สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(18 เม.ย. 61) ด้วยกำลังในการรวบรวมแสงของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล บวกกับปรากฏการณ์ธรรมชาติช่วยเสริม ทำให้นักดาราศาสตร์พบดาวฤกษ์ที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบ ดาวดวงนี้ส่องแสงมาตั้งแต่ที่เอกภพมีอายุเพียงหนึ่งในสามของปัจจุบันเท่านั้น ...

โอมูอามูอาน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากดาวคู่

(12 เม.ย. 61) โอมูอามูอาเดินทางออกจากระบบสุริยะชั้นในไปไกลแล้ว แต่เรื่องของวัตถุต่างด้าวดวงนี้ยังไม่จบ ล่าสุดนักดาราศาสตร์จากสมาคมดาราศาสตร์หลวงแห่งสหราชอาณาจักรเสนอว่า วัตถุดวงนี้น่าจะมีต้นกำเนิดมาจากระบบดาวคู่ ...

ดาวเคราะห์ใหม่ คล้ายดาวพุธ แต่ใหญ่กว่าโลก

(11 เม.ย. 61) สำหรับดาวเคราะห์ต่างระบบดวงใหม่ที่ชื่อว่า เค 2-229 บี (K2-229b) น่าจะเรียกว่าซูเปอร์ดาวพุธ ดาวดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 339 ปีแสง มีขนาดใหญ่กว่าโลก 20 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับมีมวลมากถึง 2.6 เท่าของโลก แสดงว่า ...

ดาวผีดิบ ตายแล้วฟื้น

(10 เม.ย. 61) ดาวคู่นี้มีชื่อว่า ไอจีอาร์ เจ 17329-2731 (IGR J17329-2731) ค้นพบโดยหอสังเตการณ์อินทีกรัลเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2560 นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวสองดวงนี้ได้โคจรรอบกันเป็นดาวคู่มาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว แต่นั่นไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะดาวส่วนใหญ่ในเอกภพ ...

สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตด้วยวัย 76

(14 มี.ค. 61) สตีเฟน ฮอว์กิง เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีชาวอังกฤษ มีผลงานโดดเด่นในด้านทฤษฎีเกี่ยวกับหลุมดำและสัมพัทธภาพ มีงานเขียนหนังสือหลายเล่ม หนึ่งในนั้นเป็นที่รู้จักกันดีคือ "A Brief History of Time" ซึ่งขายได้มากกว่าสิบล้านเล่มทั่วโลก ทำให้เขากลาย ...

ฟัลคอนเฮฟวีทะยานฟ้า

(10 ก.พ. 61) ฟัลคอนเฮฟวี เป็นจรวดขับดันที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน เป็นรองเพียงจรวดแซตเทิร์น 5 ที่เคยนำมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์เท่านั้น พัฒนาขึ้นโดยสเปซเอกซ์ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านการบินอวกาศ สเปซเอกซ์ได้สร้างนวัตกรรมการบินที่สำคัญ นั่นคือการ ...

ดวงจันทร์มีผลต่อแผ่นดินไหวจริงหรือ?

(20 ม.ค. 61) เป็นเวลานานมาแล้ว ที่มนุษย์มีความเชื่อว่าการเรียงตัวของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ หรือดวงอาทิตย์ มีความสัมพันธ์กับการเกิดภัยพิบัติบนโลก หนึ่งในความสัมพันธ์นั้นคือ ดิถีของดวงจันทร์ (การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม จันทร์ดับ จันทร์เพ็ญ) กับการเกิดแผ่นดินไหว โดยเชื่อว่าช่วงวันที่ใกล้จันทร์เพ็ญหรือจันทร์ ...

ดาวปลากัด กินดาวเคราะห์ของตัวเอง

(15 ม.ค. 61) ระบบดาวเคราะห์แต่ละแห่งก็เปรียบเสมือนครอบครัว ๆ หนึ่ง มีดาวฤกษ์ที่เปรียบเหมือนแม่ผู้ให้กำเนิด ส่วนดาวเคราะห์ก็เปรียบเหมือนลูกที่กำเนิดจากแม่ รับแสงรับพลังงานและความโน้มถ่วงจากแม่ คอยโคจรรอบไม่ห่างหาย ถ้าเปรียบเทียบแบบนั้น ดาวอาร์แซดปลา (RZ Piscium) ก็คงเป็นแม่จอมโหด ...

จีนอ้าง ยังควบคุมเทียนกง-1 ได้อยู่ รับรองไม่ตกใส่หัวใคร

(14 ม.ค. 61) สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน กำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานีหนัก 8 ตันแห่งนี้จะตกลงสู่โลกในเดือนมีนาคมนี้ สถานีเทียนกง-1 เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน เดิมมีกำหนดจะสิ้นสุดภารกิจในปี 2556 แต่องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (ซีเอ็นเอสเอ) ได้ยืดภารกิจ ...

อีกครั้งกับโอมูอามูอา สงสัยจะเป็นดาวหางจริง

(14 ม.ค. 61) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม แพนสตารรส์-1 ซึ่งเป็นระบบค้นหาวัตถุแปลกปลอมในอวกาศได้ประกาศการค้นพบวัตถุท้องฟ้าดวงหนึ่ง มีชื่อว่า 1 ไอ/2017 ยู 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า โอมูอามูอา การที่พบว่าวัตถุดวงนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากเกินกว่าจะเป็นวัตถุในระบบสุริยะของเรา จึงเชื่อได้ว่า ...

