สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(14 ธ.ค. 65) มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เกิดขึ้นแทบทุกวัน เมื่อเพียงไม่กี่เดือนก่อน ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า จำนวนดาวเคราะห์ต่างระบบที่ค้นพบแล้วมีจำนวนเกิน 5,000 ดวงแล้ว และมีอีกกว่า 8,000 ดวงที่รอการยืนยัน แต่งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ อาจทำให้ยอดจำนวนดาวเคราะห์ที่พบแล้วต้องลดลงไปสามหรือสี่ดวง ...

นาซาส่งยานไปส่องไฟหาน้ำบนดวงจันทร์

(12 ธ.ค. 65) ลูนาร์แฟลชไลท์เป็นโครงการขององค์การนาซา ภารกิจของยานลำนี้คือ สำรวจหาแหล่งน้ำบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยจะใช้วิธียิงเลเซอร์อินฟราเรดใกล้ใส่พื้นผิวดวงจันทร์ แล้วใช้สเปกโทรมิเตอร์บนยานตรวจวัดสเปกตรัมของรังสีที่สะท้อนกลับมา ...

เรื่องรอยทางบนดวงจันทร์โฟบอสยังไม่จบ

(24 พ.ย. 65) ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารสองดวง ชื่อ โฟบอส และ ดีมอส ดวงจันทร์ทั้งสองมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับดาวอังคารเอง แม้จะมีขนาดเล็ก แต่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจบริวารของดาวอังคารมาก โดยเฉพาะโฟบอส ปัจจุบันโฟบอสโคจรรอบดาวอังคารด้วยคาบ 7 ชั่วโมง 39 นาที แต่วงโคจรของโฟบอสไม่เสถียร การคำนวณพบว่าดวงจันทร์ดวงนี้กำลังตีวง ...

ดาร์ตชนดาวเคราะห์น้อย ภารกิจแรกของแผนซ้อมกู้โลก

(28 ก.ย. 65) ดาร์ต (DART -- Double Asteroid Redirect Test) พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายแล้ว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 06:14 น. ตามเวลาประเทศไทย ในภารกิจชื่อเดียวกับยานนี้ ยานดาร์ตจะพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายด้วยความเร็ว 22,530 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยให้ยานทำหน้าที่เป็นตุ้มน้ำหนักเพื่อชนให้ดาวเคราะห์น้อยมีวงโคจรเปลี่ยนแปลงไป บนยานยังมีกล้อง ...

ฮับเบิลพบหลุมดำเดี่ยว ห่างออกไปแค่ 5,000 ปีแสง

(19 ส.ค. 65) ย้อนหลังไปเมื่อปี 2554 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบดาวดวงหนึ่งมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แล้วก็หรี่แสงกลับลงไปอยู่ที่ความสว่างเดิม กระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน ...

พบสัญญาณวิทยุลึกลับจากอวกาศเกิดซ้ำเป็นห้วง

(5 ส.ค. 65) คลื่นวิทยุวาบสั้น (fast radio burst) เป็นเป็นเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ชวนพิศวงที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นคลื่นวิทยุความเข้มสูงที่แผ่ออกมาจากที่ใดที่หนึ่งในอวกาศและปรากฏขึ้นเป็นเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ส่วนใหญ่กินเวลาเพียงระดับมิลลิวินาทีเท่านั้น แต่ภายในระยะเวลาเท่านั้นกลับมีพลังงานมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 500 ล้านเท่า ...

29 มิถุนายน วันที่สั้นที่สุด

(4 ส.ค. 65) โลกหมุนรอบตัวเองในอัตราไม่คงที่ อัตราการหมุนขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากหลายปัจจัย ดังนั้นวงการวิทยาศาสตร์จึงเลิกใช้อัตราหมุนของโลกเป็นตัวกำหนดเวลามาตรฐาน โดยหันไปใช้นาฬิกาอะตอมที่เที่ยงตรงมากกว่าแทนตั้งแต่ ...

โดนเข้าแล้ว เจมส์เวบบ์

(20 ก.ค. 65) จุลอุกกาบาตคือวัตถุแข็งขนาดเล็กระดับฝุ่นที่อยู่ในอวกาศ แม้มีขนาดเล็ก แต่จุลอุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเหมือนอุกกาบาต เมื่อชนเข้ากับสิ่งใดก็สร้างความเสียหายได้ วัตถุมนุษย์สร้างไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม ยานอวกาศ สถานีอวกาศ ...

ภาพแรก ภาพจริง จากเจมส์เวบบ์

(12 ก.ค. 65) ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องเนียร์แคม ซึ่งเป็นภาพถ่ายอินฟราเรดใกล้ของเจมส์เวบบ์ ถ่ายโดยผนวกภาพถ่ายหลายใบที่ถ่ายในย่านความยาวคลื่นต่างกัน รวมระยะเวลารับแสง 12.5 ชั่วโมง ภาพที่ได้มีความละเอียด และคมชัดมากกว่าภาพอวกาศ ...

เจมส์เวบบ์เผยภาพเรียกน้ำย่อย ก่อนปล่อยของจริง

(8 ก.ค. 65) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา องค์การนาซาได้เปิดเผยภาพที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์เป็นครั้งแรก ภาพนี้เกิดจากการผนวกภาพถ่ายจำนวน 72 ภาพที่ถ่ายในช่วงเวลา 8 วัน รวมเวลารับแสง 32 ชั่วโมง เผยให้เห็นดารา ...

