สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(24 มิ.ย. 59) จำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์ไม่ใช่สิ่งที่คงที่เสมอไป แต่มีการขึ้นลงเป็นวัฏจักรที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีคาบประมาณ 11 ปี ช่วงที่มีจุดมืดมากสุดเรียกว่าช่วงสูงสุดสุริยะ (solar maximum) ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อราว 2556 ในทางตรงข้าม ช่วงที่มีจำนวนจุดมืดน้อยที่สุด ...

ไลโกพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่สอง

(19 มิ.ย. 59) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา หอสังเกตการณ์ไลโกได้ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สองที่มีการพบคลื่นลึกลับชนิดนี้ และเป็นการพบในเวลาห่างจากการพบครั้งแรกเพียงไม่ถึงครึ่งปีเท่านั้น ...

สนามแม่เหล็กโลกอาจใกล้สลับขั้ว

(3 มิ.ย. 59) โลกเรามีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวง สนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะปกป้องบรรยากาศของโลกจากลมสุริยะ แต่ขั้วแม่เหล็กของโลกมิใช่สิ่งที่คงที่ถาวร บางครั้งอาจมีการสลับขั้วขึ้น จากขั้วเหนือเป็นขั้วใต้ จากขั้ว ...

พลูโตเป็นลูกผสมดาวเคราะห์-ดาวหาง

(23 พ.ค. 59) งานวิจัยฉบับหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มีสิ่งบ่งชี้บางอย่างว่าอาจถึงเวลาต้องมาจำแนกประเภทดาวพลูโตอีกครั้งแล้ว จากข้อมูลที่ได้จากยานนิวเฮอไรซอนส์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าดาวพลูโตมีอันตรกิริยาต่อลมสุริยะไม่เหมือนกับวัตถุอื่นใดในระบบสุริยะ ...

พบหลักฐานดาวเคราะห์น้อยขนาด 30 กิโลเมตรชนโลกเมื่อ 3.4 พันล้านปีก่อน

(20 พ.ค. 59) พบหลักฐานของดาวเคราะห์น้อยขนาด 20-30 กิโลเมตร พุ่งชนโลกเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อนทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย พลังงานจากการชนรุนแรงยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์เป็นล้านลูก ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ที่รุนแรงในระดับที่พลิกโฉมธรณีวิทยาของโลกเลยทีเดียว ...

พบดาวเคราะห์น้อยจากเมฆออร์ต

(15 พ.ค. 59) นักดาราศาสตร์พบวัตถุดึกดำบรรพ์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ มันคล้ายดาวเคราะห์น้อย แต่มีเส้นทางโคจรแบบดาวหาง แล้วมันก็คล้ายจะมีหาง แต่ก็น้อยเกินกว่าจะเป็นดาวหาง ...

สปิตเซอร์วัดสภาพบรรยากาศของดาวยันส์เซิน

(3 พ.ค. 59) นักดาราศาสตร์ได้สร้างแผนที่อุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์ต่างระบบประเภทซูเปอร์โลกได้เป็นครั้งแรกด้วยกล้องโทรทรรศน์สปิตเซอร์ ดาวเคราะห์ดวงนี้คือ ดาว 55 ปูอี (55 Cancri e) ซึ่งมีชื่อสามัญอย่างเป็นทางการแล้วว่า ยันส์เซิน มีขนาดเป็นสองเท่าของโลก อยู่ห่างจากโลก 40 ปีแสง โคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์แม่มาก โคจรครบ ...

ดาวมาเกมาเกก็มีดวงจันทร์

(28 เม.ย. 59) กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ค้นพบดวงจันทร์บริวารดวงใหม่ในระบบสุริยะเพิ่มขึ้นอีกดวงหนึ่งแล้ว เป็นบริวารของดาวมาเกมาเก ซึ่งอยู่ไกลสุดกู่ถึงแถบไคเปอร์ ดาวมาเกมาเกเป็นดาวเคราะห์แคระเช่นเดียวกับดาวพลูโต มีขนาด 1,390 กิโลเมตร ค้นพบในปี 2548 ชื่อของวัตถุดวงนี้ตั้งชื่อตามเทพผู้สร้างมนุษย์ของชาวราพานุย ...

อีซาส่งยานสำรวจมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร

(12 เม.ย. 59) เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา จรวดโปรตอนได้ทะยานขึ้นจากศูนย์การบินอวกาศไบโคนอร์ (Baikonur Cosmodrome) สิ่งที่จรวดลำนี้พาขึ้นไปคือ ยานเอกโซมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์ ยานสำรวจดาวอังคารขององค์การอวกาศยุโรปหรือองค์การอีซา ...

เทียนกง 1 ขัดข้องติดต่อไม่ได้ ลอยเคว้งรอวันตกใส่โลก

(31 มี.ค. 59) สำนักข่าวซินหัวของจีนได้รายงานว่า สถานีอวกาศเทียนกง 1 ของจีน กำลังประสบปัญหาจากระบบโทรมาตรของสถานีขัดข้อง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีกับภาคพื้นดินถูกตัดขาด ทำให้ขณะนี้สถานีอวกาศดวงแรกของจีนลำนี้ต้องกลายเป็นสถานีร้างที่ลอยละล่องไปอย่างไร้การควบคุม ...

