ดาวเคราะห์ในปี 2558
ดาวเคราะห์สว่างที่เห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่าจากโลกมี 5 ดวง ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ อีก 2 ดวง คือ ดาวยูเรนัสและเนปจูน ต้องอาศัยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ นอกจากดาวเคราะห์แล้ว ยังสามารถส่องเห็นดาวบริวารบางดวงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริวารของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์
ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุดด้วยมุมห่างที่จำกัด จึงมีโอกาสสังเกตดาวพุธได้เฉพาะในเวลาพลบค่ำหรือรุ่งสาง ปีนี้มีช่วงที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาเช้ามืดอยู่ 3 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม ช่วงที่ 2 คือกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ช่วงที่ 3 คือกลางเดือนตุลาคม โดยมีดาวอังคาร ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เกาะกลุ่มกันอยู่สูงเหนือดาวพุธ
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี4 ช่วง ช่วงแรกเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนถึงปลายเดือนมกราคม โดยมีดาวศุกร์อยู่ใกล้ สามารถสังเกตเห็นเป็นดาวสว่างอยู่คู่กัน ช่วงที่ 2 คือปลายเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 22-23 เมษายน ช่วงที่ 3 คือต้นเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนกันยายน โดยผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 7 สิงหาคม ช่วงสุดท้ายคือกลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนมกราคม 2559
ตลอดครึ่งแรกของปี2558 ดาวศุกร์เป็นดาวประจำเมืองอยู่บนท้องฟ้าด้านทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ วันที่ 5-16 มกราคม ดาวพุธผ่านมาใกล้ดาวศุกร์ภายในระยะ 2° เข้าใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 11 มกราคม ที่ระยะ 0.6° คืนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวเนปจูนที่ระยะ 0.8° คืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ดาวศุกร์อยู่ใกล้ดาวอังคารที่ระยะ 0.4°
วันที่4 มีนาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวยูเรนัสที่ระยะ 0.3° วันที่ 11 เมษายน มองเห็นดาวศุกร์อยู่ทางซ้ายมือของกระจุกดาวลูกไก่ 3° วันที่ 7 มิถุนายน ดาวศุกร์อยู่ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 45° จากนั้นวันที่ 13 มิถุนายน ดาวศุกร์ผ่านทางขวามือของกระจุกดาวรังผึ้ง ห่าง 0.8°
ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคมดาวศุกร์กับดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงคู่กัน ใกล้กันที่สุดในค่ำวันที่ 1 กรกฎาคม ห่างกัน 0.4° กลางเดือนกรกฎาคม ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะ 2.4° ต้นเดือนสิงหาคม ดาวศุกร์เคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนสังเกตได้ยาก
ปลายเดือนสิงหาคมดาวศุกร์เริ่มเป็นดาวประกายพรึกอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ผ่านทางทิศใต้ (ขวามือ) ของดาวหัวใจสิงห์ในต้นเดือนตุลาคม ปลายเดือนนี้ถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร อยู่ใกล้กัน ดาวศุกร์ผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีในวันที่ 26 ตุลาคม ที่ระยะ 1.0° เป็นวันที่ดาวศุกร์ห่างดวงอาทิตย์ที่สุดด้วยมุม 46° จากนั้นดาวศุกร์จะผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่ระยะ 0.7°
ดาวศุกร์ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี2559 โดยจะผ่านใกล้ดาวเสาร์ในเช้ามืดวันที่ 9 มกราคม 2559 ห่างกันเพียง 0.3°
2558 ดาวอังคารไม่ผ่านจุดตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จึงไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับการสังเกตดาวอังคาร ต้นปีดาวอังคารอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ เคลื่อนผ่านกลุ่มดาวแพะทะเล คนแบกหม้อน้ำ ปลา และแกะ โดยผ่านใกล้ดาวพุธในวันที่ 22-23 เมษายน เดือนพฤษภาคมดาวอังคารอยู่ต่ำจนสังเกตได้ยาก ดาวอังคารจะอยู่ในทิศทางเดียวกับดวงอาทิตย์ในกลางเดือนมิถุนายน
เดือนสิงหาคมดาวอังคารกลับมาปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด โดยออกจากกลุ่มดาวคนคู่ เข้าสู่กลุ่มดาวปู ผ่านกระจุกดาวรังผึ้งในวันที่ 20-21 สิงหาคม ต้นดือนกันยายนเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต โดยมีดาวศุกร์ปรากฏอยู่ทางขวามือของดาวอังคาร เช้ามืดวันที่ 25 กันยายน ดาวอังคารผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ จากนั้นดาวอังคารจะเคลื่อนไปอยู่เคียงดาวพฤหัสบดีในวันที่ 17-19 ตุลาคม โดยมีดาวศุกร์อยู่สูงเหนือดาวทั้งสองไม่มากนัก สองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคมจะเห็นดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวศุกร์ เกาะกลุ่มเรียงกันเป็นแนวอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด
