สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(30 มี.ค. 58) เควซาร์นี้มีชื่อว่า เอสดีเอสเอส เจ 0100+2802 (SDSS J0100+2802) อยู่ห่างจากโลก 12.8 พันล้านปีแสง มีกำลังส่องสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 420 ล้านล้านเท่า มีหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 12 พันล้านเท่า อยู่ที่ใจกลางซึ่ง ...

พบหลักฐาน ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งเคยฝ่าเข้ามาในเขตระบบสุริยะเมื่อ 70,000 ปีก่อน

(1 มี.ค. 58) ย้อนหลังไปเมื่อราว 70,000 ปีก่อน เมื่อครั้งที่มนุษย์นีแอนเดอทรัลและโครมันยองยังคงย่ำบนพื้นพิภพหากินขยายอาณาเขต เผ่าพันธุ์บรรพบุรุษของเรานี้อาจไม่ทันได้สังเกตเลยว่า บนท้องฟ้าขณะนั้น มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งได้รุกล้ำเข้ามาในเขตของระบบสุริยะของเรา ...

ดาวเคราะห์อภิมหาวงแหวน

(24 ก.พ. 58) ดาวเสาร์ ได้ชืื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ที่เชิดฉายที่สุดในระบบสุริยะ จากวงแหวนที่ดูสวยเด่นไม่เหมือนดาวเคราะ์ดวงอื่น แต่ถ้าหากนำดาวเสาร์ไปเทียบกับดาวเคราะห์ต่างระบบดวงหนึ่งที่เพิ่งค้นพบ ดาวเสาร์คงจะต้องอายไปเลย ดาวเคราะห์ดวงนี้ ชื่อ เจ 1407 บี (J1407b) ดาวเคราะห์ ...

เคปเลอร์พบดาวเคราะห์ต่างระบบขนาดระดับโลก 5 ดวง

(23 ก.พ. 58) นักดาราศาสตร์ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากยานเคปเลอร์ของนาซาที่สะสมมาเป็นเวลา 4 ปี และได้พบระบบสุริยะแห่งหนึ่งที่มีอายุ 11.2 พันล้านปี มีดาวเคราะห์เป็นบริวาร 5 ดวง และทั้งหมดในจำนวนนี้มีขนาดไล่เลี่ยกับโลกทั้งสิ้น ...

พบแล้ว ยานบีเกิล 2 ที่สาบสูญ

(1 ก.พ. 58) ด้วยความช่วยเหลือจากยานมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ของนาซา ที่สำรวจดาวอังคาร และจากการทำงานเป็นการส่วนตัวไมเคิล ครูน ซึ่งเคยอยู่ในคณะของมารส์เอกซ์เพรส เขาได้พยายามค้นหาร่องรอยของมารส์เอกซ์เพรสจากภาพมุมสูงที่ได้จากกล้องไฮไรส์ของมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ จนปลายปีที่แล้ว เขาก็ได้พบ ...

ดาวเคราะห์น้อย 2004 บีแอล 86 ก็มีดวงจันทร์

(31 ม.ค. 58) เรื่องน่าสนใจมากกว่าเกิดขึ้นหลังจากที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เฉียดผ่านไปแล้ว เมื่อนักดาราศาสตร์ได้เผยภาพเรดาร์ของดาวเคราะห์น้อย 2004 บีแอล 86 ที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 70 เมตรของเครือข่ายดีปสเปซในโกลด์สโตน ภาพ ...

หลักฐานจากก้นมหาสมุทรเขย่าทฤษฎีซูเปอร์โนวา

(26 ม.ค. 58) เมื่อดาวฤกษ์ระเบิดออกเป็นซูเปอร์โนวา จะเกิดกระบวนการสร้างธาตุหนักขึ้นหลายชนิด และสาดออกไปในอวกาศ เมื่อระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านดงของแก๊สธาตุหนักเหล่านี้ ธาตุบางส่วนก็จะถูกโลกกวาดเอาไว้ ละอองของธาตุเหล่านี้ก็จะตกลงสู่พื้นโลกและ ...

