สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(15 ม.ค. 61) ระบบดาวเคราะห์แต่ละแห่งก็เปรียบเสมือนครอบครัว ๆ หนึ่ง มีดาวฤกษ์ที่เปรียบเหมือนแม่ผู้ให้กำเนิด ส่วนดาวเคราะห์ก็เปรียบเหมือนลูกที่กำเนิดจากแม่ รับแสงรับพลังงานและความโน้มถ่วงจากแม่ คอยโคจรรอบไม่ห่างหาย ถ้าเปรียบเทียบแบบนั้น ดาวอาร์แซดปลา (RZ Piscium) ก็คงเป็นแม่จอมโหด ...

จีนอ้าง ยังควบคุมเทียนกง-1 ได้อยู่ รับรองไม่ตกใส่หัวใคร

(14 ม.ค. 61) สถานีอวกาศเทียนกง-1 ของจีน กำลังถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสถานีหนัก 8 ตันแห่งนี้จะตกลงสู่โลกในเดือนมีนาคมนี้ สถานีเทียนกง-1 เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน เดิมมีกำหนดจะสิ้นสุดภารกิจในปี 2556 แต่องค์การอวกาศแห่งชาติจีน (ซีเอ็นเอสเอ) ได้ยืดภารกิจ ...

อีกครั้งกับโอมูอามูอา สงสัยจะเป็นดาวหางจริง

(14 ม.ค. 61) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม แพนสตารรส์-1 ซึ่งเป็นระบบค้นหาวัตถุแปลกปลอมในอวกาศได้ประกาศการค้นพบวัตถุท้องฟ้าดวงหนึ่ง มีชื่อว่า 1 ไอ/2017 ยู 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า โอมูอามูอา การที่พบว่าวัตถุดวงนี้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากเกินกว่าจะเป็นวัตถุในระบบสุริยะของเรา จึงเชื่อได้ว่า ...

สิบข่าวเด่นดาราศาสตร์ปี 2560

(27 ธ.ค. 60) อันดับ 10 ดาวเคราะห์น้อย 6125 สิงห์โต หลังจากเมื่อพ.ศ. 2558 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) ได้ตั้งชื่อดาว 47 หมีใหญ่ว่าดาวชาละวัน (Chalawan) ตามที่สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอ ในปีนี้สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก็ให้สิทธิ์สมาคมดาราศาสตร์ไทยเสนอชื่อดาวเคราะห์น้อยเพิ่มอีก 1 ดวง สมาคม ...

หรือว่า โอมูอามูอา จะเป็นยานอวกาศจากโลกอื่น?

(17 ธ.ค. 60) เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วงการดาราศาสตร์พากันตื่นเต้นกับการได้พบวัตถุจากนอกระบบสุริยะที่เข้ามาเยือนยังระบบสุริยะของเราเป็นครั้งแรก เมื่อแรกค้นพบ นักดาราศาสตร์เข้าใจว่าเป็นดาวหาง แต่การสำรวจในระยะต่อมาบอกว่าน่าจะเป็นดาวเคราะห์น้อยมาก ...

พบแบคทีเรียมีชีวิตเกาะอยู่นอกสถานีอวกาศนานาชาติ

(1 ธ.ค. 60) อันตัน ชกาเปลรอฟ นักบินอวกาศชาวรัสเซีย ได้ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาเกือบสองร้อยวันตั้งแต่ปลายปี 2557 หนึ่งในภารกิจที่เขาทำคือการเก็บตัวอย่างคราบที่เกาะอยู่ที่ผิวด้านนอกของสถานีด้วยก้านพันสำลี แล้วนำกลับมายังโลกเพื่อตรวจ ...

