สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(7 มี.ค. 67) ภัยคุกคามจากอะโพฟิสยังเป็นไปได้อยู่ แนววิถีของอะโพฟิสเฉียดโลกไปในระยะเฉียดฉิว หากมีเหตุใดที่มาทำให้แนววิถีของอะโพฟิสเบี่ยงเบนไปจากเดิมแม้เพียงเล็กน้อย แนววิถีใหม่อาจเป็นแนวที่ชนโลกก็ได้ ...

ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่นคืนชีพ

(29 ก.พ. 67) ยานได้ปฏิบัติงานในสภาพหงายท้องอย่างนั้นได้เป็นเวลาสองวัน เมื่อยามค่ำคืนของดวงจันทร์มาถึง ยานจึงต้องหลับไปอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และการหลับครั้งนี้ก็น่าจะเป็นการปิดภารกิจของสลิมด้วย เพราะยานไม่ได้ออกแบบมา ...

ยานนิวฮอไรซันส์พบแนวฝุ่นใหม่ของแถบไคเปอร์

(22 ก.พ. 67) แถบไคเปอร์ คือบริเวณแนววงแหวนรอบระบบสุริยะ มีระยะตั้งแต่ 30 หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ หรือประมาณวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป เป็นบริเวณที่มีวัตถุขนาดเล็กที่ประกอบด้วยหินและน้ำแข็งจำนวนมาก เช่นดาวหาง ดาวเคราะห์แคระ บริเวณที่ ...

มนุษย์อวกาศรัสเซียสร้างสถิติใหม่ของการอยู่ในอวกาศเป็นเวลาสะสมนานที่สุด

(16 ก.พ. 67) มนุษย์อวกาศรัสเซียสร้างสถิติใหม่ในวงการอวกาศอีกแล้ว เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2567 โอเลก โคโนเนนโก ได้กลายเป็นมนุษย์ที่ใช้ชีวิตสะสมบนอวกาศนานที่สุด แซงหน้าเจ้าของสถิติเดิมของเพื่อนร่วมชาติ เกนนาดี ปาดัลกา ที่เคยทำไว้ 878 วัน 11 ชั่วโมง 29 นาที และ 48 ...

แสงแวบเขียวจากดาวศุกร์

(28 ม.ค. 67) แสงแวบเขียวไม่ได้เกิดกับดวงอาทิตย์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมา เวลาเช้ามืด ปีเตอร์ โรเซน ช่างภาพชาวสวีเดนถ่ายภาพแสงแวบเขียวเกิดขึ้นกับดาวศุกร์ได้ในสตอกโฮล์ม เมื่อแสงส่องผ่านชั้นบรรยากาศ แสงที่มีความยาวคลื่นสั้น เช่นแสงสีฟ้า สีม่วง จะกระเจิงออกไปมากที่สุด ในขณะที่แสงที่มี ...

เจมส์เว็บบ์สำรวจดาวบีตาขาตั้งภาพ

(28 ม.ค. 67) ดาวบีตาขาตั้งภาพ (Beta Pictoris) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างเป็นอันดับสองในกลุ่มดาวขาตั้งภาพ เป็นดาวฤกษ์อายุน้อยมากเพียงประมาณ 20 ล้านปี อยู่ห่างจากโลกเพียง 63 ปีแสง ในปี 2527 นักดาราศาสตร์พบว่าดาวดวงนี้มีจานฝุ่นล้อมรอบอยู่ ต่อมา ...

เผยภาพยานสลิมลงจอดบนดวงจันทร์ผิดท่า

(26 ม.ค. 67) ยานสลิม (SLIM--Smart Lander for Investigating Moon) ได้ลงสัมผัสพื้นผิวเมื่อเวลา 22:20 น.ตามเวลาประเทศไทย ข้อมูลจากยานได้ส่งมาถึงศูนย์ควบคุมบนโลกแสดงว่ายานได้ลงถึงพื้นในสภาพดี ไม่เสียหาย แต่พบว่าแผงเซลล์สุริยะของยาน ...

ญี่ปุ่นทำได้ นำยานจอดบนดวงจันทร์สำเร็จ เพเรกรินของอเมริกาตกสู่โลก

(19 ม.ค. 67) ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ดวงจันทร์ของโลกเราเริ่มคึกคักมากขึ้นเรื่อย ๆ มียานอวกาศมากมายจากหลายชาติเดินทางไปสำรวจ ทั้งลงจอดและโคจรรอบ ในเดือนมกราคมนี้ยิ่งน่าสนใจ เพราะมียานอวกาศเดินทางไปเยือนดวงจันทร์ถึงสอง ...

ดาวเนปจูนไม่ได้มีสีน้ำเงินเข้ม

(7 ม.ค. 67) ในทศวรรษ 1980 ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้เดินทางไปถึงขอบนอกของเขตดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ยานได้เข้าเฉียดดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน และถ่ายภาพดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ในระยะใกล้ ยานได้ส่งภาพดาวเคราะห์สองดวงนี้กลับมา ทำให้เป็น ...

ดาวหางแฮลลีย์กำลังจะกลับมา

(7 ธ.ค. 66) ในบรรดาดาวหางทั้งหมดที่มนุษย์รู้จัก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ดาวหางดวงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดตลอดกาลคือ ดาวหางแฮลลีย์ มีชื่อตามระบบว่า 1 พี/แฮลลีย์ (1P/Halley) เป็นดาวหางที่มีบันทึกการพบเห็นมาอย่างยาวนานกว่า 2,000 ปี ดาวหางดวงนี้มีคาบ ...