นักดาราศาสตร์คาด นอกพลูโตยังมีดาวเคราะห์อีกไม่ต่ำกว่าสองดวง

(16 ม.ค. 58) จากรายงานการวิจัยสองฉบับที่เขียนโดยนักดาราศาสสตร์จากมหาวิทยาลัยกอมปลูเตนเซแห่งมาดริด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พบว่า ข้อมูลจากการสังเกตการณ์กลับไม่สอดคล้องกับทฤษฎีข้างต้น นักดาราศาสตร์พบว่า ที่ขอบนอกของระบบสุริยะ มี ...

แคปซูลจีนกลับมาจากดวงจันทร์

(5 พ.ย. 57) แคปซูลนี้เป็นแคปซูลลงจอดของภารกิจฉางเอ๋อ 5 ที 1 ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เสี่ยวเฟย เป็นภารกิจทดสอบเทคโนโลยีการบินอวกาศต่าง ๆ เพื่อปูทางให้ภารกิจฉางเอ๋อ 5 ที่จะตามมา ภารกิจนี้ได้ขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 23 ตุลาคม จากศูนย์อวกาศซีฉ่าง ด้วยจรวดลองมาร์ช 3 ซี ยานได้เดินทางเป็นระยะทาง 840,000 กิโลเมตร ...

พบดาวหางสองกลุ่มใหญ่ล้อมรอบดาวฤกษ์ดวงอื่น

(4 พ.ย. 57) ดาวดวงนี้คือ ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) เป็นดาวฤกษ์อายุน้อยเพียง 20 ล้านปี อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 63 ปีแสง ดาวดวงนี้มีลักษณะพิเศษตรงที่มีจานของฝุ่นและแก๊สล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากการระเหยของดาวหางและการชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อย ...

พบหลักฐานของซูเปอร์โนวาใกล้โลก

(2 พ.ย. 57) นักดาราศาสตร์ประเมินว่า ดาราจักรทางช้างเผือกที่เราอยู่นี้มีซูเปอร์โนวาเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 50 ปี ซูเปอร์โนวาคือดาวฤกษ์ระเบิดที่มีความรุนแรงมาก พลังงานจากซูเปอร์โนวาในหนึ่งวินาทีมีมากกว่าพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่แผ่ออกมาในหนึ่งล้านปี ความสว่างของซูเปอร์โนวาดวงหนึ่งอาจสว่างกว่าดาราจักรที่มันอยู่ทั้งดารา ...

กล้องทีเอ็มที 30 เมตร เริ่มแล้ว

(2 พ.ย. 57) ยอดเขามานาเคอา อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิก 4,205 เมตร เป็นภูเขาไฟสงบ จึงเป็นสถานที่ดีเยี่ยมในการใช้เป็นหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ แต่ไม่ทุกคนที่ยินดีต่อโครงการนี้ เพราะเขามานาเคอาก็ยังเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพื้นเมืองฮาวาย โครงการนี้จึงสร้างความไม่พอใจให้ชาวพื้น ...

ดาวเคราะห์ต่างระบบทำให้ดาวฤกษ์แม่แก่ก่อนวัย

(2 พ.ย. 57) นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งนำโดย อิกนาซีโอ ปีลีเทรี จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งชาติอิตาลี ได้คำนวณว่า วอส์ป-18 มีอายุอยู่ระหว่าง 500 ล้าน ถึง 2 พันล้านปี โดยอาศัยแบบจำลองทางทฤษฎีร่วมกับข้อมูลอื่น แม้ตัวเลขจะดูเหมือนมาก แต่ใน ...