ต้นเดือนพฤศจิกายนดาวอังคารผ่านใกล้ดาวศุกร์ขณะเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาว ปลายเดือนธันวาคม ดาวอังคารอยู่ทางซ้ายมือของดาวรวงข้าว ยังคงอยู่ในกลุ่มดาวนี้ไปถึงกลางเดือนมกราคม 2559
ต้นปี2558 ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต จากนั้นเคลื่อนถอยหลังเข้าสู่กลุ่มดาวปู วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 ดาวพฤหัสบดีผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สว่างที่สุดในรอบปี มีขนาดปรากฏตามแนวศูนย์สูตร 45.4 พิลิปดา สว่างที่โชติมาตร –2.6 หลังจากนั้นจะเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของทุกวันไปจนถึงเดือนสิงหาคม
ต้นเดือนพฤษภาคมดาวพฤหัสบดีทำมุม 90°กับดวงอาทิตย์ จึงเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่เหนือศีรษะขณะดวงอาทิตย์ตก และตกลับขอบฟ้าราวเที่ยงคืน ต้นเดือนมิถุนายน ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนเข้าสู่กลุ่มดาวสิงโต ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม ดาวพฤหัสบดีอยู่เคียงคู่ดาวศุกร์
ต้นเดือนสิงหาคมดาวพฤหัสบดีเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้นจนปรากฏอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ ขณะนั้นดาวพุธจะผ่านใกล้ดาวพฤหัสบดีและมีดาวหัวใจสิงห์อยู่ใกล้ ๆ ดาวพฤหัสบดีหายไปในแสงจ้าของดวงอาทิตย์โดยอยู่ในทิศทางเดียวกันในปลายเดือนสิงหาคม
กลางเดือนกันยายนหากท้องฟ้าเปิดอาจเริ่มเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืด ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนห่างดวงอาทิตย์มากขึ้น ผ่านใกล้ดาวอังคารในวันที่ 18 ตุลาคม และใกล้ดาวศุกร์ในวันที่ 26 ตุลาคม ดาวพฤหัสบดีอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อไปจนถึงต้นปีหน้า โดยทำมุมห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นเรื่อย ๆ และเข้าใกล้กลุ่มดาวหญิงสาวมากขึ้น กลางเดือนธันวาคม ดาวพฤหัสบดีทำมุมฉากกับดวงอาทิตย์ ขึ้นเหนือขอบฟ้าในเวลาประมาณเที่ยงคืน แล้วอยู่เหนือศีรษะในเวลาเช้ามืด
ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า60 ดวง ดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง สามารถเห็นได้ด้วยกล้องสองตา ได้แก่ ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต ช่วงที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ แกนีมีดจะสว่างที่สุดด้วยโชติมาตรประมาณ +4.4 คัลลัสโตจางที่สุด โดยจางกว่าแกนีมีดราว 1 อันดับ
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ2 ในระบบสุริยะ มีรูปร่างเป็นทรงกลมแป้น เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขั้วสั้นกว่าในแนวศูนย์สูตรราวร้อยละ 10 บรรยากาศของดาวเสาร์ถูกแบ่งเป็นแถบและเขตต่าง ๆ แบบเดียวกับดาวพฤหัสบดี บางครั้งเกิดแถบเมฆสีขาวขึ้นในบรรยากาศ เรียกว่าจุดขาวใหญ่ (Great White Spot) ครั้งล่าสุดพบเมื่อปลายปี 2553
ดาวเสาร์มีวงแหวนสว่างล้อมรอบอยู่ในแนวระนาบศูนย์สูตรกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กสามารถแบ่งวงแหวนดาวเสาร์ออกได้เป็น
ดาวพุธ
ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์และเคลื่อนที่เร็วที่สุด
ช่วงเวลาที่สังเกตดาวพุธได้ดีในเวลาหัวค่ำมี
ร่วมทิศแนววงนอก | - | 10 | 24 | 17 |
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกมากที่สุด | 15 | 7 | 4 | 29 |
ร่วมทิศแนววงใน | 30 | 30 | 30 | - |
ห่างดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันตกมากที่สุด | 24 | 25 | 16 |
ดาวศุกร์
ตลอดครึ่งแรกของปี
วันที่
ปลายเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม
ปลายเดือนสิงหาคม
ดาวศุกร์ปรากฏบนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี
ดาวอังคาร
ปีเดือนสิงหาคม
ต้นเดือนพฤศจิกายน
ดาวพฤหัสบดี
ต้นปี
ต้นเดือนพฤษภาคม
ต้นเดือนสิงหาคม
กลางเดือนกันยายน
ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้วมากกว่า
ดาวเคราะห์ | วันที่ | โชติมาตร |
---|---|---|
ดาวพฤหัสบดี | 7 | -2.6 |
ดาวเสาร์ | 23 | +0.0 |
ดาวเนปจูน | 1 | +7.8 |
ดาวยูเรนัส | 12 | +5.7 |
ดาวอังคาร | - | - |
ดาวเสาร์
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ
ดาวเสาร์มีวงแหวนสว่างล้อมรอบอยู่ในแนวระนาบศูนย์สูตร