สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ธ.ค. 59) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ยานแคสซีนีซึ่งจะเริ่มภารกิจใหม่ที่แตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง และเป็นภารกิจช่วงสุดท้าย นั่นคือการสำรวจวงแหวนดาวเสาร์ ภารกิจช่วงนี้ ยานจะปรับทิศทางมาโคจรตามแนวขั้วและพุ่งถากวงแหวนเอฟ 20 ครั้ง หลังจากนั้นจะตีวงให้แคบเข้า ...

ยานสำรวจดาวอังคารของอีซาลงจอดพลาด ตกกระแทกพื้นพังยับ

(25 ต.ค. 59) มื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ยานมาร์สเทรซแก๊สออร์บิเตอร์ขององค์การอวกาศยุโรปหรืออีซาได้ส่งสัญญาณกลับมายังโลก เป็นการแจ้งว่ายานได้ปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จ หลังจากการเดินทางนานเจ็ดเดือนเป็นระยะทาง 483 ล้านกิโลเมตร ...

ดาวพลูโตกับดวงจันทร์ไดโอนีก็มีมหาสมุทร

(21 ต.ค. 59) วัตถุดวงอื่นในระบบสุริยะ เช่น ดวงจันทร์เอนเซลาดัสกับดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ ดวงจันทร์ยูโรปา ดวงจันทร์แกนีมีด และดวงจันทร์คัลลิสโตของดาวพฤหัสบดี ก็มีมหาสมุทรด้วยเหมือนกัน แต่มหาสมุทรที่นั่นต่างจากของโลก เพราะเป็น ...

ลาก่อน โรเซตตา

(29 ก.ย. 59) เย็นวันศุกร์นี้ ยานโรเซตตา ยานสำรวจขององค์การอีซาซึ่งได้สำรวจดาวหาง 67 พี/ชูรูยมอฟ-เกราซีเมนโค (67 พี) มาตั้งแต่ต้นปี 2557 จะเข้าใกล้ดาวหางมากที่สุดในภารกิจ โดยจะเบี่ยงเส้นทางและทิ้งดิ่งลงสู่พื้นผิวของนิวเคลียสดาวหาง เป็นการ ...

ดาวเคราะห์น้อยเฟร็ดดีเมอร์คิวรี

(7 ก.ย. 59) ข่าวดีสำหรับแฟนเพลงร็อคยุค 70 วันนี้ชื่อของ เฟร็ดดี เมอร์คิวรี ได้ขึ้นไปสถิต ณ ฟากฟ้าแล้ว เมื่อวันที่ 5 กันยายนที่ผ่านมา สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้ตั้งชื่อสามัญดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งว่า "เฟร็ดดีเมอร์คิวรี" ตามชื่อของอดีตนักร้องนำวงควีน แม้บุคคลที่จะถูกนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อสามัญให้แก่วัตถุท้องฟ้าไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่ข้องเกี่ยวกับวงการ ...

ดาวเคราะห์ข้างบ้าน บริวารของพร็อกซิมาคนครึ่งม้า

(26 ส.ค. 59) มันมีชื่อว่าดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าบี (Proxima Centauri b) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า พร็อกซิมาบี เป็นบริวารของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุดไม่นับดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากเราไปแค่ 4.25 ปีแสง ...

ดาวพิลึกกึกกือ

(23 ส.ค. 59) ดูเหมือนคำว่า "ดาวประหลาด" คงจะยังไม่เพียงพอสำหรับดาว เคไอซี 8462852 (KIC 8462852) ตอนนี้นักดาราศาสตร์อาจต้องเรียกมันว่า "ดาวพิลึกกึกกือ" แล้ว ดาวแทบบีได้เป็นข่าวพาดหัวใหญ่เมื่อปีที่แล้วเมื่อนักดาราศาสตร์พบว่าแสงจากดาวดวงนี้มีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่แปลกประหลาด ไม่ว่าแบบจำลองดาวฤกษ์แบบใดก็อธิบายการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ไม่ ...

นักวิจัยพบ ดาวพุธตายไปนานแล้ว

(16 ส.ค. 59) ดาวเคราะห์ดวงในสุดของระบบสุริยะของเราเคยเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขาไฟปะทุทั่วทั้งดวง แต่สิ่งเหล่านั้นได้สงบไปเป็นเวลานานแล้ว นักวิจัยคณะหนึ่งจากจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตตได้พยายามหาคำตอบว่ากระบวนการสร้างเปลือกดาวของดาวพุธได้หยุดลงเมื่อใดโดยศึกษาจากภาพถ่าย ...

นักเดินทางในอวกาศเสี่ยงตายจากโรคหัวใจ

(4 ส.ค. 59) หลายคนคงเคยไฝ่ฝันว่าถ้าได้ท่องอวกาศสักครั้งหนึ่งในชีวิตก็คงดี จะได้ไปดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์บนดวงจันทร์ ไปเล่นสกีบนขั้วดาวอังคาร หรือไปชมวงแหวนดาวเสาร์ใกล้ ๆ แต่ช้าก่อน ทราบหรือไม่ว่าการเดินทางไปในอวกาศมีผลข้างเคียงด้านลบต่อสุขภาพหลายอย่าง ...

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสบดีอาจเป็นต้นกำเนิดความร้อนในบรรยากาศ

(2 ส.ค. 59) นักวิทยาศาสตร์พบว่า จุดแดงยักษ์บนดาวพฤหัสบดีอาจเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานที่ทำให้อุณหภูมิบรรยากาศชั้นบนของดาวพฤหัสบดีสูงกว่าปกติ สภาพภูมิอากาศของโลกมีความร้อนจากดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศ ความร้อนของ ...