มาเวน ยานสำรวจดาวอังคารลำใหม่ของนาซาไปถึงเป้าหมาย

(2 พ.ย. 57) หลังจากที่เดินทางมาเป็นระยะทางกว่า 442 ล้านไมล์ ยานมาเวน (MAVEN--Mars Atmosphere and Volatile EvolutioN Mission) ยานสำรวจดาวอังคารลำล่าสุดของนาซา ได้ชลอความเร็วลงเพื่อให้ช้าพอที่จะให้ดาวอังคารคว้าจับเอาไว้ในวงโคจร และทำสำเร็จเมื่อเวลา 2.24 น. ของวันที่ 22 กันยายนที่ ...

ยานสำรวจดาวอังคารของอินเดียไปถึงดาวอังคาร

(2 พ.ย. 57) เมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ได้กลายเป็นวันสำคัญของประเทศอินเดีย เมื่อ มงคลยาน (मङ्गलयान) ยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของประเทศ เดินทางไปถึงดาวอังคาร ก่อนหน้าประเทศอินเดีย มีเพียงสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และองค์การอวกาศยุโรปเท่านั้นที่เคยทำ ...

หลุมดำไม่มีจริง

(2 พ.ย. 57) หลุมดำ เป็นคำที่มีมนต์ขลัง เพียงแค่ชื่อ ก็สื่อถึงความพิสดาร มหัศจรรย์ ลึกลับสุดขีด จึงไม่แปลกที่นิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนต์จะมีเรื่องของหลุมดำ หลุมดำเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่นสูงยิ่งยวด จึงมีสนามความโน้มถ่วงเข้มข้นมาก ดึงดูดได้ทุกสิ่งแม้แต่แสง ...

สนามแม่เหล็กโลกพลิก อาจมาเร็วกว่าที่คิด

(25 ก.ย. 57) โลกมีสนามแม่เหล็กล้อมรอบอยู่ คล้ายกับว่าโลกทั้งใบเป็นแม่เหล็กแท่งยักษ์แท่งหนึ่ง ขั้วเหนือแม่เหล็กโลกอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือ ขั้วใต้แม่เหล็กโลกอยู่ใกล้ขั้วโลกใต้ แต่ทิศของแม่เหล็กมิได้เป็นเช่นนี้เสมอไป ในอดีต ขั้วแม่เหล็กโลกเคยสลับจาก ...

นิวเฮอไรซอนส์ข้ามพ้นวงโคจรเนปจูน

(25 ก.ย. 57) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา ยานนิวเฮอร์ไรซอนส์ขององค์การนาซา ได้เดินทางผ่านวงโคจรของดาวเนปจูนไปเรียบร้อย นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญครั้งสุดท้ายก่อนที่ยานจะเดินทางไปถึงดาวพลูโตอันเป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งจะไปถึงในวันที่ ...

กล้องโทรทรรศน์วิทยุพิสูจน์ระยะทางกระจุกดาวลูกไก่

(24 ก.ย. 57) ไม่มีใครไม่รู้จักดาวลูกไก่ แม้แต่คนไม่รู้เรื่องดาว ก็ยังต้องเคยได้ยินชื่อดาวลูกไก่ กระจุกดาวลูกไก่เป็นกระจุกดาวที่สวยงามมาก อยู่ในกลุ่มดาววัว ครองความโดดเด่นบนฟากฟ้าในฤดูหนาวทุกปี กระจุกดาวนี้มีดาวฤกษ์อายุน้อยที่ร้อนแรงอยู่นับร้อยดวง มีอายุ ...

ยานสตาร์ดัสต์พบสิ่งที่อาจเป็นฝุ่นจากนอกระบบสุริยะเป็นครั้งแรก

(16 ก.ย. 57) นักวิทยาศาสตร์คณะหนึ่งได้กวาดหาอนุภาคจากแผงเก็บฝุ่นของยานสตาร์ดัสต์ พบว่ามีอนุภาค 7 อนุภาคที่น่าจะมาจากนอกระบบสุริยะ หรือที่เรียกว่า ฝุ่นระหว่างดาว ซึ่งอาจเกิดจากการซูเปอร์โนวาเมื่อหลายล้านปีก่อนและผ่านการ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น