(1 มี.ค. 42) ดาวพลูโตได้กลับกลายมาเป็นดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากที่เข้ามาอยู่อันดับ 8 สลับกับดาวเนปจูนเป็นเวลานานถึง 20 ปี.
...
(1 มี.ค. 42) วันที่ 11 ธันวาคม 2541 คอลลีน วิลสัน-ฮอดจ์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลของนาซา ได้ค้นพบสิ่งแปลกประหลาดสิ่งหนึ่งบนท้องฟ้า เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่งกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดยักษ์อยู่
...
(1 ก.พ. 42) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ยานได้โคจรเฉียดเข้าใกล้โลก ยานโนะโซะมิ ได้จุดจรวดขับดันของยานเป็นเวลา 7 นาทีเพื่อเร่งความเร็วและหันทิศทางสู่ดาวอังคาร แต่การจุดจรวดขับดันในครั้งนี้กินเวลายาวนานกว่าที่คาดหมายไว้ ทำให้พลังงาน
...
(1 ก.พ. 42) eBay บริษัทที่ทำธุรกิจประมูลทางอินเทอร์เนต ได้มีแผนการที่จะเปิดประมูลรายการของชิ้นหนึ่ง ของชิ้นนี้คือวงแหวนเล็ก ๆ วงหนึ่งซึ่งเป็นชิ้นส่วนของยานแชลเลนเจอร์ที่เกิดอุบัติเหตุระเบิดไปเมื่อเดือนมกราคม 2529 แต่ต่อมาบริษัทต้องยกเลิกการประมูลนี้ไปเมื่อวันที่ 12 มกราคม หลังจากทราบว่าของรายการนี้เป็นของร้อน เพราะตามกฎหมายแล้ว ชิ้นส่วนของยานแชลเลนเจอร์ทุกชิ้นถือเป็นทรัพย์สินของรัฐ ใครมีไว้ครอบครองอาจจะต้องถูกปรับถึง 10,000 เหรียญ
...
(1 ก.พ. 42) เจ้าหน้าที่ประจำโครงการแคสซีนีได้รายงานเมื่อวันที่ 13 มกราคมว่า ได้เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับยานแคสซีนี เมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยยานได้ปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะเซฟโหมด เมื่อเวลา 6 นาฬิกาของวันที่ 12 ตามเวลาในประเทศไทย การทำงานในเซฟโหมดนี้ จะคล้ายกับการจำศีล โดยระบบต่าง ๆ ของยานเกือบทั้งหมดจะหยุดทำงาน ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อยานได้ตรวจพบบางสิ่งบางอย่างที่ผิดปกติ
...
(1 ก.พ. 42) ใครเล่าจะคาดคิดว่า วันดีคืนดี ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นมารดาผู้ให้พลังงานทั้งปวงแก่มนุษย์โลกและสรรพสัตว์ จะเกิดกราดเกรี้ยวสาดพลังงานเข้มข้นออกมาอย่างไม่ทันได้รู้เนื้อรู้ตัวเผาดาวเทียมนอกโลกทุกดวงให้ไหม้หมด ทำลายชั้นโอโซนของโลกไม่มีเหลือปล่อยให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ทะลุทะลวงบรรยากาศลงมาถึงพื้นล่างและทำลายห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตบนโลกจดหมดสิ้น
...
(1 ก.พ. 42) ข่าวการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่นอกระบบสุริยะเริ่มจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2542 ที่ผ่านมานี้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกหลายดวง แต่ข่าวการค้นพบในช่วงนี้กลับพบว่าไม่ธรรมดา เพราะไม่ได้เป็นการค้นพบร่องรอยของดาวเคราะห์โดยการวิเคราะห์สเปกตรัมของดาวแม่ดังเช่นหลาย ๆ ดวงที่ถูกค้นพบมาก่อนหน้านี้
...
(1 ม.ค. 42) เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ยานอวกาศเนียร์ ซึ่งพลาดโอกาสเข้าบรรจบโคจรรอบดาวเคราะห์น้อย อีรอส ได้บินสวนกันกับ อีรอส เวลา 13:43 น. ตามเวลาในภาคตะวันออกของสหรัฐ และได้ถ่ายภาพของอีรอสในระยะใกล้ไว้เป็นจำนวนมาก ภาพชุดแรกที่ส่งกลับมายังโลกมีจำนวน 9 ภาพ เป็นภาพที่ถ่ายจากระยะ 11,000 ถึง 5,300 กม ระยะเวลาที่ถ่ายภาพทั้งเก้านี้ ทิ้งช่วงห่างกันสองชั่วโมง ซึ่งกินเวลาเท่ากับอีรอสหมุนรอบตัวไปกว่าครึ่งรอบ
...
