สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(17 ม.ค. 41) ได้มีการทดลองเกี่ยวกับอนุภาคสามการทดลองโดยนักดาราศาสตร์จากสามมุมโลก และได้พบหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่านิวทริโนมีมวลอยู่จริง ...

ความคืบหน้าเกี่ยวกับดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวยูเรนัส

(17 ม.ค. 41) หลังจากที่กล้องโทรทรรศน์เฮล (Hale) ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวยูเรนัส 2 ดวงเมื่อหลายสับดาห์ก่อน นักดาราศาสตร์ได้สำรวจเพิ่มเติม และคำนวณวงโคจรของดวงจันทร์ใหม่สองดวงนี้ และได้ข้อสรุปว่า ดวงจันทร์ใหม่ทั้งสองดวงนี้โคจรสวนทางกับทิศทางการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวเคราะห์ ...

พลาเนต-บี ยานสำรวจดาวอังคารของญี่ปุ่น

(17 ม.ค. 41) ยานพลาเนต-บี ยานอวกาศสำรวจดาวอังคารลำแรกของญี่ปุ่นพร้อมแล้วที่จะเดินทางสู่อวกาศในปลายปี 2541 นี้ ในขณะนี้ยานพลาเนต-บีอยู่ในขั้นตอนการทดสอบขั้นสุดท้าย ซึ่งคาดว่าจะสิ้นสุดในราวกลางเดือนเมษายน ก่อนที่จะบรรจุและขนส่งยานไปที่ฐานปล่อยคาโกชิมา ในคิวชู ตอนใต้ของญี่ปุ่น เตรียมพร้อมสำหรับการออกเดินทางใน ...

อุกกาบาตยักษ์ใกล้แอนตาร์กติกา

(17 ม.ค. 41) ทีมนักวิทยาศาสตร์จากนานาชาติ ได้พบหลักฐานที่แสดงถึงการเกิดอุกกาบาตขนาดใหญ่ พุ่งเข้าชนโลกในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ทวีปแอนตาร์กติกาเมื่อ 2 ล้านปีมาแล้ว นักธรณีวิทยาเชื่อว่า ...

กาลิเลโอภาคสอง เจาะลึกยูโรปา

(17 ม.ค. 41) วันที่ 7 ธันวาคม 1997 เป็นวันที่สุดภารกิจหลักในการสำรวจดาวพฤหัสบดีของยานกาลิเลโอ และถือเป็นการเริ่มต้นภารกิจภาคพิเศษ ซึ่งเป็นภารกิจการสำรวจยูโรปาอย่างละเอียด มีชื่อภารกิจว่า Galileo Europa Mission (GEM) ซึ่งเป็นภารกิจเพิ่มเติมจากภารกิจหลักในการสำรวจดาวพฤหัสบดี GEM จะดำเนินต่อไปจนถึงปลายปี 1999 ...

100 ปี หอสังเกตการณ์เยอร์คีส์

(16 ธ.ค. 40) วันที่ 21 ตุลาคม 2540 เป็นวันครบรอบ 100 ปีของหอสังเกตการณ์เยอร์คีส (Yerkes Observatory) ซึ่งตั้งอยู่ที่อ่าววิลเลียม วิสคอนซิน กล้องโทรทรรศน์ที่หอสังเกตการณ์นี้เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ...

ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์พลาด

(16 ธ.ค. 40) ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้คืนสู่สภาวะปกติอีกครั้งเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540 ที่ผ่านมา หลังจากที่เกิดเหตุผิดพลาดกับเส้นทางโคจรรอบ ...

พบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมารอบใจกลางทางช้างเผือก

(16 ธ.ค. 40) นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานของที่อยู่ของแหล่งกำเนิดรังสีแกมมา ซึ่งเป็นรูปร่างทรงกลมครอบดาราจักรทางช้างเผือกอยู่ แต่สาเหตุที่มาของทรงกลมนี้ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เดวิด ไดซอน (David Dixon) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ได้ประกาศ. ...

กำหนดการปล่อยยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์

(1 ธ.ค. 40) องค์การนาซาได้กำหนดวันปล่อยยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์อย่างแน่นอนแล้ว คือวันที่ 5 มกราคม 2541 และยืนยันจะไม่มีการเลื่อนอีกอย่างแน่นอน ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้เลื่อนกำหนดการปล่อยมาแล้วถึงสองครั้ง เนื่องจาก ...

ยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์หยุดทำงานแล้ว

(16 พ.ย. 40) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ผู้ควบคุมการบินของ Jet Propulsion Laboratory ได้ออกประกาศว่ายานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ได้หยุดการทำงานแล้ว หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามที่จะติดต่อกับยานหลายครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมา แต่ประสบความล้มเหลว ...