ความขาวเป็นเหตุ นักดาราศาสตร์คาดดวงจันทร์ของพลูโตเกิดจากการพุ่งชน

(30 มี.ค. 59) ดาวพลูโตมีดวงจันทร์บริวารห้าดวง ได้แก่ คารอน สติกซ์ นิกซ์ เคอร์เบรอส และไฮดรา ดวงจันทร์คารอนมีขนาดใหญ่มาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวครึ่งหนึ่งของดาวพลูโต และถูกตรึงโดยแรงโน้มถ่วงจากดาวพลูโต บางคนถือว่าคู่พลูโตและคารอนเป็นดาวเคราะห์แคระคู่มากกว่าระบบบริวาร ทั้งสองต่างโคจรรอบ ...

ดาวหางเฉียดโลกใกล้ที่สุดในรอบ 246 ปี

(27 มี.ค. 59) มื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีดาวหางเข้ามาใกล้โลกถึงสองดวง แม้ดาวหางสองดวงนี้จะมีขนาดเล็กและจาง ไม่ชวนตื่นเต้นเท่าใดนักสำหรับนักดูดาวทั่วไป แต่ระยะห่างจากโลกของสองดวงนี้ต่างหากที่ทำให้มันน่าสนใจ ...

นาซาเผยภาพความละเอียดสูงของจุดขาวบนซีรีส

(24 มี.ค. 59) เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ในที่ประชุมวิทยาศาสตร์ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ประจำปีครั้งที่ 47 ในวูดแลนด์ เท็กซัส นักวิทยาศาสตร์จากภารกิจดอว์นของนาาซาได้เปิดเผยภาพล่าสุดดาวเคราะห์น้อยซีรีสที่ได้จากภารกิจนี้ในช่วงที่ยานเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ที่สุด รวมถึงภาพของหลุม ...

อีกหนึ่งการค้นพบสำคัญของไลโก

(18 มี.ค. 59) ข่าวดาราศาสตร์ที่โด่งดังที่สุดในรอบเดือนที่ผ่านมา เห็นจะไม่มีข่าวใดเกินการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงเป็นครั้งแรก โดยหอสังเกตการณ์ไลโก ข่าวนี้ใหญ่โตเสียจนคนส่วนใหญ่อาจไม่ทันสังเกตว่าในการค้นพบครั้งเขย่าโลกครั้งนี้ ยังมีการค้นพบที่สำคัญอีก ...

จีนสร้างกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลก

(18 ก.พ. 59) ในเดือนกันยายนปีนี้ จะมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดยักษ์กล้องใหม่สร้างเสร็จพร้อมใช้งาน กล้องนี้มีชื่อว่า ฟาสต์ (FAST--Five-hundred-meter Aperture Spherical Telescope) ตั้งอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว ทางตอนใต้ของประเทศจีน กล้องนี้จะเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในโลก ...

ผู้เชี่ยวชาญชี้ เหตุระเบิดที่อินเดียไม่ใช่จากอุกกาบาต

(14 ก.พ. 59) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นในรัฐทมิฬนาฑู ตอนใต้ของประเทศอินเดีย เป็นผลให้พนักงานขับรถนักเรียนเสียชีวิตและนักเรียนบาดเจ็บอีกสามคน กระจกหลายบานแตกกระจายเหมือนถูกแรงระเบิด ในที่เกิดเหตุยังพบหลุมบนพื้นดินที่เหมือนถูกวัตถุ ...

พบคลื่นความโน้มถ่วง ยืนยันทฤษฎีสัมพัทธภาพ

(13 ก.พ. 59) "ท่านทั้งหลาย เราได้ค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงแล้ว" เดฟ ไรตซ์ ผู้อำนวยการของหอสังเกตการณ์ไลโก LIGO (Laser Interferometry Gravitational-Wave Observatory) กล่าวนำขึ้นในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แม้จะเป็นเกริ่นสั้น ๆ แต่ก็ดังก้องกังวาน ...

ซูเปอร์โนวาระดับซูเปอร์ สว่างสุด ๆ

(2 ก.พ. 59) มันคล้ายจะเป็นซูเปอร์โนวา แต่นักดาราศาสตร์ไม่แน่ใจนักว่าจะใช่จริงหรือเปล่า และถ้าใช่ มันก็จะเป็นซูเปอร์โนวาที่ไม่เหมือนซูเปอร์โนวาอื่นใดที่นักดาราศาตร์เคยรู้จัก และจะเป็นซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบ ...

ระบบสุริยะที่ใหญ่ที่สุด โคจรครบรอบเกือบล้านปี

(30 ม.ค. 59) ถ้าคุณเกิดที่ดาวเคราะห์ดวงนี้ กว่าจะได้ฉลองวันเกิดครบรอบหนึ่งขวบ อาจต้องรอเป็นเวลานานถึงเกือบหนึ่งล้านปีของโลก! ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า 2 แมส เจ 2126 (2MASS J2126) อยู่ห่างจากดาวฤกษ์แม่ราวหนึ่งล้านล้านกิโลเมตร มากกว่าระยะห่างระหว่างโลกถึงดวงอาทิตย์ถึง 7,000 เท่า ด้วยระยะทางเท่านี้ ดาวเคราะห์ดวงนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 900,000 ปี ...

พบแล้ว ดาวเคราะห์ดวงที่เก้า?

(21 ม.ค. 59) มันมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน 20 เท่า และโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบทุก 10,000-20,000 ปี เปล่าเลย นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถ่ายภาพของดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ แต่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์บ่งชี้ว่ามันน่ามีอยู่จริง งานวิจัยนี้เป็นของ คอนสแตนติน บาทีจิน ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น