สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(1 ก.ค. 43) เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ยานกาลิเลโอได้เคลื่อนที่ออกจากแมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดี นับเป็นครั้งแรกที่ยานได้หลุดพ้นจากชั้นแม่เหล็กเข้มข้นของดาวพฤหัสบดีและได้สัมผัสกับลมสุริยะของดวงอาทิตย์อีกครั้ง หลังจากที่ยานได้เข้าสู่แมกนีโตสเฟียร์ของดาวพฤหัสบดีเมื่อ ...

ตาดวงใหม่ของสเปซวอตช์

(1 ก.ค. 43) เครือข่ายสเปซวอตช์ (Spacewatch) กำลังจะได้กล้องโทรทรรศน์ตัวใหม่สำหรับล่าดาวเคราะห์น้อยอันตรายเพิ่มอีกตัวหนึ่ง กล้องตัวใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างนี้จะใช้สำหรับงานค้นหาดาวเคราะห์น้อยเพียงอย่างเดียว รวมทั้งตามหาดาวเคราะห์น้อยที่เคย ...

จันทราพบการลุกจ้าบนดาวแคระน้ำตาล

(1 ก.ค. 43) สถานีสังเกตการณ์รังสีเอกซ์จันทรา (Chandra X-Ray Observatory) ได้พบปรากฏการณ์ที่พิสดารที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพบว่าดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งมีการลุกจ้าเช่นเดียวกันกับดาวฤกษ์ ...

กล่องดำยานอวกาศ

(1 ก.ค. 43) ไม่เพียงแต่เครื่องบินเท่านั้นที่มีกล่องดำสำหรับบันทึกข้อมูลการบิน อีกไม่นานยานอวกาศและดาวเทียมก็จะมีกล่องดำด้วย ผลงานนี้เป็นของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่องดำสำหรับยานอวกาศนี้ไม่ได้ใช้บันทึกเหตุที่เกิดขึ้นภายในตัวยาน แต่จะบันทึกสภาพ ...

ก่อนสำรวจยูโรปา ต้องฆ่าเชื้อ

(1 ก.ค. 43) ในอนาคต ยานอวกาศที่จะไปสำรวจยูโรปาของดาวพฤหัสบดีอาจต้องนำมาฆ่าเชื้อก่อนส่งขึ้นสู่อวกาศ จากการที่นักดาราศาสตร์ได้พบหลักฐานหลายอย่างบนยูโรปาที่แสดงว่าดวงจันทร์ดวงนี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ ทำให้มีโครงการอวกาศใหม่ ๆ ที่จะส่งยานอวกาศไป ...

หลุมดำยักษ์กับการกำเนิดดาราจักร

(1 มิ.ย. 43) นักดาราศาสตร์ได้ทราบมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ดาราจักรที่มีหลุมดำยักษ์ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์หลายพันล้านเท่าอยู่ในใจกลางจะเป็นดาราจักรที่มีดุม (bulk) กลางใหญ่และปูดโปน ส่วนดาราจักรที่มีดุมเล็กลงมาก็มักจะมีหลุมดำขนาดเล็กตามมา เช่นกรณีของดาราจักรทางช้างเผือก ซึ่งมีหลุมดำที่แกนกลางเหมือนกันแต่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์เพียงประมาณไม่กี่ล้านเท่าเท่านั้น ...

พบดาวเคราะห์น้อยที่หายไป

(1 มิ.ย. 43) เมื่อไม่นานมานี้นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งด้วยกล้องขนาด 0.9 เมตรของหอสังเกตการณ์สเปซวอตช์ ในแอริโซนา ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ชื่อว่า 2000 JW8 แต่ต่อมาได้พบว่าดวงนี้เป็นดวงเดียวกับดาวเคราะห์น้อย 719 อัลเบิร์ต (719 Albert) ที่ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1911 แต่สูญหายไปหลังจาก ...

หลุมดำหรี่

(1 มิ.ย. 43) แม้ว่ากล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ตัวใหม่ของยุโรปจะอยู่ในช่วงทดสอบก่อนใช้งานจริง แต่กล้องโทรทรรศน์รังสีเอกซ์ เอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตัน (XMM-Newton) ก็ทำให้เกิดการค้นพบทางดาราศาสตร์ที่สำคัญขึ้นแล้ว เมื่อพบว่าหลุมดำแห่งหนึ่งเกิดหรี่ลงไปกว่าเดิม กล้องเอกซ์เอ็มเอ็ม-นิวตันได้สำรวจ แอลเอ็มซี เอกซ์-3 (LMC X-3) เพื่อทำการเทียบค่ามาตรฐาน (calibrate) ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของยาน สาเหตุที่เลือก ...

พายุแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์

(1 มิ.ย. 43) เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ศูนย์สิ่งแวดล้อมอวกาศ (Space Environment Center) ของ NOAA ได้ตรวจพบแฟลร์ที่รุนแรงบนดวงอาทิตย์เมื่อเวลา 15.25 น. UTC แฟลร์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้หันมาทางโลกพอดี นั่นหมายความว่า แฟลร์นี้ย่อมทำให้เกิดพายุแม่เหล็กขึ้นบนโลก หลังจากเกิดแฟลร์ในครั้งนั้น ได้เกิดการพ่นมวลคอโรนาขนาดใหญ่ตามมา ซึ่งสาดพลาสมานับพันล้านตันมายังโลก แฟลร์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จัดอยู่ในระดับ X ซึ่งเป็นระดับรุนแรงที่สุด ทำให้เกิดพายุ ...

