สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ก.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อย 2000 QW7 ซึ่งเพิ่งถูกค้นพบในเดือนสิงหาคมได้พุ่งเฉียดโลกไปเล็กน้อย โดยคลาดไปเพียง 4.5 ล้านกิโลเมตรเท่านั้น และในปี 2562, 2608, และ 2627 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะเข้าเฉียดโลกใกล้กว่าในครั้งนี้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มี ...

กล้องยักษ์แห่งแอฟริกาใต้

(1 ก.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 กันยายน ได้มีพิธีเริ่มการก่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ขนาดยักษ์ตัวใหม่ขึ้น กล้องตัวใหม่นี้ชื่อว่า ซอลต์ (SALT--Southern African Large Telescope) ตั้งอยู่ที่นอกซัทเทอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ ...

ดาวหางลิเนียร์ แตก

(1 ส.ค. 43) ความสว่างที่น้อยกว่าความคาดหมายของดาวหางลิเนียร์ ทำให้มันเป็นดาวหางแห่งความผิดหวังไปอีกดวงหนึ่ง แต่ดาวหางดวงนี้ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์ตกตะลึงด้วยการแตกตัวเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ...

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่ อยู่ใกล้แค่เอื้อม

(1 ส.ค. 43) เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์แมกโดนัล ได้รายงานในที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลในแมนเชนเตอร์ ประเทศอังกฤษว่า ได้พบดาวเคราะห์ก๊าซขนาดใหญ่ดวงหนึ่งโคจรรอบดาว เอปไซลอน แม่น้ำ (e Eridani) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไป ...

ชื่อใหม่ของดวงจันทร์ยูเรนัส

(1 ส.ค. 43) ในที่ประชุมนักดาราศาสตร์ในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคมที่ผ่านมา ได้มีการตั้งชื่อใหม่ให้กับดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส 3 ดวงที่เพิ่งค้นพบใหม่ในปี 2542 ชื่อใหม่ทั้งสามนี้ล้วนมาจากตัวละครใน ...

ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี

(1 ส.ค. 43) เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม นักดาราศาสตร์ได้รายงานว่า ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้ได้ถูกค้นพบเมื่อปลายปี 2542 ด้วยกล้องสเปซวอตช์ขนาด 0.9 เมตร บนยอดเขาคิตต์ พิก แอริโซนา ในขณะนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย จึงได้ชื่อ ...

ดาวเทียมของญี่ปุ่นถูกพายุสุริยะโจมตี

(1 ส.ค. 43) เมื่อระหว่างวันที่ 15 ถึง 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา สถานีสังเกตการณ์ลอยฟ้าชื่อเอเอสซีเอ (ASCA-Advanced Satellite for Cosmology and Astrophysics) -ได้ปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะปลอดภัย (เซฟโหมด) หลังจากที่ดาวเทียมเริ่มเสียการควบคุมระดับความสูงและหมุนตีลังกา จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ และเป็นไปได้ที่ ...

มาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์พบน้ำบนดาวอังคาร

(1 ก.ค. 43) ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้ทำให้วงการดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ตื่นตะลึงอีกครั้ง เมื่อพบหลักฐานของน้ำบนดาวอังคารที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นาน ทำให้เชื่อได้ว่า ปัจจุบันอาจยังมีน้ำที่อยู่ในรูปของเหลวอยู่บนดาวอังคาร และยังจุดประกาย ...

กาลิเลโอออกจากแมกนีโตสเฟียร์

(1 ก.ค. 43) เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยานกาลิเลโอได้เคลื่อนที่ออกจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดี นับเป็นครั้งแรกที่ยานได้หลุดพ้นจากชั้นแม่เหล็กเข้มข้นของดาวพฤหัสบดีและได้สัมผัสกับลมสุริยะของดวงอาทิตย์อีกครั้ง หลังจากที่ยานได้เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดีเมื่อ ...

ตาดวงใหม่ของสเปซวอตช์

(1 ก.ค. 43) เครือข่ายสเปซวอตช์ (Spacewatch) กำลังจะได้กล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่สำหรับล่าดาวเคราะห์น้อยอันตรายเพิ่มอีกตัวหนึ่ง กล้องตัวใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างนี้จะใช้สำหรับงานค้นหาดาวเคราะห์น้อยเพียงอย่างเดียว รวมทั้งตามหาดาวเคราะห์น้อยที่เคย ...

จันทราพบการลุกจ้าบนดาวแคระน้ำตาล

(1 ก.ค. 43) สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-Ray Observatory) ได้พบปรากฏการณ์ที่พิสดารที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่าดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งมีการลุกจ้าเช่นเดียวกันกับดาวฤกษ์ ...

