สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 มิ.ย. 42) ทิม คราล นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยอาร์คันซอได้ประสบความสำเร็จในการทดลองเพาะเลี้ยงไมโครบ (microbe) หรือสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวชนิดหนึ่งในสภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับบนดาวอังคาร การทดลองนี้เป็นการศึกษาการเติบโตของ ...

พายุหมุนบนดาวอังคาร

(1 มิ.ย. 42) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบพายุหมุนขนาดยักษ์เกิดขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ ที่บริเวณใกล้กับขั้วเหนือของดาวอังคาร ...

ภารกิจสุดท้ายของลูนาร์พรอสเปกเตอร์

(1 มิ.ย. 42) ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์จะถึงกำหนดปลดระวางในปลายเดือนกรกฎาคม 2542 นี้ หลังจากที่ปฏิบัติภารกิจสำรวจดวงจันทร์มาเป็นเวลานาน ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์จะพุ่งเข้าชนดวงจันทร์บริเวณขั้วของดวงจันทร์ อันเป็นการจบปฏิบัติการอย่างครึกโครมของ ...

ฮับเบิลวัดอัตราการขยายตัวของเอกภพ

(1 มิ.ย. 42) นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ได้ใช้เวลานานถึง 8 ปีกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในการศึกษาหาค่าคงที่ฮับเบิล ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกอายุและอนาคตของเอกภพ ...

ดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง

(1 พ.ค. 42) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่แล้ว เป็นดวงจันทร์ของดาวเคราะห์น้อยดวงที่สองที่มนุษย์เคยรู้จัก รายงานการค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในจดหมายข่าวของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union Circular) ฉบับวันที่ 20 มีนาคม นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งซึ่งนำโดย วิลเลียม เมอร์ไลน์ จาก Southwest Research Institute ได้ค้นพบดวงจันทร์ที่เป็นบริวารของดาวเคราะห์น้อย 45 ยูจีเนีย (46 Eugenia) เมื่อ ...

หลุมดำสีชมพู

(1 พ.ค. 42) พอล ฟรานซิส นักดาราศาสตร์จาก Astralian National University ได้ค้นพบหลุมดำหลายหลุมเมื่อไม่นานมานี้ และพบว่าในจำนวนนี้ มีหลายหลุมที่พบว่าปล่อยคลื่นที่อยู่ในย่านแสงที่ตามองเห็นและมีสีชมพู พอลกล่าว ...

ระบบสุริยะใหม่ในกลุ่มดาวแอนดรอเมดา

(1 พ.ค. 42) เมื่อวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ได้รายงานว่า ได้ค้นพบระบบสุริยะใหม่ที่มีดาวเคราะห์หลายดวงเป็นครั้งแรก ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบใหม่นี้ เป็นบริวารของดาว อิปไซลอน แอนดรอเมดา (Upsilon Andromedae) อยู่ห่างจากโลก 44 ปีแสง ระบบสุริยะของดาว ...

แถบดาวเคราะห์น้อยใหม่

(1 พ.ค. 42) N. Wyn Evans และ Serge Tabachnik นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด ได้ค้นพบแถบดาวเคราะห์น้อยใหม่สองแถบ การค้นพบครั้งนี้เป็นการค้นพบในทางทฤษฎี ซึ่งเป็นผลจากการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ แถบดาวเคราะห์น้อยแถบแรกอยู่ภายในวงโคจรของดาวพุธ และอีกแถบหนึ่ง ...

เพลตเทกโตนิกบนดาวอังคาร

(1 พ.ค. 42) เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2542 ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้พบหลักฐานใหม่ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของเปลือกดาวบนดาวอังคาร แสดงถึงลักษณะของดาวอังคารในยุคอดีตที่คล้ายคลึงกับโลกในยุคปัจจุบัน ...

น้ำบนโลกมาจากดาวหางจริงหรือ?

(1 เม.ย. 42) นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า น้ำที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลก อาจมาจากดาวหางจำนวนมากที่พุ่งเข้ามาชนโลกเมื่อหลายพันล้านปีก่อน แต่นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งของคาลเทค ได้ศึกษาดาวหางเฮล-บอปป์และได้พบว่า อัตราส่วนระหว่างปริมาณของ ...

สายอากาศกำลังสูงของมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์กางออกแล้ว

(1 เม.ย. 42) สายอากาศกำลังสูงของมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้ถูกกางออกจากตัวยานแล้ว ทำให้ยานสามารถทำงานและส่งข้อมูลกลับมายังโลกได้ด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ...

ลูนาร์พรอสเปกเตอร์ค้นพบหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์

(1 เม.ย. 42) เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2542 ในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ในฮูสตัน นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้กล่าวว่า เครื่องวัดความโน้มถ่วงของ ...

โลกอาจถูกดาวเคราะห์น้อยชนในอีก 40 ปีข้างหน้า

(1 เม.ย. 42) โอกาสที่โลกจะถูกดาวเคราะห์น้อยชนภายใน 40 ปีข้างหน้า คงต้องสูงขึ้นอีกเล็กน้อย เมื่อนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ ...

สุสานดาวในเมฆแมเจลแลน

(1 เม.ย. 42) เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา โครงการ Hubble Heritage ได้เปิดเผยภาพ ๆ หนึ่ง ซึ่งถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นภาพบริเวณใจกลางของเนบิวลาบึ้ง (Tarantula Nebula) ภาพนี้นับเป็นผลงานชิ้นเอกอีกชิ้นหนึ่งของโครงการ เนบิวลาบึ้ง ...

กาลิเลโอพบบรรยากาศบนคัลลิสโต

(1 มี.ค. 42) วารสาร Science ฉบับวันที่ 5 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้รายงานถึงการค้นพบบรรยากาศคาร์บอนไดออกไซด์บนคัลลิสโตของดาวพฤหัสบดี บรรยากาศอันบางเบาของดวงจันทร์ดวงนี้ ถูกค้นพบในขณะที่ยานกาลิเลโอกำลังโคจรรอบดวงจันทร์คัลลิสโตเป็นรอบที่ 10 การค้นพบในครั้งนี้ทำให้เราได้ทราบว่าดวงจันทร์ของกาลิเลโอทั้งสี่ดวงของดาวพฤหัสบดี ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ล้วนแต่มีบรรยากาศห่อหุ้มทุกดวง ...

โรงสร้างดาวเคราะห์ในกลุ่มดาววัว

(1 มี.ค. 42) กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้สามารถถ่ายภาพของจานฝุ่นล้อมรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นภาพของกระบวนการสร้างดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ ...

จุดจบของกระจุกดาวทรงกลม

(1 มี.ค. 42) นักดาราศาสตร์ได้สำรวจกระจุกดาว NGC 6712 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ UT1 และได้ค้นพบหลักฐานบางอย่างที่อาจจะบอกถึงวาระสุดท้ายของกระจุกดาวทรงกลม ...

พลูโตกลับมาครองตำแหน่งแชมป์

(1 มี.ค. 42) ดาวพลูโตได้กลับกลายมาเป็นดาวเคราะห์อันดับที่ 9 ในระบบสุริยะอีกครั้งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากที่เข้ามาอยู่อันดับ 8 สลับกับดาวเนปจูนเป็นเวลานานถึง 20 ปี. ...

พัลซาร์ใหม่ในกลุ่มดาวหงส์

(1 มี.ค. 42) วันที่ 11 ธันวาคม 2541 คอลลีน วิลสัน-ฮอดจ์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลของนาซา ได้ค้นพบสิ่งแปลกประหลาดสิ่งหนึ่งบนท้องฟ้า เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่งกำลังโคจรรอบดาวฤกษ์ขนาดยักษ์อยู่ ...

โนะโซะมิมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร

(1 ก.พ. 42) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ในขณะที่ยานได้โคจรเฉียดเข้าใกล้โลก ยานโนะโซะมิ ได้จุดจรวดขับดันของยานเป็นเวลา 7 นาทีเพื่อเร่งความเร็วและหันทิศทางสู่ดาวอังคาร แต่การจุดจรวดขับดันในครั้งนี้กินเวลายาวนานกว่าที่คาดหมายไว้ ทำให้พลังงาน ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น