(2 ก.ย. 62) เมื่อสี่ปีก่อน อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของสเปซเอกซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่ ได้ผุดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมดาวอังคารที่หนาวยะเยือกอย่างในปัจจุบันให้มนุษย์อยู่อาศัยได้โดยการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ใส่ขั้วดาวอังคาร โดยเชื่อว่าการระเบิดทำให้น้ำแข็ง
...
(24 ส.ค. 62) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันที่ยานโซยุซเอ็มเอส-14 มีกำหนดจะเข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ยานลำนี้ได้ทะยานขึ้นจากโลกที่ท่าอวกาศยานไบโคนูร์โดยจรวดโซยุซ 2.1 เอ เมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมา ภารกิจนี้เป็นภารกิจทดสอบการทำงานของจรวดรุ่นใหม่นี้
...
(22 ส.ค. 62) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 10:38 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานโซยุซเที่ยวบิน เอ็มเอส-14 ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าที่ท่าอวกาศยานไบโคนูร์ ประเทศคาซัคสถาน เป้าหมายปลายทางคือสถานีอวกาศนานาชาติ ยานโซยุซ ถูกใช้เป็นยานโดยสารสำหรับขนส่งมนุษย์อวกาศระหว่างโลกกับสถานีอวกาศนานาชาติมาเป็นเวลาหลายปี ปกติจะ
...
(11 ส.ค. 62) เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู ได้รับรองชื่อภูมิลักษณ์บนดาวพลูโตเพิ่มอีก 14 ชื่อ ชื่อภูมิลักษณ์ทั้ง 14 นี้ได้แก่พื้นที่ เทือกเขา ที่ราบ หุบเขา และหลุมอุกกาบาตที่ค้นพบโดยยานนิวเฮอไรซอนส์ขณะไปเยือน
...
(7 ส.ค. 62) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรมวลสูงจำนวนหลายสิบดาราจักรอยู่ห่างออกไปหลายพันล้านปีแสง ซึ่งอาจทำให้ต้องนักเอกภพวิทยาต้องกลับมาเขียนตำรากันใหม่ว่าเอกภพมีต้นกำเนิดอย่างไร และสภาพแวดล้อมในยุคเริ่มต้นของเอกภพเ
...
(7 ส.ค. 62) ดวงจันทร์ของโลก เคยเป็นที่เชื่อกันมานานว่าเป็นดินแดนที่ไร้ชีวิตโดยสิ้นเชิง แต่ถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงว่า ขณะนี้มีสิ่งมีชีวิตจำนวนนับพันที่ยังมีชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 11 เมษายน ยานแบเรชีต ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์สัญชาติอิสราเอลดวงแรก ได้ไปถึงดวงจันทร์ ยานมีภารกิจที่จะลง
...
(3 ส.ค. 62) ดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงดวงเดียวของโลก ทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์ที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันอธิบายว่า เมื่อนานมาแล้ว ได้เกิดมีวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารดวงหนึ่งพุ่งเข้าชนโลกเมื่อนานมาแล้ว วัตถุดวงนี้มีชื่อว่า "เทีย" ผลจากการชน เศษของเทียและเนื้อโลกบางส่วนหลุดกระเด็นออกมาเป็นสายและโคจรรอบโลก เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า
...
(1 ส.ค. 62) ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ชื่อ 2019 แอลเอฟ 6 (2019 LF6) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบใช้เวลาเพียงประมาณ 150 วัน วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้รีมาก จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ใกล้กว่าดาวพุธ จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ไกลกว่าดาวศุกร์
...
(30 ก.ค. 62) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 สถานีอวกาศเทียนกง 2 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศแห่งที่สองของจีนได้ตกลงสู่โลก เป็นการปิดภารกิจอย่างสมบูรณ์ การตกของเทียนกง-2 ต่างจากการตกของสถานีเทียนกง-1 เมื่อปีที่แล้ว เพราะการตกครั้งนี้เป็นการตกแบบมีการควบคุม ซึ่งทางศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน
...
(27 มิ.ย. 62) บนดวงอาทิตย์ มีการปะทุชนิดหนึ่งที่แผ่พลังงานที่ร้อนแรงออกมาอยู่เสมอ เรียกว่าการลุกจ้า หรือ แฟลร์ แต่พลังงานจากการลุกจ้าที่พบบนดวงอาทิตย์นี้อาจเทียบไม่ได้กับการลุกจ้าที่พบในดาวฤกษ์บางดวง ในปี 2552 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยมีภารกิจค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบที่คล้ายโลก สิ่งที่กล้องเคปเลอร์พบไม่ได้มีเพียงดาวเคราะห์เท่านั้น แต่ยังพบการปะทุรุนแรงจากดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ทำให้
...