ความคืบหน้า วัตถุต่างด้าวดวงแรก

(21 พ.ย. 60) เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา วงการดาราศาสตร์ต่างตื่นเต้นกับดาวหางดวงใหม่ที่มาจากนอกระบบสุริยะ วัตถุดวงนี้ได้เพิ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดไปด้วยระยะ 0.25 หน่วยดาราศาสตร์ (37.6 ล้านกิโลเมตร) เมื่อวันที่ 9 กันยายน ได้ชื่อชั่วคราวตามระบบว่า ซี/2017 ยู 1 (C/2017 U1) ...

ดาวหนังเหนียว ระเบิดสองครั้งยังไม่ตาย

(12 พ.ย. 60) ซูเปอร์โนวาเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัย เมื่อดาวฤกษ์ได้ใช้พลังงานไปจนหมด แรงดันจากภายในจึงพ่ายแพ้ต่อแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เปลือกดาวจะยุบลงสู่แก่นกลาง เกิดคลื่นกระแทกสะท้อนกลับออกมาเป็นการระเบิดที่รุนแรง หลังการระเบิดดาวฤกษ์ดวง ...

วงแหวนฝุ่นของพร็อกซิมาคนครึ่งม้า

(6 พ.ย. 60) ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด อยู่ห่างออกไปเพียง 4.2 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวคนครึ่งม้า เป็นดาวฤกษ์ชนิดดาวแคระแดง เมื่อปี 2558 นักดาราศาสตร์ได้พบว่าดาวเพื่อนบ้านดวงนี้มีดาวเคราะห์เป็นบริวารดวงหนึ่งด้วย ...

ลมสุริยะสร้างประจุไฟฟ้าบนดวงจันทร์โฟบอส

(1 พ.ย. 60) ดวงจันทร์โฟบอส เป็นดวงจันทร์หนึ่งในสองดวงของดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ให้ความสนใจดวงจันทร์ดวงนี้เป็นพิเศษ มีการวางแผนให้มนุษย์อวกาศไปตั้งฐานปฏิบัติการบนดวงจันทร์ดวงนี้เพื่อควบคุมสั่งการยานสำรวจที่ปฏิบัติหน้า ...

คลื่นความโน้มถ่วงจากดาวนิวตรอนชนกัน

(31 ต.ค. 60) เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา เพียงสามวันหลังจากที่ไลโกและเวอร์โกตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่สี่ คลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่ห้าก็พัดผ่านโลกไป เป็นคลื่นลูกย่อมกว่าสี่ลูกที่ผ่านมา แต่สร้างความตื่นเต้นอย่างใหญ่หลวงในแวดวงฟิสิกส์ดาราศาสตร์ สัญญาณแรกของคลื่นลูกที่ห้านี้เริ่มตรวจจับได้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 เมื่อ ...

ดาวหางต่างด้าว

(29 ต.ค. 60) เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย ได้ประกาศการค้นพบดาวหางดวงใหม่ดวงหนึ่ง ชื่อว่า ซี/2017 ยู 1 แพนสตารรส์ (C/2017 U1 PANSTARRS) ดาวหางมีแห่งกำเนิดใหญ่ ๆ สองแห่ง แห่งแรกเป็นแถบรูปวงแหวนกว้างใหญ่ล้อมรอบดวงอาทิตย์อยู่ที่ระยะพ้นวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป เรียกว่าแถบไคเปอร์ ดาวหางที่มาจากแถบนี้จะเป็นดาวหางคาบสั้น นั้นคือโค ...

พบบริวารดวงใหม่ของโลก

(27 ต.ค. 60) วิษณุ เรดดี นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองดวงจันทร์และดาวเคราะห์ของมหาวิทยาลัยแอริโซนา ได้เปิดเผย ณ ที่ประชุมนักดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ในโพรโว รัฐยูทาห์ว่า วัตถุดวงหนึ่งซึ่งถูกค้นพบในปี 2559 นั้นโคจรรอบดวงอทิตย์ไปพร้อม ๆ กับที่โคจรรอบโลกไปด้วย ราวกับเป็นบริวารอีกดวงหนึ่งของโลก ...