ดาวเคราะห์ที่คาบโคจรยาวนานที่สุดของเทสส์

(13 พ.ย. 66) การค้นพบของกล้องเทสส์เมื่อไม่นานมานี้ ได้พบดาวเคราะห์ต่างระบบดวงหนึ่ง แต่มีสมบัติอยู่ต่างจากดาวเคราะห์ส่วนใหญ่อย่างสิ้นเชิง แทนที่จะเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์แม่อย่างใกล้ชิด แต่ดาวเคราะห์ดวงนี้มีคาบโคจรนานถึง 482 ...

อีกเซอร์ไพรส์จากลูซี

(9 พ.ย. 66) วัตถุคู่สัมผัสเป็นเรื่องปกติในระบบสุริยะ นักดาราศาสตร์พบวัตถุประเภทนี้มาแล้วหลายดวง เช่นนิวเคลียสของดาวหาง 67พี/ชูรูยมอฟ-เกราซีเมนโค ดาวอาร์โรคอต ส่วนบริวารของดาวเคราะห์น้อยก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์น้อยหลายดวงที่มีบริวาร แต่บริวารดาวเคราะห์น้อยที่เป็นวัตถุคู่สัมผัสเป็นเรื่องใหม่อย่างแท้จริง ดิงคิเนชเป็นวัตถุดวงแรกใน ...

ดาวศุกร์อาจเคยมีการเคลื่อนของแผ่นเปลือกดาว

(8 พ.ย. 66) นักดาราศาสตร์จากสถาบันดาวเคราะห์และดวงจันทร์ในฮูสตัน นำโดย แมตต์ เวลเลอร์ ได้ศึกษาดาวศุกร์แล้วพบว่าองค์ประกอบของบรรยากาศของดาวศุกร์ในปัจจุบันดูจะไม่สอดคล้องกับเปลือกดาวแบบแผ่นเดียว จึงได้สร้างแบบจำลองดาวศุกร์ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อหาว่ามีเงื่อนไขใด ...

ลูซีค้นพบบริวารใหม่ ของแถมจากภารกิจสำรวจดาวเคราะห์น้อย

(4 พ.ย. 66) ยานได้สังเกตเห็นความผิดปกติในความสว่างของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงเป็นระยะ ซึ่งเป็นสิ่งบอกเหตุว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยคู่ หรืออาจมีบริวารโคจรรอบอยู่ เมื่อยานเข้าใกล้จนถ่ายภาพความละเอียดสูงได้ ...

น้ำบนดวงจันทร์อาจไม่มากอย่างที่คิด

(29 ต.ค. 66) การหาแหล่งน้ำบนดวงจันทร์ มีความหมายอย่างมากต่อการสำรวจดวงจันทร์หรือแม้แต่การตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์ในอนาคต เพราะน้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญแต่มีน้ำหนักมาก หากมีน้ำบนดวงจันทร์เป็นจำนวนมากจริง ก็หมายความ ...

อินเดียทำสำเร็จ จันทรยาน 3 ลงจอดใกล้ขั้วใต้ดวงจันทร์

(23 ส.ค. 66) วันนี้ (23 สิงหาคม 2566) อินเดียกลายเป็นประเทศแรกในโลกที่ส่งยานไปลงจอดบนขั้วใต้ของดวงจันทร์ได้สำเร็จ "ความสำเร็จในครั้งนี้ไม่ใช่ของอินเดียเท่านั้น แต่เป็นของมนุษยชาติทั้งมวล" นเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวหลังจากทราบข่าวความ ...

รัสเซียฝันสลาย ลูนา 25 ชนดวงจันทร์

(22 ส.ค. 66) เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2566 จรวดโซยุซ-2.1บี ได้พายานลูนา-25 ขึ้นสู่อวกาศจากแท่นปล่อยจรวดที่ท่าอวกาศยานวอสทอคนี เป้าหมายของยานลำนี้คือ การนำยานลงจอดบนดวงจันทร์บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์เพื่อสำรวจสภาพทางธรณีวิทยาและแหล่งน้ำ รวมถึงบรร ...

ดาวอังคารหมุนเร็วขึ้น

(16 ส.ค. 66) บนยานอินไซต์มีอุปกรณ์ตัวเก่งตัวหนึ่งชื่อว่า ไรส์ (RISE--Rotation and Interior Structure Experiment) อุปกรณ์นี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ทราบถึงโครงสร้างภายในของดาวอังคาร โดยการวัดการกวัด (nutation) ซึ่งเป็นผลจากการเคลื่อนที่ของของเหลวภายในดาว ข้อมูลจากการวัดคลื่นไหวสะเทือนพบว่า ดาวอังคารมีแกนที่มี ...

ลูนาคืนชีพ รัสเซียส่งยานลงสำรวจขั้วใต้ดวงจันทร์

(5 ส.ค. 66) โครงการลูนา เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ของสหภาพโซเวียต เกิดขึ้นมาเกือบจะพร้อมกับการเริ่มต้นของยุคอวกาศ เริ่มต้นในปี 2502 โครงการนี้เป็นโครงการที่บุกเบิกเทคโนโลยีอวกาศที่สำคัญ สร้างการค้นพบครั้งสำคัญเอาไว้หลายครั้ง โดยเฉพาะภารกิจลูนา 3 ที่ทำให้โลกตะลึงด้วยการไปอ้อมหลังดวงจันทร์และถ่ายภาพ ...

แผนส่งมนุษย์พิชิตดวงจันทร์ของจีน

(22 ก.ค. 66) เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้วที่ไม่มีใครส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจเห็นมนุษย์กลับไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง ไม่เพียงแต่มนุษย์อวกาศจากนาซาเท่านั้น เราอาจได้เห็นมนุษย์อวกาศจีนลงไปเดินบนดวงจันทร์ในเวลา ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น