สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ในปี 2553

ดาวเคราะห์ในปี 2553

29 ธันวาคม 2552
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 2 ธันวาคม 2564
โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ภาพจำลองดาวเคราะห์ในปี 2553 แสดงให้เห็นส่วนสว่างของดาวเคราะห์และขนาดปรากฏเปรียบเทียบ (ดัดแปลงจาก Solar System Simulator/NASA) 

ดาวพุธ

ส่วนใหญ่เราจะมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้ในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสางซึ่งเป็นเวลาที่ท้องฟ้าไม่มืดสนิทเนื่องจากดาวพุธโคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีจึงเป็นเวลาที่มันทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากพอสมควร ปี 2553 มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ ครั้ง ครั้งแรกเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมกราคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ดาวพุธทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าช่วงอื่นของปีโดยมีจันทร์เสี้ยวมาอยู่ใกล้ในเช้ามืดวันที่ 12 ก.พ. อีกครั้งหนึ่งคือกลางเดือนพฤษภาคมถึงสัปดาห์ที่ ของเดือนมิถุนายน แต่ไม่ดีเท่าครั้งแรกและอาจมีเมฆเป็นอุปสรรค

ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี ครั้ง ครั้งแรกคือต้นเดือนถึงกลางเดือนเมษายน น่าจะเป็นช่วงที่เห็นได้ง่ายช่วงหนึ่งเพราะมีดาวศุกร์อยู่ใกล้ ๆ ครั้งที่ คือกลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม เป็นช่วงที่ดาวพุธผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ 27 ก.ค. และยังจะเห็นดาวเคราะห์อีก ดวง ได้แก่ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ มาเกาะกลุ่มกันเหนือดาวพุธขึ้นไปประมาณ 20 องศา ครั้งสุดท้ายอยู่ในราวปลายเดือนพฤศจิกายนถึงสัปดาห์ที่ ของเดือนธันวาคม โดยมีดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ใกล้ดาวพุธในวันที่ ธ.ค.

ดาวศุกร์

ในบรรดาดาวเคราะห์ด้วยกัน ดาวศุกร์สว่างที่สุดและเห็นได้ง่ายบนท้องฟ้า เมื่อดาวศุกร์ปรากฏในเวลาหัวค่ำ เราเรียกมันว่า "ดาวประจำเมือง" แต่ถ้าปรากฏในเวลาเช้ามืด เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" วงโคจรของดาวศุกร์ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ทำให้ดาวศุกร์มีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47 องศา เราจึงไม่เคยเห็นดาวศุกร์บนท้องฟ้าเวลาเที่ยงคืน

ดาวศุกร์อยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยหายไปจากท้องฟ้าเมื่อเริ่มเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ราวกลางเดือนพฤศจิกายน 2552 ดาวศุกร์อยู่ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 12 มกราคม 2553 หลังจากนั้นดาวศุกร์จะเคลื่อนห่างออกจากดวงอาทิตย์มากขึ้น วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีขณะที่มีมุมห่างจากดวงอาทิตย์เพียง องศา ราวต้นเดือนหรือกลางเดือนมีนาคมน่าจะเริ่มเห็นดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองโดยอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาพลบค่ำ ขณะนั้นดาวศุกร์อยู่ในกลุ่มดาวปลา ย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวแกะในวันสุดท้ายของเดือน ช่วงนี้เป็นต้นไปถึงช่วงก่อนสงกรานต์เป็นช่วงเวลาที่ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวพุธ ปลายเดือนเมษายนดาวศุกร์เข้าสู่กลุ่มดาววัว ผ่านใกล้กระจุกดาวลูกไก่ในวันที่ 25 เมษายน ด้วยระยะห่างประมาณ 3-4 องศา

พลบค่ำวันที่ 16 พฤษภาคม ดวงจันทร์เสี้ยวจะบดบังดาวศุกร์เห็นได้ในประเทศไทย เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคนคู่ ปู และสิงโต อยู่ใกล้กระจุกดาวรังผึ้งและดาวหัวใจสิงห์ในวันที่ 20 มิ.ย. และ 10 ก.ค. ตามลำดับ กลางเดือนกรกฎาคมเป็นช่วงที่ดาวศุกร์อยู่สูงเหนือขอบฟ้ามากที่สุดแม้ว่าจะยังไม่ถึงช่วงที่มันทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนถัดไป เมื่อเข้าสู่เดือนสิงหาคมดาวศุกร์จะย้ายไปอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว เดือนนี้ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวเคราะห์ ดวง คือดาวอังคารกับดาวเสาร์ วันที่ 12-13 สิงหาคม เป็นวันที่น่าดูที่สุดเพราะมีจันทร์เสี้ยวมาร่วมวงด้วยขณะที่ดาวพุธอยู่ต่ำลง