ไอโอมีภูเขาไฟมากกว่าที่คิด

(1 มิ.ย. 43) เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ได้เปิดเผยภาพล่าสุดจากยานกาลิเลโอเมื่อปลายเดือนที่แล้ว แสดงให้เห็นว่าไอโอของดาวพฤหัสบดีมีภูเขาไฟมากกว่าที่เคยคิดไว้มาก ...

เผยโฉมคลีโอพัตรา

(1 มิ.ย. 43) คณะนักดาราศาสตร์นำโดย ดร.สตีเวน ออสโทรจากเจพีแอลของนาซาได้ใช้สถานีสังเกตการณ์เอริซิโบขนาด 305 เมตรในเปอร์โตริโก ถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อย 216 คลีโอพัตรา (216 Kleopatra)ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นการถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อยได้เป็นครั้งแรก ...

ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เพราะถูกเผาด้วยอัลตราไวโอเลต

(1 พ.ค. 43) การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์นับเป็นเรื่องอมตะที่สุดเรื่องหนึ่งในแวดวงวิทยาศาสตร์ ตลอดเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา หลายหลากทฤษฎีถูกตั้งขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในครั้งนั้น จนเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ได้มีหลักฐานที่ค่อนข้างหนักแน่นว่า เกิดจากดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่พุ่งชนโลกที่ ...

จันทราพบไม้บรรทัดวัดเอกภพแบบใหม่

(1 พ.ค. 43) นักดาราศาสตร์ได้ใช้สถานีสังเกตการณ์เอกซ์เรย์จันทรา (Chandra X-ray Observatory) พัฒนาวิธีใหม่ในการหาระยะทางของวัตถุในเอกภพ วิธีนี้สามารถวัดระยะห่างของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดรังสี ...

ยูลิสซีสพบเฮียะกุตาเกะ

(1 พ.ค. 43) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2539 ในขณะที่ยานยูลิสซีส ยานสำรวจดวงอาทิตย์กำลังโคจรอยู่ในอวกาศ ได้ตรวจพบตัวเองกำลังโคจรอยู่ในหางของดาวหางเฮียะกุตาเกะ ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นยานอยู่ ...

นกฮัมมิงสำรวจดาวหาง

(1 พ.ค. 43) วิศวกรจากศูนย์วิจัยเอมส์ของนาซา ได้เสนอแนวคิดในการสำรวจและเก็บตัวอย่างจากดาวหางแบบใหม่โดยตั้งชื่อว่า ภารกิจวิเคราะห์นิวเคลียสดาวหางแบบนกฮัมมิง แนวคิดนี้จะให้ยานสำรวจเคลื่อนเข้าใกล้นิวเคลียสของดาวหางด้วยการ ...

พบเควซาร์ใหม่ อยู่ไกลที่สุดในเอกภพ

(1 เม.ย. 43) เควซาร์ที่ถูกค้นพบนี้มีชื่อว่า SDSS 1044-0125 ถูกค้นพบโดย Sloan Digital Sky Survey (SDSS) ในนิวเม็กซิโก ในตอนแรกเควซาร์นี้ดูไม่ต่างอะไรกับดาวฤกษ์สีแดงจาง ๆ ดวงหนึ่ง แต่สเปกตรัมของดวงนี้มีการเลื่อนมาทางสีแดง (การเลื่อนไปทางแดง) มากถึง 5.8 จึงแน่ใจได้ว่าวัตถุดวงนี้จะเป็นอย่างเป็น ...

ภาพใหม่จากดาวอังคาร

(1 เม.ย. 43) ภาพนี้เป็นภาพจากยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ที่ถ่ายได้เมื่อต้นเดือนเมษายนนี้ เป็นภาพพื้นผิวบริเวณขั้วใต้ของดาวอังคารที่มีความละเอียดสูงมาก แสดงพื้นผิวที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการทับถมสลับกันระหว่างคาร์บอนไดออกไซด์แข็ง (น้ำแข็งแห้ง) น้ำแข็ง และฝุ่นละเอียด ความหนาและ ...

ดาวเคราะห์สุริยะอื่นที่มีมวลระดับดาวเสาร์

(1 เม.ย. 43) นักดาราศาสตร์นักล่าดาวเคราะห์ได้ทะลายขีดจำกัดในการค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เมื่อสามารถพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นดวงใหม่อีกสองดวงที่มีมวลน้อยระดับดาวเสาร์ ...

วัตถุรังสีแกมมาชนิดใหม่ในทางช้างเผือก

(1 เม.ย. 43) วารสาร Nature ฉบับ 22 มีนาคม ได้ตีพิมพ์รายงานการค้นพบแหล่งกำเนิดรังสีแกมมาลึกลับใหม่จำนวนมากที่อยู่ในดาราจักรทางช้างเผือก แหล่งกำเนิดรังสีแกมมานี้แตกต่างจาก แสงวาบรังสีแกมมา (Gamma-ray Burst) ที่คุ้นเคยกัน เพราะแสงวาบรังสีแกมมาปล่อยรังสีแกมมาออกมาเพียงช่วง ...

เนียร์ ชูเมกเกอร์เข้าใกล้อีรอส

(1 เม.ย. 43) เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ยาน เนียร์ ชูเมกเกอร์ (NEAR Shoemaker) ได้ปรับวงโคจรอีกครั้งจากวงกลมที่ห่างจากผิวดาว 205 กิโลเมตร เขาสู่วงโคจรใหม่ที่เป็นวงรีมีระยะห่างจากผิวดาวระหว่าง 100 ถึง 200 กิโลเมตร ระยะที่ห่างเพียง 100 กิโลเมตรทำให้นักดาราศาสตร์เชื่อว่าจะสามารถ ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น