ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับดาวหางไอซอน (C/2012 S1 ISON)
13 พ.ย. 2556 : ดาวหางไอซอนยังคงสว่างน้อยเกินกว่าจะเห็นได้ด้วยตาเปล่า และความสว่างก็เพิ่มขึ้นช้ากว่าความคาดหมาย ราววันที่ 20 พฤศจิกายน คาดว่าความสว่างอาจแตะโชติมาตร 6 ซึ่งเป็นความสว่างที่เริ่มจะเห็นได้ด้วยตาเปล่าบนท้องฟ้ามืด แต่ดาวหางมีตำแหน่งอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้ามาก จึงสังเกตได้ยาก (ดาวหางที่สว่างกว่าและเห็นได้ง่ายกว่าในขณะนี้คือดาวหางเลิฟจอย)
หากไอซอนไม่แตกสลายไปก่อนที่จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่29 พฤศจิกายน และมีความสว่างเพิ่มขึ้นหลายเท่า คาดว่าตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม เป็นต้นไป น่าจะเป็นช่วงที่ดีสำหรับการสังเกตดาวหางไอซอนจากประเทศไทย โดยดาวหางอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืด ใกล้ขอบฟ้าทิศตะวันออก และเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้นทุกวัน
14พ.ย. 2556 : ดาวหางไอซอนมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากโชติมาตร 8 ไปที่โชติมาตร 6 ขณะนี้จึงเริ่มเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากสถานที่มืด แต่ต้องทราบตำแหน่งที่แน่นอนของดาวหางก่อน (ดูได้จากแผนที่) การเพิ่มความสว่างครั้งนี้เริ่มมีสัญญาณมาตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน นี่อาจเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายก็ได้
ข่าวดีคือ อาจเป็นไปตามสมมติฐานก่อนหน้านี้ จากการสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นักดาราศาสตร์ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าดาวหางไอซอนอาจหมุนรอบตัวเองโดยหันขั้วเข้าหาดวงอาทิตย์ ช่วงที่ผ่านมาจึงมีด้านเดียวที่ถูกแสงอาทิตย์ ขณะนี้ไอซอนอาจเริ่มหันอีกด้านหนึ่งเข้าหาดวงอาทิตย์ ทำให้น้ำแข็งด้านนั้นเริ่มระเหิด ทำให้ดาวหางสว่างขึ้นมาก
ข่าวร้ายคือ นิวเคลียสของดาวหางไอซอนอาจเริ่มแตก ทำให้น้ำแข็งที่อยู่ภายในถูกความร้อนจนระเหิด ปล่อยแก๊สและฝุ่นออกมาในปริมาณมาก แต่ยังไม่มีหลักฐานว่าเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นในตอนนี้
16พ.ย. 2556 : ดาวหางไอซอนยังคงมีความสว่างเพิ่มขึ้น ขณะนี้สว่างราวโชติมาตร 5 หัวสว่างคล้ายดาวฤกษ์ หางจางกว่ามาก ภาพถ่ายโดย เดเมียน พีช เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน 12 นาที ผ่านกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงขนาด 4 นิ้ว แสดงให้เห็นหางแผ่กว้างขึ้นกว่าเดิม และเห็นโครงสร้างภายในหางที่ซับซ้อนมากขึ้น
ดาวหางไอซอนจะผ่านใกล้ดาวรวงข้าวในวันจันทร์ที่18 พฤศจิกายน น่าจะเป็นช่วงที่สามารถเห็นดาวหางได้ง่ายโดยไม่ต้องกวาดหาบนท้องฟ้า โดยเฉพาะผู้ที่มีกล้องสองตา หลังจากนั้น หากไอซอนยังสว่างขึ้นอีกไม่มาก การสังเกตจะทำได้ยากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงมีตำแหน่งต่ำลงทุกวัน
