สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(16 ก.ย. 57) นักวิทยาศาสตร์คณะหนึ่งได้กวาดหาอนุภาคจากแผงเก็บฝุ่นของยานสตาร์ดัสต์ พบว่ามีอนุภาค 7 อนุภาคที่น่าจะมาจากนอกระบบสุริยะ หรือที่เรียกว่า ฝุ่นระหว่างดาว ซึ่งอาจเกิดจากการซูเปอร์โนวาเมื่อหลายล้านปีก่อนและผ่านการ ...

เมสเซนเจอร์ไขปัญหาแกนดาวพุธ

(16 ก.ย. 57) ปริศนาข้อใหญ่ที่สุดของดาวพุธก็คือ การที่ดาวพุธมีแกนเหล็กขนาดใหญ่มาก แกนเหล็กของดาวพุธมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของดาวทั้งดวง และมีมวลมากถึง 65 เปอร์เซ็นต์ของดาวทั้งดวง ในขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นล้วนมี ...

เคปเลอร์พบดาวเคราะห์ที่มีคาบโคจรยาวที่สุด

(16 ก.ย. 57) เดวิด คิปพิง จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ฮาร์เวิร์ด-สมิทโซเนียนในเคมบริดจ์ แมสซาจูเซตต์กล่าวว่า "การค้นพบเคปเลอร์ 421 บี นี้มีเรื่องโชคมาช่วยด้วย เพราะปกติดาวเคราะห์ที่มีคาบโคจรยาวอย่างนี้พบได้ยากมาก เนื่องจากดาวเคราะห์ยิ่งอยู่ห่าง ...

พบดาวแคระขาวที่เย็นที่สุด

(23 ก.ค. 57) คณะนักดาราศาสตร์คณะหนึ่ง นำโดยเดวิด เคปลัน จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-มิลวอกี ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์กรีนแบงก์ของหอดูดาววิทยุแห่งชาติสหรัฐฯ และเครือข่ายวีแอลบีเอ ร่วมกับกล้องจากหอดูดาวอื่นอีกจำนวนหนึ่ง พบดาวที่น่าจะเป็นดาวแคระขาวที่เย็นที่สุดและจางที่สุด ...

สปิตเซอร์สำรวจดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายของภารกิจอาร์ม

(7 ก.ค. 57) นักดาราศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ สำรวจวัดขนาดของดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกเป้าหมายของภารกิจอาร์มของนาซา และพบว่าดาวเคราะห์ ...

ไขปริศนาดวงจันทร์สองหน้า

(21 มิ.ย. 57) เป็นเวลานานมาแล้วที่มนุษย์มองเห็นดวงจันทร์เพียงด้านเดียว เนื่องจากดวงจันทร์หมุนรอบตัวเองด้วยอัตราเท่ากับอัตราการโคจรรอบโลก จึงไม่มีใครได้มีโอกาสได้เห็นดวงจันทร์ในอีกด้านหนึ่งเลย จนกระทั่งถึง ค.ศ.1959 ยานลูนา 3 ของสหภาพโซเวียตส่ง ...

พบดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างระบบ

(19 มิ.ย. 57) ดาวเคราะห์ต่างระบบ คือดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของระบบสุริยะอื่น ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบบ่อยมาก จนข่าวการค้นพบเริ่มจะกลายเป็นข่าวธรรมดาไปเสียแล้ว แต่ถ้าเมื่อใดที่นักดาราศาสตร์ค้นพบดวงจันทร์ของดาว ...

พลูโตกับคารอนอาจใช้บรรยากาศร่วมกัน

(10 มิ.ย. 57) คารอน เป็นบริวารดวงที่ใหญ่ที่สุดของดาวพลูโต มีขนาดเกือบเป็นครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต และโคจรอยู่ใกล้ดาวพลูโตมาก ในทศวรรษ 1980 มีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าวัตถุสองดวงนี้อาจมีการแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างกัน แต่ในขณะนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ...

หลักฐานใหม่สนับสนุนทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์

(10 มิ.ย. 57) นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ดวงจันทร์เกิดขึ้นมาจากการชนครั้งใหญ่ในอดีต เมื่อมีวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารดวงหนึ่งพุ่งชนโลก วัตถุดวงนี้มีชื่อว่าเทีย แรงพุ่งชนสาดเศษเนื้อ ...

พบกระจุกดาวกระเด็นออกจากดาราจักร

(4 มิ.ย. 57) นักดาราศาสตร์พบกระจุกดาวทรงกลมกระจุกหนึ่ง กำลังเคลื่อนที่หนีออกจากดาราจักรด้วยความเร็วสูงมาก สูงจนถึงระดับที่จนในที่สุดจะหลุดออกจากการคว้าจับของดาราจักรต้นกำเนิดอย่างถาวร กลายเป็นกระจุกดาวอิสระที่ลอยล่องไปท่ามกลางอวกาศระหว่างดาราจักร ...

วัดวันของดาวเคราะห์ต่างระบบ

(26 พ.ค. 57) นักดาราศาสตร์ประสบความสำเร็จในการวัดระยะเวลาของวันบนดาวเคราะห์ต่างระบบได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยใช้หอดูดาวยุโรปซีกใต้ (อีเอสโอ) และกล้องวีแอลที ดาวเคราะห์ที่เป็นข่าวในครั้งนี้คือ ดาวบีตาขาตั้งภาพบี (Beta Pictoris B) เป็นบริวารของดาวบีตาขาตั้งภาพ ซึ่งเป็น ...