วันที่ 11 กันยายน ดวงจันทร์มาอยู่ใกล้ดาวศุกร์อีกครั้งโดยมีดาวอังคารกับดาวรวงข้าวอยู่ไม่ห่างมากนัก ช่วงนี้จะสังเกตได้ว่าดาวศุกร์เคลื่อนลงต่ำและคล้อยไปทางทิศใต้มากขึ้น ต้นเดือนตุลาคมดาวศุกร์อยู่ในกลุ่มดาวคันชั่งและเริ่มเคลื่อนถอยหลัง กลางเดือนตุลาคมเป็นช่วงสุดท้ายที่เห็นดาวศุกร์ในเวลาหัวค่ำ หลังจากนั้นดาวศุกร์จะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ราวสัปดาห์ที่ ของเดือนพฤศจิกายนดาวศุกร์จึงจะกลับมาปรากฏอีกครั้งเป็นดาวประกายพรึกในเวลาเช้ามืด ดาวศุกร์จะออกจากกลุ่มดาวหญิงสาวแล้วเข้าสู่กลุ่มดาวคันชั่งในราวกลางเดือนธันวาคม และเป็นดาวประกายพรึกไปจนถึงกลางปี 2554

แผนภาพแสดงตำแหน่งดาวเคราะห์ตามมุมห่างจากดวงอาทิตย์ตลอดปี 2553 ช่วยให้เห็นภาพรวมคร่าว ๆ ของการปรากฏของดาวเคราะห์ในแต่ละวัน เส้นตรงกลางในแนวดิ่งคือตำแหน่งดวงอาทิตย์ แถบที่แผ่ออกไปสองข้างจากแนวกลางเป็นส่วนที่มีแสงอาทิตย์รบกวน แกนนอนบอกมุมห่างจากดวงอาทิตย์ แกนตั้งบอกวันในแต่ละเดือน แถบที่พาดในแนวเฉียงบอกขอบเขตของกลุ่มดาวจักรราศี เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันตก (ขวามือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาเช้ามืด เมื่อดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไปทางตะวันออก (ซ้ายมือ) แสดงว่ามองเห็นได้ดีในเวลาหัวค่ำ ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เมื่อทำมุม 180 องศา แสดงว่าเป็นช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงนั้นสว่างและใกล้โลกที่สุดในรอบปี
 


ดาวอังคาร

ต้นปีนี้ดาวอังคารจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุด แต่เป็นช่วงที่ดาวอังคารอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าค่าเฉลี่ย ทำให้มันมีขนาดไม่ใหญ่นักและสว่างน้อยกว่าคราวที่ใกล้โลก ครั้งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

ต้นเดือนมกราคมดาวอังคารถอยหลังออกจากกลุ่มดาวสิงโตเข้าสู่กลุ่มดาวปู คืนวันที่ 27/28 มกราคม เป็นคืนที่ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด สว่างด้วยโชติมาตร -1.3 ขนาดเชิงมุม 14.1 พิลิปดา อีก วันถัดมาดาวอังคารจึงจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หลังจากนั้นจะมองเห็นดาวอังคารในเวลาหัวค่ำไปเกือบตลอดทั้งปี ต้นเดือนกุมภาพันธ์ดาวอังคารผ่านเหนือกระจุกดาวรังผึ้ง ห่างราว 3-4 องศา เดือนมีนาคมดาวอังคารเริ่มเคลื่อนที่ไปข้างหน้า มันผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งอีกครั้งในวันที่ 17 เมษายน โดยใกล้กว่าครั้งแรก ห่างกันเพียง องศา ราวกลางเดือนพฤษภาคมดาวอังคารจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในต้นเดือนมิถุนายน และใกล้ดาวเสาร์กับดาวศุกร์ในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงที่มันอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว

ปลายเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายนดาวอังคารเคลื่อนผ่านกลุ่มดาวคันชั่ง แมงป่อง และคนแบกงู เป็นช่วงที่มันเคลื่อนต่ำลงเพราะใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น วันที่ 20 พฤศจิกายน ดาวพุธจะอยู่ใกล้ดาวอังคารและน่าจะเป็นช่วงสุดท้ายที่สามารถสังเกตดาวอังคารได้ หลังจากนั้นดาวอังคารจะถูกแสงอาทิตย์กลบนานกว่า เดือน เมื่อถึงเดือนพฤษภาคม 2554 มันจึงจะมาอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดและร่วมชุมนุมกับดาวเคราะห์อีก ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี

วันที่ดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในปี 2553
ดาวเคราะห์วันที่โชติมาตร (อันดับความสว่าง)
ดาวอังคาร30 มกราคม (3 น.)-1.3
ดาวเสาร์22 มีนาคม (8 น.)+0.5
ดาวเนปจูน20 สิงหาคม (17 น.)+7.8
ดาวพฤหัสบดี21 กันยายน (19 น.)-2.9
ดาวยูเรนัส22 กันยายน (0 น.)+5.7


ดาวพฤหัสบดี

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่สว่างเป็นอันดับ รองจากดาวศุกร์ มีขนาดใหญ่และมวลสูงที่สุด ดาวพฤหัสบดีมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวศูนย์สูตรยาวกว่าในแนวขั้ว สามารถสังเกตดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีได้อย่างน้อย ดวงได้ด้วยกล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์

เดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดาวพฤหัสบดีปรากฏทางทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ มันออกจากกลุ่มดาวแพะทะเลเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในวันที่ มกราคม หลังจากนั้นดาวพฤหัสบดีจะหายเข้าไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์ อยู่ร่วมทิศกันในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปลายเดือนมีนาคมดาวพฤหัสบดีเริ่มปรากฏอีกครั้งบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด เข้าสู่กลุ่มดาวปลาในต้นเดือนพฤษภาคม

คืนวันที่ 20/21 กันยายน ดาวพฤหัสบดีอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และใกล้โลกที่สุดในรอบปี สว่างด้วยโชติมาตร -2.9 โดยใกล้ที่สุดในเวลาประมาณตี ของเช้ามืดวันที่ 21 กันยายน ด้วยระยะห่าง 3.9539 หน่วยดาราศาสตร์ เนื่องจากขณะนี้ดาวพฤหัสบดีกำลังจะเคลื่อนไปยังจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (perihelion) ในเดือนมีนาคม 2554 ทำให้ปีนี้มันเข้าใกล้โลกที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2506 และจะใกล้กว่านี้อีกเล็กน้อยใน 12 ปีข้างหน้า หลังจากอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์แล้วเราจะเห็นดาวพฤหัสบดีบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนธันวาคมเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีถอยเข้าไปอยู่ในเขตของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำก่อนจะย้ายเข้าสู่กลุ่มดาวปลาอีกครั้ง

ในบรรดาดาวบริวารขนาดใหญ่ ดวง แกนิมีดสว่างที่สุด ตามมาด้วยไอโอ ยูโรปา และคัลลิสโต แกนิมีดมีโชติมาตรประมาณ +4.4 คัลลัสโตจางกว่าราว ๆ โชติมาตร

ดาวเสาร์

ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วจึงมีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้นอย่างเห็นได้ชัด ปลายปีที่แล้ววงแหวนดาวเสาร์หันขอบเข้าหาโลก ปีนี้วงแหวนจึงจะกว้างมากขึ้น แต่ไม่ช่วยให้ดาวเสาร์สว่างมากขึ้นเนื่องจากดาวเสาร์กำลังเคลื่อนห่างออกจากดวงอาทิตย์ เราจะไม่เห็นดาวเสาร์สว่างกว่าโชติมาตร 0.0 อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2541-2550 อีกจนกว่าถึง พ.ศ. 2571

ปีนี้ดาวเสาร์อยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาวตลอดทั้งปีโดยอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 มีนาคม ขณะนั้นมันสว่างและใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ปลายเดือนมีนาคมเริ่มเห็นดาวเสาร์ได้บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ มันอยู่บนท้องฟ้าเวลานี้ต่อไปอีกหลายเดือน กลางเดือนกันยายนดาวเสาร์จึงเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตเห็นได้ เมื่อถึงปลายเดือนตุลาคมดาวเสาร์จึงน่าจะเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด

ไททันเป็นดาวบริวารที่สว่างที่สุดของดาวเสาร์ โชติมาตรของไททันขณะดาวเสาร์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์คือ +8 ตามมาด้วยเรีย ทีทิส ไดโอนี เอนเซลาดัส และไอยาพิตัส ดวงนี้มีโชติมาตรอยู่ในช่วง +9 ถึง +12 โชติมาตรของไอยาพิตัสแปรผันระหว่าง +10 ถึง +12 เนื่องจากพื้นผิว ด้านสะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน มันจะสว่างกว่าเมื่ออยู่ทางตะวันตกของดาวเสาร์