(1 ม.ค. 42) เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ตัวควบคุมการบินของยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้ออกคำสั่งให้ยานเปลี่ยนวงโคจรรอบดวงจันทร์ให้มาโคจรในระดับต่ำ เพื่อที่จะเริ่มสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์อย่างละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก
...
(1 ม.ค. 42) นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้รายงานเมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า การชนกันของดาราจักรกับเควซาร์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แนวคิดนี้อาจสามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงมีการพบเควซาร์ในบริเวณใกล้เคียงกับดาราจักรทางช้างเผือก นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้สำรวจโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ VLA (Very Large Array) ที่อยู่ในนิวเม็กซิโกสำรวจและทำแผนที่แสดงการกระจายตัวของก๊าซไฮโดรเจนรอบ ๆ ดาราจักร 3 ดาราจักรในละแวก 670 ถ ึง 830 ล้านปีแสงรอบ ๆ โลก
...
(1 ม.ค. 42) จอห์น เกลน กลับสู่ห้วงอวกาศอีกครั้ง, การระเบิดครั้งใหญ่ของรังสีแกมมา, ดาวเคราะห์น้อย 1997 XF11 จะชนโลก, ภาพถ่ายดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ, ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์พบน้ำแข็งบนดวงจันทร์, ฝนดาวตก
...
(1 ม.ค. 42) ยานอวกาศ AXAF (Advanced X-Ray Astrophysics Facility) ของนาซา ได้ถูกตั้งชื่อใหม่แล้วเป็น สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-Ray Observatory) เพื่อเป็นเ
...
(1 ธ.ค. 41) ตามกำหนดการที่จะทำการยิงจรวดเร่งเครื่องยานเนียร์เป็นเวลานานถึง 20 นาทีในวันที่ 20 ธันวาคม ที่ผ่านมานั้น ได้ปรากฏว่า หลังจากการจุดจรวดและเชื้อเพลิงได้เผาไหม้ไปเพียงครู่เดียว คอมพิวเตอร์บนยานก็ดับเครื่องลงเอง และขาดการติดต่อกับภาคพื้นดินไป
...
(1 ธ.ค. 41) เมื่อวันศุกร์ที่ 13 เดือนพฤศจิกายน 2541 ที่ผ่านมา ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติทีมหนึ่งได้แถลงข่าวการค้นพบพัลซาร์ดวงใหม่ นับเป็นพัลซาร์ดวงที่ 1000 ที่มนุษย์รู้จัก
...
(1 ธ.ค. 41) ภารกิจของดาวเทียม โรแซต (ROSAT) ดาวเทียมดาราศาสตร์รังสีเอกซ์ของเยอรมันได้จบลงแล้วเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลังจากที่เกิดความเสียหายกับกล้องรังสีเอกซ์ของดาวเทียม.
...
(1 ธ.ค. 41) ยานอวกาศ เนียร์ (NEAR) ซึ่งย่อมาจากชื่อเต็มว่า Near Earth Asteroid Rendezvous หรือ "ยานบรรจบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก" ใกล้จะเดินทางถึงจุดหมาย คือ ดาวเคราะห์น้อย อีรอส (Eros) แล้ว
...
(1 พ.ย. 41) ตามรายงานซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 นักธรณีวิทยา แฟรงก์ ไคต์ ได้ค้นพบก้อนหินก้อนหนึ่งฝังตัวอยู่ภายในชั้นดินภายใต้มหาสมุทรแปซิฟิก เชื่อว่าก้อนหินก้อนนี้เป็นฟอสซิลอุกกาบาตที่มีอายุถึง 65 ล้านปี
...
(1 พ.ย. 41) ยูโรปาอาจจะไม่ใช่ดวงจันทร์ดวงเดียวของดาวพฤหัสบดีที่มีมหาสมุทรใต้พิภพเสียแล้ว เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่าคัลลิสโตก็อาจมีสภาพเช่นเดียวกัน
...
(1 พ.ย. 41) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรกลุ่มใหม่ เป็นดาราจักรที่อยู่ห่างออกไปมากที่สุดเท่าที่มนุษย์รู้จัก โดยใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภาพที่ถ่ายได้นี้เป็นภาพที่ประมวลขึ้นโดยกล้อง NICMOS (Near Infrared Camera and Multi-Object Spectrograph) รวมกับ
...
(1 พ.ย. 41) อุปกรณ์สำรวจของยานอวกาศโซโฮ (SOHO—Solar and Heliospheric Observatory) เกือบทุกชิ้นได้กลับมาทำงานได้เหมือนเดิมแล้ว หลังจากที่ยานเกิดขัดข้องขาดการติดต่อเป็นเวลาเกือบ 4 เดือน องค์การนาซา และ European Space Agency (ESA) ได้แถลงถึงข่าวดีนี้เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พร้อมกับ
...