ดาวแคระน้ำตาลใกล้บ้าน

(26 พ.ค. 57) ดาวเทียมไวส์กับกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ได้ค้นพบสิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นดาวแคระน้ำตาลที่เย็นที่สุดเท่าที่รู้จัก และยังอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากเพียง 7.2 ปีแสงเท่านั้น ดาวแคระน้ำตาลดวงนี้ชื่อ ไวส์ เจ085510.83-071442.5 ...

ดาวเคราะห์แคระดวงใหม่

(14 พ.ค. 57) ระบบสุริยะของเรามีสมาชิกใหม่อีกดวงหนึ่งแล้ว เป็นดาวเคราะห์แคระจากชายขอบของระบบสุริยะ สกอตต์ เชปเพิร์ด จากสถาบันวิทยาศาสตร์คาร์เนกีในวอชิงตันดีซี ชาดวิก ทรูจิลโล จากหอดูดาวเจมิไนในฮาวาย ได้รายงานการการค้นพบดาวเคราะห์แคระดวงใหม่ มีชื่อว่า 2012 วีพี 113 (2012 VP113) ซึ่งโคจรอยู่นอกขอบเขตของระบบสุริยะ อาจเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุ ...

ดาวเคราะห์คล้ายโลกในเขตเอื้ออาศัยรอบดาวดวงอื่นดวงแรก

(26 เม.ย. 57) ในที่สุดกล้องโทรทรรศน์เคปเลอร์ของนาซา ก็พบสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลักที่พยายามค้นหามานานนับปีแล้ว นั่นคือ ดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงโลกในระบบสุริยะอื่นที่อยู่ในเขตเอื้ออาศัย ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีชื่อว่า เคปเลอร์-186 เอฟ ...

เอนเซลาดัสมีมหาสมุทร

(24 เม.ย. 57) ยานแคสซีนีของนาซาและเครือข่ายดีปสเปซเน็ตเวิร์กได้ค้นพบหลักฐานที่แสดงว่าบนดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์มีมหาสมุทรใต้พิภพด้วย การค้นพบนี้เป็นการเติมเชื้อไฟความสงสัยเกี่ยวกับโอกาสที่จะมีสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ดวงนี้ ...

เตรียมสร้างปั๊มกลางอวกาศ

(2 เม.ย. 57) วิศวกรจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาจูเซ็ตตส์ ณ บอสตัน ได้เสนอแนวคิดในการสร้างสถานีเชื้อเพลิงนอกโลก เพื่อการเดินทางขึ้นสู่อวกาศในอนาคตจะไม่ต้องหอบเอาเชื้อเพลิงจำนวนมากขึ้นไปด้วยดังเช่นในอดีตอีกต่อไป น้ำหนักเชื้อเพลิงที่ลดลง ย่อมหมายถึงระวางบรรทุกที่มากขึ้น เป็นประโยชน์อย่างมากในกรณีที่ต้อง ...

ดาวเคราะห์น้อยมีวงแหวน

(1 เม.ย. 57) ดาวเคราะห์น้อยเป็นวัตถุที่น่าสนใจเสมอ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสิ่งใหม่จากดาวเคราะห์น้อยมามากมาย เช่นพบว่าดาวเคราะห์น้อยบางดวงอยู่เป็นคู่ ดาวเคราะห์น้อยที่มีน้ำแข็ง ดาวเคราะห์น้อยมีบริวาร ดาวเคราะห์น้อยที่ถูกเผาจนแตกเป็นเสี่ยง มีแม้กระทั่งดาวเคราะห์น้อยมี ...

ดาวเคราะห์น้อยสองร่างในหนึ่งเดียว

(23 มี.ค. 57) ดาวเคราะห์น้อยเป็นวัตถุที่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจมานานแล้ว หนึ่งในสมบัติสำคัญที่นักดาราศาสตร์อยากรับรู้เป็นอย่างมาก ก็คือองค์ประกอบ การได้ทราบว่าดาวเคราะห์น้อยประกอบขึ้นจากอะไร จะเป็นประโยชน์มากหากเกิดกรณีที่มีดาวเคราะห์น้อยดวงใดมุ่งหน้ามา ...

กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่กว่าดาราจักร

(20 มี.ค. 57) เมื่อกว่า 400 ปีก่อน กาลิเลโอได้หันกล้องส่องทางไกลเล็ก ๆ ขึ้นสู่ท้องฟ้า ภายในเวลาไม่กี่คืน เขาได้ค้นพบความเร้นลับของท้องฟ้ามากกว่าที่นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาในยุคก่อนหน้าทั้งหมดเคยล่วงรู้
นับจากนั้นมา นักดารา ...

เคปเลอร์พบดาวเคราะห์ทีเดียว 715 ดวง

(17 มี.ค. 57) การค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น ทุกครั้งที่นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ขึ้นมาดวงหนึ่ง ก็จะเป็นข่าวใหญ่ให้พาดหัวทุกครั้งไป แล้วถ้าเป็นการค้นพบดาวเคราะห์คราวเดียว 715 ดวงล่ะ? นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับเคปเลอร์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น