สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(3 พ.ย. 44) เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ได้ส่งภาพถ่ายดาวอังคารภาพแรกกลับมายังโลก หลังจากที่ได้เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเคราะห์แดงดวงนี้มาได้ 1 สัปดาห์ ภาพแรกนี้ถ่ายโดยอุปกรณ์เทมีส (THEMIS) เป็นภาพของบริเวณขั้วใต้ของดาวอังคาร ถ่ายที่ระยะ 22,000 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน กินมุม 6,500 กิโลเมตร ภาพที่เห็นชัดเจนคือ ...

มาร์สโอดิสซีย์ไปถึงดาวอังคาร

(2 พ.ย. 44) หลังจากที่ได้เดินทางเป็นระยะทาง 460 ล้านกิโลเมตรเป็นเวลา 6 เดือนครึ่ง ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ ขององค์การนาซาก็ได้ถึงดาวอังคารจุดหมายปลายทางแล้วเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา ยานได้จุดจรวดเป็นเวลากว่า 20 นาทีเพื่อปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารด้วยคาบ 18.7 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ยานจุดจรวดเพื่อปรับวงโคจร ...

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น 8 ดวง

(23 ต.ค. 44) เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์คณะหนึ่งที่ประกอบด้วยนักดาราศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา เบลเยียม สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย ได้รายงานว่า พบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเพิ่มขึ้นอีก 8 ดวง ทำให้ในขณะนี้จำนวนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นที่ค้นพบมีถึง 74 ดวงแล้ว ...

ตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อยใหม่ รำลึกตึกเวิลด์เทรดถล่ม

(23 ต.ค. 44) คณะกรรมการตั้งชื่อวัตถุท้องฟ้าขนาดเล็ก (Committee for Small-Body Nomenclature) หรือ CSBN ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ในการตั้งชื่อดาวเคราะห์น้อย 3 ดวง เพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์ก่อการร้ายที่ ...

เผยโฉมซีรีส

(17 ต.ค. 44) เมื่อครั้งที่จูเซปเป ปิแอซซี ค้นพบซีรีสเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1801 เขาคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่ตามทฤษฎีคาดไว้ว่าอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี แม้ว่าต่อมาจะทราบว่าเป็นเพียงดาวเคราะห์น้อย แต่ซีรีสก็เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก อย่างไรก็ตาม แม้เวลาจะผ่านมานานถึงสองศตวรรษแล้ว แต่นักดาราศาสตร์ก็ยัง ...

บริวารของคัลไลโอพี

(1 ต.ค. 44) เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมาหน่วยงาน CBAT ได้รับรายงานการค้นพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์น้อยดวงใหม่อีกดวงหนึ่งจากคณะสำรวจสองคณะพร้อม ๆ กันที่ทำงานใกล้ ๆ กัน ...

ไฮโดรเจนจากแดนไกล

(27 ก.ย. 44) เมื่อเดือนกันยายน 2542 นักดาราศาสตร์จากสหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ได้ศึกษากระจุกดาราจักรกระจุกหนึ่งชื่อ อาเบลล์ 2218 (Abell 2218) โดยใช้กล้องเวสเตอร์บอร์กซินทีซีสซึ่งโทรทรรศน์วิทยุแถว 14 กล้องในเนเธอร์แลนด์ จากการสำรวจได้พบสเปกตรัมของ ...

ประกวดตั้งชื่อใหม่ให้ SIRTF

(24 ก.ย. 44) คุณเคยได้ยินชื่อโครงการอวกาศ SIRTF บ้างไหม รู้หรือเปล่าว่าอ่านอย่างไร? เอสไออาร์ทีเอฟ, เซิร์ต, เซอร์ทิฟ หรือ เซิรตฟ์? งงใช่ไหม ไม่ต้องเครียด เขางงกันทั้งโลก ฝรั่งก็งง ...

จันทราพิสูจน์หลุมดำในทางช้างเผือก

(22 ก.ย. 44) จนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์เชื่อว่าในใจกลางของดาราจักรที่มีดุมกลางใหญ่ทุกดาราจักรจะมีหลุมดำอยู่เสมอ รวมถึงดาราจักรทางช้างเผือกของเราด้วย ดาราจักรของเรามีหลุมดำที่มีมวล 2.6 ล้านเท่าของดวงอาทิตย์อยู่ ถึงแม้ ...

ทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์ฉบับปรับปรุงใหม่

(8 ก.ย. 44) ทฤษฎีการกำเนิดดวงจันทร์เป็นหนึ่งในเรื่องที่ท้าทายความสามารถของนักดาราศาสตร์มาเป็นเวลานาน ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในขณะนี้คือ ทฤษฎีพุ่งชน ซึ่งถูกเสนอขึ้นมาตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 อธิบายว่า ในช่วงปลายของระยะสะสมมวลของโลก ได้มีวัตถุขนาดใหญ่ลูก ...

ฮับเบิลถ่ายภาพไข่เน่า

(3 ก.ย. 44) เมื่อเดือนธันวาคม 2543 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลได้ถ่ายภาพของเนบิวลาอายุน้อยแห่งหนึ่ง ภาพที่ได้ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถมองเห็นเหตุการณ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ในอนาคตอย่างชัดเจนอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน ...

ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกยักษ์

(30 ส.ค. 44) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์จากโครงการค้นหาวัตถุใกล้โลกของหอสังเกตการณ์โลเวลล์ในแอริโซนาชื่อ ไมเคิล แวน เนสส์ ได้ค้นพบวัตถุที่คาดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งบนท้องฟ้า ต่อมาวัตถุดวงนี้ได้ชื่อว่า 2001 OG108 จากการติดตามการเคลื่อนที่ของวัตถุดวงนี้เป็นเวลากว่า 2 สัปดาห์ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบว่า ...

แหล่งกำเนิดรังสีเอกซ์ในทางช้างเผือก

(26 ส.ค. 44) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้พบการแผ่รังสีเอกซ์ในทางช้างเผือกเป็นครั้งแรก รังสีที่พบนั้นเกิดจากก๊าซที่ร้อนจัดถึง 10 ล้านเคลวินซึ่งกระจัดกระจายอยู่ตามแนวระนาบของดาราจักรทางช้างเผือก แต่ความไวและกำลังแยกภาพที่ต่ำของกล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ที่มีอยู่ในขณะนั้นไม่สามารถแยกแยะได้ว่ารังสีนั้นมีแหล่งกำเนิดมาจากปุยหรือก้อนก๊าซในอวกาศหรือมาจาก ...

มาร์สโอดิสซีย์มีปัญหา

(22 ส.ค. 44) เมื่อกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ระหว่างที่ยานมาร์สโอดิสซีย์ได้ส่งข้อมูลกลับมายังโลกเพื่อรายงานสภาพต่างๆ บนยาน ได้พบว่า มารี (MARIE--Martian Radiation Environment Experiment) ซึ่งเป็นหนึ่งในสามอุปกรณ์หลักของยานได้เกิดปัญหาขึ้นโดยไม่ยอมตอบสนองคำสั่ง แม้ว่าจะมีความพยายามหลายครั้งจากภาคพื้นดินเพื่อที่จะกู้อุปกรณ์ตัวนี้ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนในที่สุด ...

หลุมดำในใจกลาง M33

(30 ก.ค. 44) นักดาราศาสตร์จาก Rutgers University ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลวัดความเร็วของดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ใจกลางของดาราจักร M33 ดาราจักรกังหันที่อยู่ใกล้ดาราจักรทางช้างเผือกมากดาราจักรหนึ่ง โดยทั่วไป ใจกลางดาราจักรชนิดก้นหอยจะมีหลุมดำขนาดยักษ์ที่มีมวลนับล้านเท่าของดวงอาทิตย์อยู่ ซึ่งจะตรวจสอบได้จากการเคลื่อนที่ที่ ...

การต่อสู้ของนักดาราศาสตร์

(27 ก.ค. 44) ในเมืองใหญ่ทั่วโลกทุกวันนี้ นักดาราศาสตร์ต้องเผชิญกับแสงสว่างจากดวงไฟตามบ้านและบนท้องถนนที่บดบังวัตถุท้องฟ้าอย่างดาวฤกษ์ เนบิวลา และทางช้างเผือก สมาคมฟ้ามืดนานาชาติ (International Dark-Sky Association - http://www.darksky.org) ที่มีสมาชิกที่เป็นนักดาราศาสตร์ วิศวกรด้านแสงสว่าง และประชาชนที่สนใจราว 7,000 คน กำลังพยายามที่จะต่อสู้กับปัญหานี้ ...

นาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก

(26 ก.ค. 44) เวลาเป็นหน่วยพื้นฐานอย่างหนึ่งในโลกของวิทยาศาสตร์ ไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์แห่งสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ในโคโลราโด สหรัฐอเมริกา ได้พัฒนานาฬิกาอะตอม ที่มีความละเอียดสูงในระดับที่จะคลาดเคลื่อนไปเพียง 1 วินาทีในรอบ 100 ล้านปี เที่ยงตรงกว่านาฬิกาซีเซียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ...

วัตถุแถบไคเปอร์ดวงใหม่ ใหญ่กว่าคารอน

(25 ก.ค. 44) นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์โลเวลล์ เอ็มไอที และจากหอสังเกตการณ์แอลบีที ได้รายงานการค้นพบวัตถุวงแหวนไคเปอร์ดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 โดยกล้องโทรทรรศน์บลันโคขนาด 4 เมตรในชิลี ...

ดาวหางในดาวฤกษ์ดวงอื่น

(24 ก.ค. 44) นักดาราศาสตร์จากศูนย์ดาราฟิสิกส์ฮาร์วาร์ดสมิทโซเนียนนำโดย แกรี เมลนิก ได้สำรวจดาว ซีดับเบิลยู สิงโต (CW Leonis) ด้วยดาวเทียม สวอส (SWAS--Submillimeter Wave Astronomy Satellite) ในย่านความถี่ซับมิลลิเมตรซึ่งอยู่ระหว่างความถี่วิทยุกับความถี่อินฟราเรด จากการสำรวจพบชั้นของโมเลกุลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากรวมถึงโมเลกุลของน้ำห่อ ...

แผนการสำรวจใหม่ของแคสซีนี

(16 ก.ค. 44) เมื่อปีที่แล้ว วิศวกรของโครงการแคสซีนีได้พบความผิดปรกติกับหัววัดไฮเกนส์ที่อยู่บนยานแคสซีนี ปัญหาที่พบคือเมื่อหัววัดไฮเกนส์ถูกปล่อยให้พุ่งลงไปในบรรยากาศของไททัน ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ สัญญาณจากไฮเกนส์ที่ส่งกลับมายังแคสซีนีจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการเลื่อนดอปเพลอร์ แต่ความกว้างของช่องสัญญาณของเครื่อง ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น