ฮับเบิลพบดาวนิวตอนผู้โดดเดี่ยว

(16 พ.ย. 40) กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพวัตถุอันดับความสว่าง 25 ดวงหนึ่งในกลุ่มดาวมงกุฎใต้ ห่างจากโลกไปไม่ถึง 400 ปีแสง เป็นวัตถุที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่มีวัตถุอื่นอยู่ในบริเวณใกล้เคียง อุณหภูมิพื้นผิวของวัตถุนี้สูงถึง 670,000 องศาเซลเซียส และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ...

ยานแคสซีนีมุ่งหน้าสู่ดาวเสาร์

(16 พ.ย. 40) ยานแคสซีนีพร้อมทั้งยานลูกไฮเกนส์ ได้ถูกปล่อยออกจากฐานไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2540 เวลา 15:55 น. ตามเวลาในประเทศไทย มุ่งหน้าสู่ดาวเสาร์ซึ่งจะถึงเป้าหมายในปี พ.ศ. 2547. ...

เลื่อนกำหนดปล่อยลูนาร์พรอสเปกเตอร์อีกครั้ง

(16 พ.ย. 40) องค์การนาซาได้เลื่อนกำหนดการปล่อยยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ออกไปอีกครั้งไปเป็นวันที่ 5 มกราคมปีหน้า หลังจากที่กำหนดการปล่อยยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้ถูกเลื่อนมาแล้วครั้งหนึ่ง ...

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวยูเรนัส

(16 พ.ย. 40) ดาวยูเรนัสกลายเป็นดาวเคราะห์ที่มีดวงจันทร์บริวารมากเป็นอันดับสองในระบบสุริยะ เมื่อนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบ ดวงจันทร์บริวารใหม่ของดาวยูเรนัส เพิ่มขึ้นอีก 2 ดวง ...

มาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ทดสอบกล้อง

(16 ต.ค. 40) ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ ซึ่งเดินทางไปถึงดาวอังคารเมื่อเดือนที่ผ่านมา และจะพร้อมสำรวจพื้นผิวดาวอังคารจริง ๆ ในเดือนมีนาคมปีหน้า ในระหว่างนี้ซึ่งอยู่ในช่วงปรับวงโคจรจากวงรีให้เป็นวงกลม ...

ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด

(16 ต.ค. 40) ลึกลงไปในใจกลางดาราจักรทางช้างเผือก บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู นักดาราศาสตร์ได้พบดาวฤกษ์ดวงหนึ่งซึ่งคาดว่าเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในทางช้างเผือก พลังงานที่ปลดปล่อยจากดาวดวงนี้ในช่วงเวลา 6 นาทีอาจมากเท่ากับพลังงานที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ทั้งปี และมีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 200 เท่า ...

คู่หูของดาวไมรา

(16 ต.ค. 40) นักดาราศาสตร์สามารถถ่ายภาพดาวสหายของดาวไมรา ดาวแปรแสงที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดดวงหนึ่งบนท้องฟ้าได้เป็นผลสำเร็จ โดยใช้กล้อง FOC ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล หลังจากที่ได้พยายามถ่ายภาพดาวสหายดวงนี้มมาเป็นเวลานานนับปี ...

จอห์น เดนเวอร์

(16 ต.ค. 40) จอห์น เดนเวอร์ นักร้องและนักแต่งเพลงแนวคันทรีชื่อดัง ได้เสียชีวิตลงแล้วจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2540 ที่ผ่านมา ...

มาร์สพาทไฟน์เดอร์ทำงานทะลุเป้า

(16 ต.ค. 40) หลังจากปฏิบัติภารกิจนาน 1 เดือนบนดาวอังคาร ของยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ถือว่าได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว และขณะนี้ยังคงปฏิบัติภารกิจบนดาวอังคารต่อไปแม้ว่าแบตเตอรี่บนยานจะหมดไปแล้วก็ตาม ...

เนบิวลาสามแฉก

(22 ก.ย. 40) ภาพถ่ายเนบิวลาสามแฉก (Trifid Nebula) ในย่านแสงขาวถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ขนาด 80 เซนติเมตรในเกาะคารารี และภาพอินฟราเรดในช่วงความยาวคลื่น 8 ถึง 15 ไมครอน ซึ่งแสดงการเรืองแสงอินฟราเรดของกลุ่มฝุ่นแก๊สที่รับพลังงานจากแสงของดาวฤกษ์ที่ห่อหุ้มอยู่ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น