีด้วยระยะห่าง 3° โดยวันที่ 28 ตุลาคม ดาวเสาร์ ดาวศุกร์ และดาวแอนทาเรส (หรือดาวปาริชาต) ซึ่งเป็นดาวสว่างในกลุ่มดาวแมงป่อง เรียงตัวกันบนท้องฟ้าอยู่ในแนวเกือบเป็นเส้นตรง หลังจากนั้นเราจะยังคงเห็นดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำไปจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560
พ.ศ.2559 เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตดาวอังคาร เนื่องจากดาวอังคารจะผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 2 ปี 2 เดือน แม้ว่าปีนี้จะยังไม่ใช่ช่วงที่ใกล้โลกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก็ตาม ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ดีในเวลาเช้ามืด ช่วงแรกอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว จากนั้นเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง แมงป่อง และคนแบกงู ต้นเดือนเมษายนจะเห็นดาวอังคาร ดาวเสาร์ และดาวแอนทาเรสอยู่ใกล้กัน ขณะที่ดาวอังคารและดาวแอนทาเรสต่างก็มีสีส้มเหมือนกัน
กลางเดือนเมษายนดาวอังคารเริ่มมีการเคลื่อนที่ปรากฏแบบถอยหลัง (เคลื่อนจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ฉากหลัง) เนื่องจากโลกซึ่งมีวงโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าได้เคลื่อนแซงไปข้างหน้า ต้นเดือนพฤษภาคม ดาวอังคารถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่องและคันชั่ง ดาวอังคารผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 พฤษภาคม ขณะอยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง สว่างที่โชติมาตร -2.1 นับว่าสว่างพอ ๆ กับดาวพฤหัสบดีในขณะนั้น
ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในเช้ามืดวันที่31 พฤษภาคม ที่ระยะห่าง 0.503 หน่วยดาราศาสตร์ (75 ล้านกิโลเมตร) ขณะอยู่ในกลุ่มดาวคันชั่ง วันนั้นดาวอังคารมีขนาดปรากฏใหญ่สุดที่ 18.6 พิลิปดา คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3/4 ของขนาดใหญ่สุดที่เป็นไปได้ (25.1 พิลิปดา) ซึ่งเคยเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2546
หลังจากเดือนพฤษภาคมดาวอังคารมีความสว่างลดลงและมีขนาดปรากฏในกล้องโทรทรรศน์เล็กลงเนื่องจากเคลื่อนห่างโลกมากขึ้น ดาวอังคารเริ่มกลับมาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกครั้งในปลายเดือนมิถุนายน เข้าสู่กลุ่มดาวแมงป่องในต้นเดือนสิงหาคม ปลายเดือนเดียวกันมองเห็นดาวอังคารเคลื่อนผ่านระหว่างดาวเสาร์กับดาวแอนทาเรส ขณะนั้นดาวอังคารสว่างกว่าดาวทั้งสอง
ต้นเดือนกันยายนถึงสิ้นปีดาวอังคารเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนแบกงู คนยิงธนู แพะทะเล และกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ คืนวันที่ 1 มกราคม 2560 กล้องโทรทรรศน์สามารถส่องเห็นดาวอังคารอยู่ใกล้ดาวเนปจูนด้วยระยะห่างเพียง 0.2°
ต้นปี2559 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต ใกล้เส้นแบ่งพื้นที่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตกับกลุ่มดาวหญิงสาว ตามการแบ่งเขตกลุ่มดาวสากล จากนั้นปรากฏเคลื่อนถอยหลังเมื่อเทียบกับดาวฉากหลัง วันที่ 8-9 มีนาคม 2559 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร –2.5 สังเกตได้ตลอดทั้งคืน
ต้นเดือนมิถุนายนดาวพฤหัสบดีทำมุม 90° กับดวงอาทิตย์ โดยอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกของดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ปลายเดือนกรกฎาคม ดาวพุธและดาวศุกร์มาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ และอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีในปลายเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว และเคลื่อนต่ำใกล้ขอบฟ้า หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์โดยอยู่ในแนวเดียวกับดวงอาทิตย์ในปลายเดือนกันยายน
ครึ่งหลังของเดือนตุลาคมหากท้องฟ้าเปิดอาจเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด หลังจากนั้น ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น และยังคงอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดตลอดระยะเวลาที่เหลือของปี
ตลอดปี2559 ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู ซึ่งคั่นอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับคนยิงธนู ต้นปีอยู่บนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด โดยมีดาวศุกร์ผ่านมาอยู่เคียงกันในเช้ามืดวันที่ 9 มกราคม
วันที่3 มิถุนายน ดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างที่โชติมาตร 0.0 หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดาวเสาร์ได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์ตก ดาวเสาร์อยู่บนท้องฟ้าให้สังเกตได้ในเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปจนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน โดยมีดาวอังคารมาอยู่ใกล้ในปลายเดือนสิงหาคม และดาวศุกร์มาอยู่ใกล้ในปลายเดือนตุลาคม
เมื่อใกล้สิ้นปีดาวเสาร์ออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นจนอาจเริ่มเห็นได้เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเช้ามืด โดยยังคงอยู่ในกลุ่มดาวคนแบกงู
ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลาเดือนมกราคมถึงกลางเดือนมีนาคม 2559 สังเกตได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก หลังจากนั้น ดาวยูเรนัสเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 10 เมษายน แล้วกลับมาสังเกตได้อีกครั้งในเวลาเช้ามืด โดยเริ่มตั้งแต่ราวกลางเดือนพฤษภาคม
ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่15 ตุลาคม 2559 สว่างที่โชติมาตร +5.7 มีขนาดเชิงมุมตามแนวศูนย์สูตร 3.7 พิลิปดา หลังจากนั้นเริ่มสังเกตได้ในเวลาหัวค่ำต่อเนื่องไปถึงเดือนมีนาคม
ดาวพุธ
ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุด
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี
ปีนี้มีปรากฏการณ์ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ในวันที่
ร่วมทิศแนววงใน | 14 | 9 | 13 | 29 |
---|---|---|---|---|
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด | 7 | 5 | 29 | - |
ร่วมทิศแนววงนอก | 24 | 7 | 27 | - |
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด | 18 | 17 | 11 | - |
ดาวศุกร์
ดาวศุกร์ปรากฏเป็นดาวประกายพรึกบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องมาจากปี
ตลอดช่วงวันที่
ดาวศุกร์ผ่านตำแหน่งร่วมทิศแนววงนอก
ปลายเดือนสิงหาคมเป็นช่วงที่ดาวพุธ
เมื่อสิ้นเดือนกันยายน
ดาวอังคาร
พ.ศ.
กลางเดือนเมษายน
ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดในเช้ามืดวันที่
หลังจากเดือนพฤษภาคม
ต้นเดือนกันยายนถึงสิ้นปี
ดาวพฤหัสบดี
ต้นปี
ต้นเดือนมิถุนายน
ครึ่งหลังของเดือนตุลาคม
ดาวเคราะห์ | วันที่ | โชติมาตร |
---|---|---|
ดาวพฤหัสบดี | 8 | -2.5 |
ดาวอังคาร | 22 | -2.1 |
ดาวเสาร์ | 3 | +0.0 |
ดาวเนปจูน | 2 | +7.8 |
ดาวยูเรนัส | 15 | +5.7 |
ดาวเสาร์
ตลอดปี
วันที่
เมื่อใกล้สิ้นปี
ดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัสอยู่ในกลุ่มดาวปลา
ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่