กล่องดำยานอวกาศ

(1 ก.ค. 43) ไม่เพียงแต่เครื่องบินเท่านั้นที่มีกล่องดำสำหรับบันทึกข้อมูลการบิน อีกไม่นานยานอวกาศและดาวเทียมก็จะมีกล่องดำด้วย ผลงานนี้เป็นของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่องดำสำหรับยานอวกาศนี้ไม่ได้ใช้บันทึกเหตุที่เกิดขึ้นภายในตัวยาน แต่จะบันทึกสภาพ ...

ก่อนสำรวจยูโรปา ต้องฆ่าเชื้อ

(1 ก.ค. 43) ในอนาคต ยานอวกาศที่จะไปสำรวจยูโรปาของดาวพฤหัสบดีอาจต้องนำมาฆ่าเชื้อก่อนส่งขึ้นสู่อวกาศ จากการที่นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานหลายอย่างบนยูโรปาที่แสดงว่าดวงจันทร์ดวงนี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ ทำให้มีโครงการอวกาศใหม่ ๆ ที่จะส่งยานอวกาศไป ...

หลุมดำยักษ์กับการกำเนิดดาราจักร

(1 มิ.ย. 43) นักดาราศาสตร์ได้ทราบมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ดาราจักรที่มีหลุมดำยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายพันล้านเท่าอยู่ในใจกลางจะเป็นดาราจักรที่มีดุม (bulk) กลางใหญ่และปูดโปน ส่วนดาราจักรที่มีดุมเล็กลงมาก็มักจะมีหลุมดำขนาดเล็กตามมา เช่นกรณีของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งมีหลุมดำที่แกนกลางเหมือนกันแต่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เพียงประมาณไม่กี่ล้านเท่าเท่านั้น ...

พบดาวเคราะห์น้อยที่หายไป

(1 มิ.ย. 43) เมื่อไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งด้วยกล้องขนาด 0.9 เมตรของหอสังเกตการณ์สเปซวอตช์ ในแอริโซนา ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ชื่อว่า 2000 JW8 แต่ต่อมาได้พบว่าดวงนี้เป็นดวงเดียวกับดาวเคราะห์น้อย 719 อัลเบิร์ต (719 Albert) ที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1911 แต่สูญหายไปหลังจาก ...

หลุมดำหรี่

(1 มิ.ย. 43) แม้ว่ากล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ตัวใหม่ของยุโรปจะอยู่ในช่วงทดสอบก่อนใช้งานจริง แต่กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (XMM-Newton) ก็ทำให้เกิดการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญขึ้นแล้ว เมื่อพบว่าหลุมดำแห่งหนึ่งเกิดหรี่ลงไปกว่าเดิม กล้องเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันได้สำรวจ แอลเอ็มซี เอกซ์-3 (LMC X-3) เพื่อทำการเทียบค่ามาตรฐาน (calibrate) ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของยาน สาเหตุที่เลือก ...

พายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์

(1 มิ.ย. 43) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ศูนย์สิ่งแวดล้อมอวกาศ (Space Environment Center) ของ NOAA ได้ตรวจพบแฟลร์ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์เมื่อเวลา 15.25 น. UTC แฟลร์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้หันมาทางโลกพอดี นั่นหมายความว่า แฟลร์นี้ย่อมทำให้เกิดพายุแม่เหล็กขึ้นบนโลก หลังจากเกิดแฟลร์ในครั้งนั้น ได้เกิดการพ่นมวลคอโรนาขนาดใหญ่ตามมา ซึ่งสาดพลาสมานับพันล้านตันมายังโลก แฟลร์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จัดอยู่ในระดับ X ซึ่งเป็นระดับรุนแรงที่สุด ทำให้เกิดพายุ ...

ไอโอมีภูเขาไฟมากกว่าที่คิด

(1 มิ.ย. 43) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ได้เปิดเผยภาพล่าสุดจากยานกาลิเลโอเมื่อปลายเดือนที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าไอโอของดาวพฤหัสบดีมีภูเขาไฟมากกว่าที่เคยคิดไว้มาก ...

เผยโฉมคลีโอพัตรา

(1 มิ.ย. 43) คณะนักดาราศาสตร์นำโดย ดร.สตีเวน ออสโทรจากเจพีแอลของนาซาได้ใช้สถานีสังเกตการณ์เอริซิโบขนาด 305 เมตรในเปอร์โตริโก ถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อย 216 คลีโอพัตรา (216 Kleopatra)ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้เป็นครั้งแรก ...

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะถูกเผาด้วยอัลตราไวโอเลต

(1 พ.ค. 43) การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นับเป็นเรื่องอมตะที่สุดเรื่องหนึ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์ ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา หลายหลากทฤษฎีถูกตั้งขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีหลักฐานที่ค่อนข้างหนักแน่นว่า เกิดจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่พุ่งชนโลกที่ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น