ดาวเทียมสำรวจลมฟ้าอากาศช่วยสำรวจดาวเบเทลจุส

(7 ก.ค. 65) เมื่อปลายปี 2562 ดาวเบเทลจุส ดาวเด่นในกลุ่มดาวนายพราน และเป็นหนึ่งในดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า ได้แสดงอาการแปลก ๆ ในแบบที่ไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน ดาวดวงนี้ได้เกิดหรี่แสงลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือเพียงครึ่งเดียวของความสว่างปกติ ...

พบแล้ว หลุมดวงจันทร์จากจรวดลึกลับพุ่งชน

(5 ก.ค. 65) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีข่าวน่าตื่นเต้นเล็ก ๆ ข่าวหนึ่งว่า นักดาราศาสตร์พบวัตถุลึกลับดวงหนึ่งกำลังจะพุ่งชนดวงจันทร์ วัตถุดวงนี้ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยทั่วไป แต่คาดว่าเป็นจรวดท่อนบนของสเปซเอกซ์ซึ่งได้นำยานดิสคัฟเวอร์ (DSCOVR--Deep Space Climate Observatory) ของนาซา ...

นาซาทวงคืนฝุ่นดวงจันทร์และแมลงสาบ

(29 มิ.ย. 65) ย้อนหลังไปเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม 2512 หรือกว่าครึ่งศตวรรษก่อน ภารกิจอะพอลโล 11 ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่โลกด้วยการนำมนุษย์ลงไปเดินบนดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก ภารกิจในครั้งนั้น มนุษย์อวกาศได้นำตัวอย่างฝุ่นจากดวงจันทร์ ...

เปิดภาพแรก หลุมดำกลางดาราจักรทางช้างเผือก

(14 พ.ค. 65) ที่ใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือก คือที่สิงสถิตของหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีชื่อว่า คนยิงธนูเอ* (Sagittarius A* หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Sgr A*) มีมวลประมาณ 4.3 ล้านมวลสุริยะ เช่นเดียวกับหลุมดำทั้งหลาย หลุมดำคนยิงธนูเอ* มืดสนิท ไม่เปล่งแสงใด ๆ แต่นักดาราศาสตร์ทราบว่ามีอยู่จริงจากการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของดาวที่อยู่ใกล้ ...

ยอดจำนวนดาวเคราะห์ต่างระบบทะลุ 5,000 ดวงแล้ว

(8 พ.ค. 65) นักดาราศาสตร์ต่างฝันถึงการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบมานานแล้ว แต่การค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่อยู่ไกลหลายปีแสงเป็นเรื่องยากยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่กว่าที่นักดาราศาสตร์จะพบดวงแรกก็ต้องรอมาจนถึงปี ...

ดาวเคราะห์น้อยริวงุอาจไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อย แต่เป็นซากดาวหาง

(28 เม.ย. 65) เมื่อปี 2557 ยานฮะยะบุซะ 2 ขององค์การอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา ได้ออกเดินทางจากโลกไปโดยมีเป้าหมายคือดาวเคราะห์น้อยริวงุ ยานได้ไปถึงเป้าหมายในเดือนมิถุนายน 2561 และได้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อย่างใกล้ชิดเป็นเวลา ...

ดาวอังคารแดนเงียบสงัด

(18 เม.ย. 65) บนดาวอังคารมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงมากมาย เช่น พายุที่รุนแรง ฟ้าแลบฟ้าร้อง แต่กระนั้นดาวเคราะห์ดวงนี้ก็เป็นดินแดนที่เงียบอย่างเหลือเชื่อ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ยานเพอร์เซอร์วีรันซ์ขององค์การนาซาได้เดินทางไปถึงดาวอังคาร ยานพร้อมทั้งอุปกรณ์ ...

อภิมหาดาวหาง ใหญ่มหึมา

(15 เม.ย. 65) เมื่อปลายปีที่แล้ว มีรายงานการค้นพบดาวหางดวงใหม่ดวงหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากและกำลังมุ่งหน้าเข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า ซี/2014 ยูเอ็น 271 (เบอร์นาร์ดิเนลลี-เบิร์นสไตน์) [C/2014 UN271 (Bernardinelli-Bernstein)] ต่อมาเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ คณะนักดาราศาสตร์นำโดย ดร.สวี่ เหวินเทา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาเก๊า ได้สำรวจดาวหางดวงนี้อีกครั้งด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเพื่อวัดขนาดของนิวเคลียสให้แน่ชัด ...

"หลุมดำ" หาย!

(15 เม.ย. 65) เมื่อกลางปี 2563 มีข่าวการค้นพบหลุมดำดวงใหม่ อยู่ห่างจากโลกเพียง 1,120 ปีแสง นับเป็นหลุมดำที่อยู่ใกล้โลกที่สุด แต่การศึกษาล่าสุดอาจทำให้ต้องมีการจัดอันดับกันใหม่อีกรอบ เพราะแชมป์ดวงนี้ไม่มีอยู่จริง ...

พบหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดที่อายุน้อยกว่า 100,000 ปี

(4 มี.ค. 65) เมื่อปี 2562 นักวิจัยคณะหนึ่งสังเกตเห็นหุบเขารูปวงกลมแห่งหนึ่งในเทือกเขาเสี่ยวซิงอันหลิ่ง มณฑลเฮยหลงเจียง มีลักษณะคล้ายหลุมอุกกาบาต จึงดำเนินการสำรวจอย่างละเอียดว่าเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นหลุมอุกกาบาตจริงหรือไม่ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น