ดาวยูเรนัส

ปีนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นปีที่ดีมากปีหนึ่งสำหรับการสังเกตดาวยูเรนัส เนื่องจากดาวพฤหัสบดีจะมาอยู่ใกล้ดาวยูเรนัส ทำให้สามารถค้นหาดาวยูเรนัสด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ได้ง่าย

ดาวยูเรนัสออกจากกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำแล้วเข้าสู่กลุ่มดาวปลาในกลางเดือนมกราคม และจะอยู่ในกลุ่มดาวนี้ต่อไปอีกนานหลายปี กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ช่วยให้สังเกตดาวยูเรนัสได้ในช่วงเดือนมกราคม หลังจากนั้นดาวยูเรนัสจะอยู่ต่ำและใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น เริ่มสังเกตได้อีกครั้งในราวต้นเดือนพฤษภาคม 2553 ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ปีนี้ดาวยูเรนัสอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 22 กันยายน 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวพฤหัสบดีมาอยู่ใกล้ 

ดาวพฤหัสบดีผ่านใกล้ดาวยูเรนัสครั้งแรกในต้นเดือนมิถุนายนโดยใกล้กันที่สุดในช่วงก่อนเช้ามืดวันที่ มิถุนายน ด้วยระยะเชิงมุม 26 ลิปดา ครั้งที่ ในเดือนกันยายน ใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ 18 กันยายน ห่าง 49 ลิปดา ครั้งสุดท้ายเกิดในต้นเดือนมกราคม 2554 ใกล้กันที่สุดในคืนวันที่ มกราคม ห่าง 31 ลิปดา ครั้งถัดไปเกิดในปี 2567 แต่อยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า เราจะมีโอกาสเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ดาวยูเรนัสได้ชัด ๆ อีกครั้งใน พ.ศ. 2580-2581 (คืนวันที่ 12 เมษายน 2581 ประเทศไทยเห็นดวงจันทร์บังดาวยูเรนัสก่อนจะบังดาวพฤหัสบดีในอีกไม่ถึง ชั่วโมงถัดมา)

ดาวเนปจูน

ดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ไกลดวงอาทิตย์ที่สุดดวงนี้กำลังปรากฏอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเล มันเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำในปลายเดือนมีนาคม แล้วถอยกลับไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลอีกครั้งในกลางเดือนสิงหาคม กล้องสองตาและกล้องโทรทรรศน์ช่วยให้สังเกตดาวเนปจูนได้ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2553 ถึงต้นเดือนมกราคม 2554 กลางเดือนกรกฎาคมดาวเนปจูนจะเคลื่อนมาอยู่ตรงตำแหน่งใกล้เคียงกับจุดที่มันถูกค้นพบเมื่อ 164 ปีก่อน

อูแบง เลอเวรีเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส และ จอห์น เคาช์ แอดัมส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ พยากรณ์ตำแหน่งของดาวเนปจูนโดยพิจารณาจากการเคลื่อนที่ของดาวยูเรนัสซึ่งผิดไปจากวงโคจรที่ควรจะเป็น ซึ่งเกิดจากแรงโน้มถ่วงรบกวนของดาวเคราะห์ดวงที่ ผลการพยากรณ์ของเลอเวรีเยทำให้ โยฮันน์ กัลเลอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน กับผู้ช่วยของเขา ส่องกล้องพบดาวเนปจูนเมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1846 ใกล้กับจุดที่พยากรณ์ไว้ พ.ศ. 2553 จึงเป็นปีที่ดาวเนปจูนโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มันถูกค้นพบอย่างเป็นทางการ (มีหลักฐานจากบันทึกของกาลิเลโอที่บ่งบอกว่าเขาน่าจะเคยเห็นดาวเนปจูนเมื่อคราวที่มันปรากฏอยู่ใกล้ดาวพฤหัสบดีเมื่อ ค.ศ. 1612-1613)

ดูเพิ่ม

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก 2553
ดาวอังคารใกล้โลก 2553
อุปราคาในปี 2553
ฝนดาวตกในปี 2553
เวลาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ขึ้น-ตก
เวลาเกิดแสงสนธยาและเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น-ตก
สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ หมวดระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในปี 2544
ดาวเคราะห์ในปี 2545
ดาวเคราะห์ในปี 2546
ดาวเคราะห์ในปี 2547
ดาวเคราะห์ในปี 2548
ดาวเคราะห์ในปี 2549
ดาวเคราะห์ในปี 2550
ดาวเคราะห์ในปี 2551
ดาวเคราะห์ในปี 2552