หมายเหตุ: นักดาราศาสตร์บอกความสว่างของวัตถุท้องฟ้าด้วยโชติมาตร ยิ่งมีค่าน้อยยิ่งสว่าง ดาวจางที่สุดที่ดวงตาของมนุษย์จะเห็นได้ภายใต้ท้องฟ้าที่มืดสนิทมีค่าโชติมาตร 6.5 ดาวรวงข้าวมีโชติมาตร 1 ขณะนี้ดาวหางไอซอนจึงสว่างพอจะเห็นได้จาง ๆ ด้วยตาเปล่า แต่ยังสว่างน้อยกว่าดาวรวงข้าวประมาณ 40 เท่า
17พ.ย. 2556 : โทรเลขอิเล็กทรอนิกส์ฉบับที่ 3715 (CBET 3715) จากสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล รายงานการสังเกตดาวหางไอซอนจากทีมนักวิจัยที่สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะ และสถาบันดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยลุดวิกแมกซิมิเลียนแห่งมิวนิก ประเทศเยอรมนี พบว่าภาพถ่ายเมื่อวันที่ 14 และ 16 พฤศจิกายน 2556 แสดงให้เห็นโคม่าของดาวหางไอซอนที่มีโครงสร้างรูปปีกแผ่ออกไปสองข้าง รายงานระบุว่าโครงสร้างดังกล่าวแสดงว่านิวเคลียสของดาวหางไอซอนมี 2 นิวเคลียส หรือมากกว่า ซึ่งอาจแสดงว่านิวเคลียสได้แตกออกจากกันเมื่อไม่นานมานี้
18พ.ย. 2556 : รายงานความสว่างล่าสุดยังคงอยู่ที่โชติมาตร 5 หรือสว่างกว่าเล็กน้อย ภาพถ่ายโดย Michael Jäger มองเห็นหางยาว 7° หรือมากกว่า การสังเกตทำได้ยากขึ้น เนื่องจากดาวหางเคลื่อนต่ำใกล้ขอบฟ้ามากขึ้น มีเวลาสังเกตได้ไม่นานก่อนท้องฟ้าสว่าง และมีแสงจันทร์ข้างแรมรบกวน
เว็บไซต์CIOC รายงานว่าทีมนักดาราศาสตร์ยังคงไม่แน่ใจว่านิวเคลียสของดาวหางไอซอนได้แตกไปแล้วจริงหรือไม่ เนื่องจากโครงสร้างปีกรอบโคม่าตามที่มีรายงานนั้นมีลักษณะสมมาตร หากเกิดการแตกของนิวเคลียส ควรมีลักษณะไม่สมมาตร นอกจากนี้ โครงสร้างดังกล่าวอาจเป็นเพียงเพราะดาวหางเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น จึงพ่นแก๊สออกมาจากพื้นผิวมากขึ้นตามลักษณะทั่วไปของดาวหาง การพิสูจน์เพื่อยืนยันว่านิวเคลียสของดาวหางไอซอนได้แตกไปแล้วจริงหรือไม่ ยังคงต้องรอผลการสังเกตและวิเคราะห์อีกสักระยะหนึ่ง
21พ.ย. 2556 : ช่วงวันที่ 18-19 พฤศจิกายน มีรายงานว่าความสว่างของไอซอนลดลงเล็กน้อย แต่ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ได้เกิดปะทุความสว่างขึ้นอีกครั้ง ทำให้ดาวหางกลับมาสว่างใกล้เคียงกับเมื่อวันที่ 16 คืออยู่ที่ราวโชติมาตร 5 วันนั้นดาวหางไอซอนผ่านใกล้ดาวพุธที่ระยะห่าง 0.242 หน่วยดาราศาสตร์ (36 ล้านกิโลเมตร)
รายงานความสว่างของดาวหางไอซอนล่าสุดอยู่ที่ราวโชติมาตร4 หางจางกว่าหัวมาก เมื่อมองผ่านกล้องจึงเห็นเฉพาะโคม่า ไม่เห็นหางอย่างในภาพถ่าย การสังเกตดาวหางไอซอนจะทำได้ยากขึ้นทุกวัน เนื่องจากดาวหางอยู่ต่ำใกล้ขอบฟ้า ซึ่งมักมีเมฆหมอกบดบัง หากรอให้ดาวหางเคลื่อนสูงขึ้น ท้องฟ้าก็จะสว่างมากขึ้นเนื่องจากบรรยากาศโลกได้รับแสงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ
26พ.ย. 2556 : ดาวหางไอซอนเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์จนไม่สามารถสังเกตได้จากพื้นโลกมาตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ขณะนี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวพุธ รายงานล่าสุดพบว่ามีสัญญาณหลายอย่างแสดงว่าดาวหางไอซอนอาจกำลังแตกสลาย
● ความสว่างของดาวหางในช่วงวันที่ 20-24 พฤศจิกายน แทบไม่เปลี่ยนแปลงที่โชติมาตร 4 ทั้งที่ควรจะสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากขึ้น
● อัตราการผลิตแก๊สของดาวหางไอซอนลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงวันที่ 21-25 พฤศจิกายน ขณะที่อัตราการผลิตฝุ่นก็ลดลงมาตลอดหลังจากวันที่ 21 พฤศจิกายน
● ตำแหน่งดาวหางที่วัดได้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน อยู่ตามหลังตำแหน่งที่ควรจะเป็นราว 5 พิลิปดา แสดงว่านิวเคลียสอาจแตก จากนั้นเศษซากส่วนใหญ่ก็เคลื่อนที่ช้าลง คลาดไปจากตำแหน่งที่พยากรณ์ไว้
ยังไม่มีการยืนยันว่าขณะนี้ดาวหางไอซอนได้แตกสลายไปจริงหรือไม่หากเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริง ก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะได้มีการคาดการณ์ไว้แล้วว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้
27พ.ย. 2556 : ภาพจากยานสเตอริโอ ดูเหมือนว่าดาวหางไอซอนได้กลับมามีความสว่างเพิ่มขึ้นอีกครั้ง แต่ไม่มากนัก ดาวหางเคลื่อนเข้ามาในขอบเขตภาพของกล้องบนยานโซโฮเมื่อเวลาเกือบ 09:00 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยยังไม่มีลักษณะที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าเกิดการแตกสลายไปแล้ว
การแถลงข่าวของนาซาเมื่อคืนที่ผ่านมามีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้
● ขณะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวหางไอซอนอยู่ห่างผิวดวงอาทิตย์ 1.17 ล้านกิโลเมตร จุดนั้นผิวดาวหางจะมีอุณหภูมิสูงถึง 2,700 องศาเซลเซียส มีโอกาสร้อยละ 30 ที่ดาวหางจะรอดพ้นจากความโน้มถ่วงและความร้อนสูงจากดวงอาทิตย์ โดยไม่แตกสลาย
● หากดาวหางไอซอนแตก ช่วงสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคม 2556 มีโอกาสที่เราจะเห็นดาวหางไอซอนคล้ายดาวหางเลิฟจอยดวงที่มาปรากฏเมื่อปี 2554 (C/2011 W3) โดยไอซอนจะอยู่บนท้องฟ้าเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ เมื่อสังเกตจากละติจูดสูงของซีกโลกเหนือ (สำหรับประเทศไทยเห็นได้ดีเฉพาะในเวลาเช้ามืด)
● กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลไม่สามารถถ่ายดาวหางได้ในช่วงนี้ เนื่องจากแสงสว่างจ้าของดวงอาทิตย์
หากไอซอนไม่แตกสลายไปก่อนที่จะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่
14
ข่าวดี
ข่าวร้าย
16
ดาวหางไอซอนจะผ่านใกล้ดาวรวงข้าวในวันจันทร์ที่
หมายเหตุ
17
18
เว็บไซต์
21
รายงานความสว่างของดาวหางไอซอนล่าสุดอยู่ที่ราวโชติมาตร
26
ยังไม่มีการยืนยันว่าขณะนี้ดาวหางไอซอนได้แตกสลายไปจริงหรือไม่
27
การแถลงข่าวของนาซาเมื่อคืนที่ผ่านมา