สิบข่าวเด่นดาราศาสตร์ปี 2560

(27 ธ.ค. 60) อันดับ 10 ดาวเคราะห์น้อย 6125 สิงห์โต หลังจากเมื่อพ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ตั้งชื่อดาว 47 หมีใหญ่ว่าดาวชาละวัน (Chalawan) ตามที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอ ในปีนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก็ให้สิทธิ์สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอชื่อดาวเคราะห์น้อยเพิ่มอีก 1 ดวง สมาคม ...

หรือว่า โอมูอามูอา จะเป็นยานอวกาศจากโลกอื่น?

(17 ธ.ค. 60) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วงการดาราศาสตร์พากันตื่นเต้นกับการได้พบวัตถุจากนอกระบบสุริยะที่เข้ามาเยือนยังระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก เมื่อแรกค้นพบ นักดาราศาสตร์เข้าใจว่าเป็นดาวหาง แต่การสำรวจในระยะต่อมาบอกว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยมาก ...

พบแบคทีเรียมีชีวิตเกาะอยู่นอกสถานีอวกาศนานาชาติ

(1 ธ.ค. 60) อันตัน ชกาเปลรอฟ นักบินอวกาศชาวรัสเซีย ได้ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาเกือบสองร้อยวันตั้งแต่ปลายปี 2557 หนึ่งในภารกิจที่เขาทำคือการเก็บตัวอย่างคราบที่เกาะอยู่ที่ผิวด้านนอกของสถานีด้วยก้านพันสำลี แล้วนำกลับมายังโลกเพื่อตรวจ ...

ความคืบหน้า วัตถุต่างด้าวดวงแรก

(21 พ.ย. 60) เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วงการดาราศาสตร์ต่างตื่นเต้นกับดาวหางดวงใหม่ที่มาจากนอกระบบสุริยะ วัตถุดวงนี้ได้เพิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไปด้วยระยะ 0.25 หน่วยดาราศาสตร์ (37.6 ล้านกิโลเมตร) เมื่อวันที่ 9 กันยายน ได้ชื่อชั่วคราวตามระบบว่า ซี/2017 ยู 1 (C/2017 U1) ...

ดาวหนังเหนียว ระเบิดสองครั้งยังไม่ตาย

(12 พ.ย. 60) ซูเปอร์โนวาเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัย เมื่อดาวฤกษ์ได้ใช้พลังงานไปจนหมด แรงดันจากภายในจึงพ่ายแพ้ต่อแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เปลือกดาวจะยุบลงสู่แก่นกลาง เกิดคลื่นกระแทกสะท้อนกลับออกมาเป็นการระเบิดที่รุนแรง หลังการระเบิดดาวฤกษ์ดวง ...

วงแหวนฝุ่นของพร็อกซิมาคนครึ่งม้า

(6 พ.ย. 60) ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างออกไปเพียง 4.2 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวคนครึ่งม้า เป็นดาวฤกษ์ชนิดดาวแคระแดง เมื่อปี 2558 นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเพื่อนบ้านดวงนี้มีดาวเคราะห์เป็นบริวารดวงหนึ่งด้วย ...

ลมสุริยะสร้างประจุไฟฟ้าบนดวงจันทร์โฟบอส

(1 พ.ย. 60) ดวงจันทร์โฟบอส เป็นดวงจันทร์หนึ่งในสองดวงของดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ให้ความสนใจดวงจันทร์ดวงนี้เป็นพิเศษ มีการวางแผนให้มนุษย์อวกาศไปตั้งฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ดวงนี้เพื่อควบคุมสั่งการยานสำรวจที่ปฏิบัติหน้า ...

คลื่นความโน้มถ่วงจากดาวนิวตรอนชนกัน

(31 ต.ค. 60) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา เพียงสามวันหลังจากที่ไลโกและเวอร์โกตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่สี่ คลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ห้าก็พัดผ่านโลกไป เป็นคลื่นลูกย่อมกว่าสี่ลูกที่ผ่านมา แต่สร้างความตื่นเต้นอย่างใหญ่หลวงในแวดวงฟิสิกส์ดาราศาสตร์ สัญญาณแรกของคลื่นลูกที่ห้านี้เริ่มตรวจจับได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 เมื่อ ...

ดาวหางต่างด้าว

(29 ต.ค. 60) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย ได้ประกาศการค้นพบดาวหางดวงใหม่ดวงหนึ่ง ชื่อว่า ซี/2017 ยู 1 แพนสตารรส์ (C/2017 U1 PANSTARRS) ดาวหางมีแห่งกำเนิดใหญ่ ๆ สองแห่ง แห่งแรกเป็นแถบรูปวงแหวนกว้างใหญ่ล้อมรอบดวงอาทิตย์อยู่ที่ระยะพ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป เรียกว่าแถบไคเปอร์ ดาวหางที่มาจากแถบนี้จะเป็นดาวหางคาบสั้น นั้นคือโค ...

พบบริวารดวงใหม่ของโลก

(27 ต.ค. 60) วิษณุ เรดดี นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองดวงจันทร์และดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนา ได้เปิดเผย ณ ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ในโพรโว รัฐยูทาห์ว่า วัตถุดวงหนึ่งซึ่งถูกค้นพบในปี 2559 นั้นโคจรรอบดวงอทิตย์ไปพร้อม ๆ กับที่โคจรรอบโลกไปด้วย ราวกับเป็นบริวารอีกดวงหนึ่งของโลก ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น