สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(28 ก.พ. 65) ซูเปอร์โนวา คือการระเบิดของดาวมวลสูง เป็นปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่รุนแรงที่สุดชนิดหนึ่ง การศึกษาซูเปอร์โนวาจะช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้เรียนรู้ถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นในดาวฤกษ์ในบั้นปลายชีวิตอันตระการตานี้ แต่ปัญหาคือไม่มีใครบอกได้ว่าดาวฤกษ์จะระเบิดเมื่อใด การสังเกตซูเปอร์โนวาที่ผ่านมาจึงเป็นการสังเกตเมื่อทราบ ...

นักดาราศาสตร์จาก สดร. พบดาวเคราะห์น้อยมีดวงจันทร์สามดวง

(21 ก.พ. 65) ระบบสุริยะของเราเต็มไปด้วยดวงจันทร์บริวาร โดยเฉพาะดาวเคราะห์แก๊สยักษ์มีดวงจันทร์มากเป็นหลักสิบดวง ส่วนดาวเคราะห์หินมีบริวารเพียงเล็กน้อย โลกมีดวงจันทร์เป็นบริวารหนึ่งดวง ดาวอังคารมีสองดวง ดาวพุธกับดาวศุกร์ไม่มีบริวารเลย แต่ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง กลับมีดวงจันทร์เป็นบริวารถึงสามดวง ...

ดาวประหลาด กะพริบทุก 18 นาที

(17 ก.พ. 65) วัตถุดวงนี้เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นแบบจุดคล้ายดาวฤกษ์ อยู่ห่างจากโลก 4,000 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวไม้ฉาก แผ่รังสีในช่วงคลื่นวิทยุรุนแรงและเป็นคาบ คาบยาวประมาณ 18 นาที แต่ละครั้งยาวตั้งแต่ครึ่งวินาทีจนถึงเกือบนาที บางครั้งการแผ่รังสีเป็นคาบก็ขาด ...

พบแหล่งน้ำกลางแคนยอนบนดาวอังคาร

(5 ก.พ. 65) อีกสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกันระหว่างหุบผาชันทั้งสองแห่งก็คือ ที่ก้นหุบของแกรนด์แคนยอนมีแม่น้ำโคโรลาโด แต่ที่ก้นแวลลิสแมริแนริสไม่มีแม่น้ำ แม้จะเชื่อว่าหุบผาชันนี้เกิดจากการกระทำของน้ำ แต่น้ำนั้นได้เหือดแห้งไปเป็นเวลานานมากแล้ว เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2564 นักวิทยาศาสตร์ของภารกิจเทรซแก๊สออร์บิเตอร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเอกโซมารส์ ได้ประกาศว่าค้นพบน้ำที่ใต้ก้นหุบของแวลลิสแมริแนริสด้วย ...

ซูเปอร์โนวาชนิดใหม่

(4 ก.พ. 65) ดาวชนิดวอล์ฟ-ราเย เป็นดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงมาก ดาวประเภทนี้มีอายุสั้น ในช่วงบั้นปลายชีวิตที่แสนสั้น จะผลักเนื้อดาวชั้นนอกออกมาในรูปของลมดาวที่รุนแรง ดาวจึงถูกห่อหุ้มด้วยชั้นของเนบิวลาที่มีไอออนของฮีเลียม คาร์บอน และไนโตรเจน ...

เผยโฉม "กระท่อม" บนดวงจันทร์

(10 ม.ค. 65) ยังจำเรื่องกระท่อมลึกลับบนดวงจันทร์ได้ไหม วันนี้มีความคืบหน้า เมื่อต้นเดือนธันวาคม รถอวี้ทู่-2 ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์ของจีนได้พบสิ่งสะดุดตาบางอย่างที่ขอบฟ้าดวงจันทร์ วัตถุนั้นดูคล้ายทรง ...

อีก 60 ปี ซิริอัสเสียแชมป์

(26 ธ.ค. 64) ดาววีลูกธนู (V Sagittae) เป็นดาวจาง ๆ ดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลก 7,800 ปีแสง ด้วยอันดับความสว่าง 8.6-13.9 ทำให้ดาวดวงนี้มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แม้จะใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดกลางก็ยังหาได้ยาก นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยลุยเซียนาสเตต ได้เปิดเผยว่า อีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า ...

จีนเตรียมส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศ

(19 ธ.ค. 64) ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จีนได้ทุ่มเทสรรพกำลังมหาศาลในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศเพื่อทัดเทียมรุ่นใหญ่อย่างอเมริกาและรัสเซีย จีนส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศได้สำเร็จ สร้างสถานีอวกาศได้ถึงสองสถานี และขณะนี้กำลังสร้าง ...

ร็อกเก็ตแลบเผยแผนพัฒนาจรวดนิวตรอน

(12 ธ.ค. 64) ร็อกเก็ตแลบ เป็นบริษัทขนส่งอวกาศสัญชาติอเมริกัน ยานขนส่งหลักของบริษัทนี้คือ จรวดอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นจรวดขนาดเล็ก เริ่มเข้าประจำการครั้งแรกในปี 2560 จนถึงปัจจุบันมีการส่งขึ้นสู่อวกาศมาแล้ว 22 ลำ ปล่อยดาวเทียมสู่วง ...

ยานสำรวจจีนพบ "กระท่อมลึกลับ" บนดวงจันทร์

(7 ธ.ค. 64) ยานฉางเอ๋อ 4 มียานลูกลำหนึ่ง เป็นรถสำรวจ ชื่อ อวี้ทู่ 2 ซึ่งได้ออกไปแล่นบนพื้นผิวดวงจันทร์ และได้พบสิ่งน่าสนใจมากมาย เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ขณะที่ยานกำลังแล่น ...