ดาวเคราะห์สามดวงในกระจุกดาวไฮยาดีส

(19 ต.ค. 60) ดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ในสุด เป็นดาวเคราะห์ดวงที่เล็กที่สุด มีชื่อว่า อีพิก 247589423 บี (EPIC 247589423b) มีขนาดใกล้เคียงโลกมาก เส้นผ่านศูนย์กลาง 99 เปอร์เซ็นต์ของโลก นับเป็นดาวเคราะห์อายุน้อยที่มีขนาดเล็กที่สุดดวงหนึ่งเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยพบเห็น ดาวเคราะห์อีกสองดวงคือ อีพิก 247589423 ซี กับ ...

ดาวเคราะห์แคระมีวงแหวน

(17 ต.ค. 60) โฮเซ ลุย ออร์ติซ จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งอันดาลูเซีย กล่าวว่า ผลการสังเกตการณ์ที่ได้ทำให้ต้องประหลาดใจ เพราะแสงดาวจากเบื้องหลังมีการหรี่แสงลงเป็นเวลาสั้น ๆ ที่เวลา 2 นาทีก่อนและหลังที่ดาวเฮาเมอาบังดาวฤกษ์ สิ่งนี้จะเกิดจากอะไรไปมิได้นอกจาก ...

พายุสุริยะซัดดาวอังคาร สว่างวาบทั้งดวง

(14 ต.ค. 60) จะเกิดอะไรขึ้น หากจู่ ๆ ท้องฟ้าทั่วทั้งดาวเคราะห์เกิดสว่างพรึ่บขึ้นมาทั่วทั้งดวง หากเกิดบนโลก คนทั้งโลกคงจะต้องแตกตื่นโกลาหลเพราะคิดว่าวาระสุดท้ายของโลกจะมาถึงเป็นแน่ สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อวันที่ 11 กันยายนที่ผ่านมา แต่โชคดีที่เกิดบนดาวอังคาร ไม่ใช่บนโลก ...

ไลโก-เวอร์โก ตรวจพบคลื่นความโน้มถ่วงอีกแล้ว แม่นยำกว่าเดิมสิบเท่า

(13 ต.ค. 60) การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงครั้งที่สี่นี้ เป็นความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์คลื่นความโน้มถ่วงครั้งยิ่งใหญ่ เพราะเป็นการค้นพบโดยหอสังเกตการณ์สามแห่ง แทนที่จะเป็นไลโกสองแห่งดังที่เคยเป็นมา การค้นพบครั้งนี้เป็นการทำงานประสานกันระหว่างไลโกและเวอร์โก ซึ่งเป็นหอสังเกตการณ์คลื่นความโน้มถ่วงอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี ...

พบน้ำบนดาวเคราะห์ของดาวแทรปพิสต์-1

(10 ต.ค. 60) ดาวแทรปพิสต์-1 ได้เป็นข่าวพาดหัวใหญ่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาจากการค้นพบของนักดาราศาสตร์ว่าดาวดวงนี้มีดาวเคราะห์หินขนาดใกล้เคียงโลกที่โคจรรอบในเขตเอื้ออาศัยมากถึงเจ็ดดวง ยิ่งกว่านั้นระบบสุริยะนี้ยังอยู่ใกล้เรามากโดยห่างออกไปเพียง 40 ปีแสงเท่านั้น ...

ดาวเคราะห์น้อยฟลอเรนซ์มีดวงจันทร์

(5 ก.ย. 60) มื่อวันที่ 1 กันยายนที่ผ่านมา ดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่งชื่อ ฟลอเรนซ์ หรือชื่อเต็มคือ 3122 ฟลอเรนซ์ (3122 Florence) ได้พุ่งเฉียดโลกไปโดยห่างจากโลก 7 ล้านกิโลเมตร หรือเป็น 18 เท่าของระยะห่างระหว่างโลก-ดวงจันทร์ การเฉียดครั้งนี้ไม่มีอะไรให้วิตก เพราะด้วยระยะดังกล่าวถือว่าเป็นการเฉียดที่ค่อนข้างห่าง แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 4.5 กิโลเมตร ...

พบดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ต่างระบบ?

(11 ส.ค. 60) วิทยาการค้นหาบริวารของดาวฤกษ์ดวงอื่นได้ก้าวหน้าไปถึงการพบดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ต่างระบบแล้ว ล่าสุดนักดาราศาสตร์ค้นพบสิ่งที่น่าจะเป็นดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นได้แล้ว คณะนักดาราศาสตร์นำโดย เดวิด คิปพิง จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนิวยอร์ก ได้ดำเนินโครงการค้นหาดวงจันทร์บริวารของดาวเคราะห์ต่างระบบ ซึ่งน่าจะเรียกว่า ดวงจันทร์ต่างระบบ วิธีค้นหาของโครง ...

สะเก็ดข่าว

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

อาร์เทมิส 1 ทำฐานส่งเสียหาย

27 พ.ย. 65/ภารกิจอาร์เทมิส 1 ทะยานฟ้ามุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์แล้วอย่างสวยงาม แต่สิ่งที่ทิ้งไว้ที่ฐานส่งไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ วิศวกรพบความเสียหายหลายอย่างที่ฐานส่งจรวด ตั้งแต่สีหลุดล่อน กล้องเสียหาย ประตูลิฟต์พัง ท่อนิวเมติกเสียหาย อย่างไรก็ตามนาซามั่นใจว่าทั้งหมดนี้จะซ่อมเสร็จทันใช้ส่งภารกิจอาร์เทมิส 2 อย่างแน่นอน

ผู้โดยสารชุดแรกไปดวงจันทร์ของสเปซเอกซ์

6 พ.ย. 65/สเปซเอกซ์ได้เผยชื่อของผู้โดยสารชุดแรกที่จะเดินทางไปเที่ยวดวงจันทร์กับยานสตาร์ชิปของยานแล้ว ผู้โดยสารชุดนี้เป็นที่คุ้นเคยกันดี คือเดนนิส ติโต และภรรยา อะกิโกะ ติโต

อาร์เทมิส 6,7,8

22 ต.ค. 65/องค์การนาซาได้สั่งล็อกฮีตมาร์ตินให้ผลิตยานโอไรอันสำหรับภารกิจอาร์เทมิส 6, อาร์เทมิส 7 และ อาร์เทมิส 8 แล้ว

กำหนดวันเดินทางใหม่ของอาร์เทมิส 1

14 ต.ค. 65/นาซา ได้เลือกวันส่งจรวดในภารกิจอาร์เทมิส 1 ใหม่แล้ว เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน และวันกลับถึงโลกคือวันที่ 9 ธันวาคม รวมระยะเวลาของภารกิจ 25.5 วัน

มนุษย์อวกาศรัสเซียบนครูว์ดรากอน

7 ต.ค. 65/5 ตุลาคม 2565 อันนา คิคินา มนุษย์อวกาศหญิงจากรอสคอสมอสของรัสเซีย ได้เดินทางไปกับยานครูว์ดรากอนของสหรัฐอเมริกาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ นับเป็นมนุษย์อวกาศรัสเซียคนแรกที่เดินทางไปกับยานของสเปซเอกซ์ การเดินทางครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียในการแลกเปลี่ยนมนุษย์อวกาศระหว่างกัน โดยยังคงให้มีมนุษย์อวกาศสหรัฐเดินทางไปกับยานโซยุซและให้มนุษย์อวกาศรัสเซียเดินทางไปกับยานของอเมริกัน

นาซาเลือกผู้ผลิตชุดอวกาศ

18 ก.ย. 65/นาซาได้เลือกแอกเซียมสเปซให้เป็นผู้ผลิตชุดอวกาศสำหรับมนุษย์อวกาศในภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งจะใช้ในการลงไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์

สะเก็ดข่าวอื่น