หลุมอุกกาบาตใหญ่บนดาวซีรีสหายไปไหน?

(29 ก.ค. 59) หลังจากที่ปริศนาเกี่ยวกับจุดขาวที่ก้นหลุมอุกกาบาตบนดาวซีรีสได้คลี่คลายลง โดยนักดาราศาสตร์ได้คำตอบแล้วว่าจุดขาวนั้นคือเกลือ มาวันนี้นักดาราศาสตร์พบปริศนาข้อใหม่บนดาวเคราะห์แคระดวงนี้อีกแล้ว ...

สิ้นปีนี้มีของแถม

(13 ก.ค. 59) ใครที่ชอบบ่นว่าไม่ค่อยมีเวลาเตรียมดีใจได้ เพราะปี 2559 นี้ทุกคนจะมีเวลาเพิ่มขึ้น ปกติแล้ว เมื่อใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม นาฬิกาสากลแสดงเวลาเป็น ..., 23:59:58, 23:59:59, 00:00:00, ... เป็นการขึ้นวันใหม่ของปีใหม่ แต่ในปีนี้จะเป็น ..., 23:59:58, 23:59:59, ...

ดวงจันทร์เอนเซลาดัสกับเปลือกดาวที่บางเฉียบ

(9 ก.ค. 59) ในบรรดาดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะทั้งหมด ดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์น่าจะเป็นดวงที่น่าสนใจที่สุดดวงหนึ่งในแง่ของความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิต ดวงจันทร์ดวงนี้มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็ง ลึกลงไปถัดจากผิวน้ำแข็งคือมหาสมุทรใต้พิภพที่รองรับพื้นผิวไว้ทั้งดวง บริเวณนี้นี่เองที่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าอาจมีสิ่งมี ...

ดาวเคราะห์แคระเค็ม ๆ

(2 ก.ค. 59) ดูเพียงผิวเผิน ดาวเคราะห์แคระดวงนี้ไม่มีอะไรสะดุดตาเป็นพิเศษ แต่เมื่อไม่กี่ปีก่อน กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบจุดขาวจุดหนึ่งบนพื้นผิว ต่อมาเมื่อปีที่แล้ว ยานดอว์นของนาซาได้ไปสำรวจดาวซีรีสถึงระยะใกล้ จึงได้พบว่าจุดขาวนั้นแท้จริงประกอบด้วยจุดน้อยใหญ่เกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก นอกจากนี้ยังมีจุดเล็กจุดน้อยลักษณะคล้าย ...

ในวันที่ดวงอาทิตย์หน้าใส

(24 มิ.ย. 59) จำนวนจุดมืดบนดวงอาทิตย์ไม่ใช่สิ่งที่คงที่เสมอไป แต่มีการขึ้นลงเป็นวัฏจักรที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ มีคาบประมาณ 11 ปี ช่วงที่มีจุดมืดมากสุดเรียกว่าช่วงสูงสุดสุริยะ (solar maximum) ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อราว 2556 ในทางตรงข้าม ช่วงที่มีจำนวนจุดมืดน้อยที่สุด ...

ไลโกพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่สอง

(19 มิ.ย. 59) เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา หอสังเกตการณ์ไลโกได้ประกาศการค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่สองที่มีการพบคลื่นลึกลับชนิดนี้ และเป็นการพบในเวลาห่างจากการพบครั้งแรกเพียงไม่ถึงครึ่งปีเท่านั้น ...

สนามแม่เหล็กโลกอาจใกล้สลับขั้ว

(3 มิ.ย. 59) โลกเรามีสนามแม่เหล็กห่อหุ้มทั่วทั้งดวง สนามแม่เหล็กโลกมีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะปกป้องบรรยากาศของโลกจากลมสุริยะ แต่ขั้วแม่เหล็กของโลกมิใช่สิ่งที่คงที่ถาวร บางครั้งอาจมีการสลับขั้วขึ้น จากขั้วเหนือเป็นขั้วใต้ จากขั้ว ...

พลูโตเป็นลูกผสมดาวเคราะห์-ดาวหาง

(23 พ.ค. 59) งานวิจัยฉบับหนึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้มีสิ่งบ่งชี้บางอย่างว่าอาจถึงเวลาต้องมาจำแนกประเภทดาวพลูโตอีกครั้งแล้ว จากข้อมูลที่ได้จากยานนิวเฮอไรซอนส์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าดาวพลูโตมีอันตรกิริยาต่อลมสุริยะไม่เหมือนกับวัตถุอื่นใดในระบบสุริยะ ...

พบหลักฐานดาวเคราะห์น้อยขนาด 30 กิโลเมตรชนโลกเมื่อ 3.4 พันล้านปีก่อน

(20 พ.ค. 59) พบหลักฐานของดาวเคราะห์น้อยขนาด 20-30 กิโลเมตร พุ่งชนโลกเมื่อ 3.5 พันล้านปีก่อนทางตะวันตกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย พลังงานจากการชนรุนแรงยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์เป็นล้านลูก ทำให้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ที่รุนแรงในระดับที่พลิกโฉมธรณีวิทยาของโลกเลยทีเดียว ...

พบดาวเคราะห์น้อยจากเมฆออร์ต

(15 พ.ค. 59) นักดาราศาสตร์พบวัตถุดึกดำบรรพ์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ มันคล้ายดาวเคราะห์น้อย แต่มีเส้นทางโคจรแบบดาวหาง แล้วมันก็คล้ายจะมีหาง แต่ก็น้อยเกินกว่าจะเป็นดาวหาง ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น