ภารกิจ "ดับเครื่องชน" ดาวเคราะห์น้อย

(25 พ.ย. 64) หลายทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดโครงการค้นหาวัตถุใกล้โลกขึ้นมากมาย ทำให้นักดาราศาสตร์ได้ทราบว่าบริเวณวงโคจรของโลกมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งเฉียดจำนวนมาก วัตถุบางดวงอาจใหญ่พอที่จะสร้างความเสียหายได้หากพุ่งชนโลก ...

ผู้เชี่ยวชาญเตือน กลับจากอวกาศ ระวังสัตว์ประหลาดตามมาด้วย

(23 พ.ย. 64) คงไม่มีช่วงใดในประวัติศาสตร์ของยุคอวกาศที่การแข่งขันทางอวกาศจะคึกคักเท่าในปัจจุบันนี้ ไม่เพียงองค์การรัฐของประเทศมหาอำนาจเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีทางอวกาศอย่างแข็งขัน ยังมีบริษัทเอกชนอีกกว่า 85 แห่ง ...

ดาวเคราะห์น้อยจากดวงจันทร์

(21 พ.ย. 64) เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2559 กล้องแพนสตารรส์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง มีชื่อว่า 2016 เอชโอ 3 (2016 HO3) ต่อมาได้ชื่อสามัญว่า คาโมโออาเลวา (Kamo’oalewa) เป็นดาวเคราะห์น้อยในกลุ่มอะพอลโล จัดเป็นดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกดวงหนึ่งในจำนวนที่พบแล้วหลายพันดวง ...

รัสเซียทดสอบยิงดาวเทียมด้วยขีปนาวุธ

(18 พ.ย. 64) เมื่อเวลา 7 นาฬิกาของวันที่ 15 พฤศจิกายน ตามเวลาสากล ศูนย์ควบคุมภารกิจของสถานีอวกาศนานาชาติได้แจ้งเตือนต่อมนุษย์อวกาศให้เข้าสู่มาตรการฉุกเฉิน โดยให้มนุษย์อวกาศในสถานีทั้งหมดเข้าไปอยู่ในมอดูลของตัว ...

ดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดีรอดจากถูกดาวแม่กลืนกิน

(11 พ.ย. 64) อีกราวไม่ถึงหมื่นล้านปีข้างหน้า เมื่อดวงอาทิตย์ได้ใช้ไฮโดรเจนที่ใจกลางไปจนหมด ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่ใจกลางจะหยุดและแก่นดาวจะยุบลง ส่วนเนื้อดาวที่อยู่นอกแก่นดาวจะขยายใหญ่ออกไป ถึงช่วงนั้นดวงอาทิตย์จะมีขนาดใหญ่มากจนดาวพุธและดาวศุกร์ถูกกลืนหายเข้าไปในดวงอาทิตย์เลยทีเดียว โลกก็อาจจะถูกรวมเข้า ...

กระจุกดาวรวมร่าง

(16 ต.ค. 64) นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยกลางรีอูกรันดีดูซูลในโปร์ตูอาเลกรี ประเทศบราซิล ได้วิเคราะห์กระจุกดาว เอ็นจีซี 1605 โดยอาศัยข้อมูลจากดาวเทียมไกอาและจากกล้องไวส์ของนาซา และพบว่า แท้จริงแล้วมันไม่ใช่กระจุกเดี่ยว แต่เป็นกระจุกดาวสองกระจุกที่กำลัง ...

พายุจุดแดงยักษ์บนดาวพฤหัสบดีหมุนเร็วขึ้น

(8 ต.ค. 64) นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ณ เบิร์กเลย์ ได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงลวดลายบนจุดแดงใหญ่จากข้อมูลดาวพฤหัสบดีที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในช่วงปี 2552-2563 พบความเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่น่า ...

ดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่หายไป

(1 ต.ค. 64) เป็นเรื่องน่าแปลกที่ดาวเคราะห์ที่มีขนาดระหว่าง 1.5-2 เท่าของโลกมีอยู่น้อยมาก หากพิจารณาแผนภูมิที่แสดงจำนวนดาวเคราะห์ที่พบในย่านขนาดต่าง ๆ จะเห็นว่าเส้นกราฟของช่วงขนาดดังกล่าวยุบไปอย่างชัดเจน นักดาราศาสตร์ยังไม่เข้าใจดีนักว่าเหตุใดดาวเคราะห์ต่าง ...

ดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ

(8 ก.ย. 64) ดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่นี้มีชื่อว่า 2021 พีเอช 27 (2021 PH27) โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบเพียง 113 วัน ยาวนานกว่าดาวพุธเพียงเล็กน้อย (ดาวพุธมีคาบการโคจร 88 วัน) แต่มีจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่าดาวพุธ หรือกล่าวอีก ...

ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อิสระอาจมีสิ่งมีชีวิต

(3 ก.ย. 64) ในดาราจักรของเรามีดาวเคราะห์อยู่มากมาย นอกจากจะมีดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ที่รู้จักกันดีแล้ว ยังมีดาวเคราะห์ที่เป็นบริวารของดาวฤกษ์ดวงอื่นที่เรียกว่า ดาวเคราะห์ต่างระบบ และยังมีดาวเคราะห์อีกประเภทหนึ่ง เรียกว่าดาวเคราะห์อิสระ เป็นวัตถุจำพวกดาวเคราะห์ แต่ไม่เป็นบริวารของ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น