(21 มิ.ย. 62) อะพอลโล 10 เป็นภารกิจก่อนหน้าอะพอลโล 11 เพียงขั้นเดียว ถือว่าเป็นภารกิจ "ซ้อมเสมือนจริง" ของอะพอลโล 11 จึงมีรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ เกือบเหมือนกัน เพียงแต่ไม่มีการลงไปจอดบนดวงจันทร์จริง ๆ เท่านั้น แม้จะไม่มีการลงจอดบนดวงจันทร์ แต่อะพอลโล 10 ก็มี
...
(17 มิ.ย. 62) น้ำในมหาสมุทรบาดาลของยูโรปานอกจากจะเป็นของเหลวแล้วยังเป็นน้ำเค็มอีกด้วย ซึ่งยิ่งทำให้ดวงจันทร์ดวงนี้มีสภาพเอื้อต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกลือในน้ำในมหาสมุทรของยูโรปาเป็นเกลือแมกนีเซียมคลอไรด์ แต่การ
...
(23 พ.ค. 62) ถ้ามีใครมาบอกว่า ใต้พื้นผิวของดาวพลูโตมีมหาสมุทรบาดาลที่เป็นของเหลวอยู่ด้วย คงต้องถูกมองว่าเพี้ยนไปแล้วแน่ ๆ แต่นับวันการศึกษาดาวพลูโตก็ยิ่งเผยหลักฐานว่าแนวคิดดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้ออีกต่อไป โดยเฉพาะหลักฐานล่าสุดจากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในฮกไกโดซึ่งอธิบายได้ว่าน้ำใต้พื้นผิวดาวพลูโตยังคงสถานะ
...
(21 พ.ค. 62) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วงการนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เริ่มมีการเผยแพร่ภาพของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีที่มีรูปร่างแปลกตาไม่คุ้นเคย จุดแดงใหญ่ที่เคยเป็นวงรีสีแสดเริ่มปรากฏสิ่งที่ดูเหมือนเปลือกนอกค่อย ๆ หลุดล่อนออกมา ราวกับว่าจุดแดงใหญ่นี้กำลังจะสลายไป
...
(13 พ.ค. 62) ยานฮะยะบุซะ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา (JAXA) ยานนี้ได้ออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2548 โดยมีเป้าหมายที่ดาวเคราะห์น้อยชื่ออิโตะกะวะ ยานได้กลับมายังโลกในปี 2553 โดยนำตัวอย่างจากผิวดาวเคราะห์น้อย
...
(28 เม.ย. 62) เมื่อปี 2560 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุรูปร่างประหลาดดวงหนึ่ง มีลักษณะเรียวยาวคล้ายซิการ์ และพบว่าเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงนี้แสดงว่าไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ หากแต่เดินทางมาจากนอกระบบสุริยะของเรา วัตถุดวงนั้นต่อมามีชื่อว่า โอมูอามูอา นับเป็นการค้นพบวัตถุจากต่างดาวที่เข้ามาเยือนเป็นครั้งแรก
...
(8 เม.ย. 62) เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา อินเดียได้ทำการทดลองยิงดาวเทียมของตนเองชื่อ ไมโครแซต-อาร์ ด้วยขีปนาวุธ การทดลองครั้งได้ประสบความสำเร็จ ดาวเทียมถูกทำลายที่ความสูง 300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก นายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวชื่น
...
(6 เม.ย. 62) ลองจินตนาการดูถึงวันหยุดสุดสัปดาห์หนึ่ง คุณออกไปเที่ยวนอกเมืองเพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย สูดไอดินปูเสื่อนอนดูดาว แต่ระหว่างที่กำลังมองดูดาวระยิบระยับแข่งกับแสงทางช้างเผือกอยู่เพลิน ๆ ก็มีจุดสว่างเคลื่อนมาจากขอบฟ้า แวบแรกก็คล้ายกับจะเป็นดาวเทียม แต่เมื่อแสงนั้นเข้ามาใกล้เหนือศีรษระมากขึ้น ก็เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่ดาวเทียมธรรมดา เพราะจุดแสงสว่างเรียงกันเป็นอักษร "KFC"!
...
(20 มี.ค. 62) แสงวาบอิริเดียม หรือ อิริเดียมแฟลร์ เป็นแสงที่สะท้อนจากดาวเดียมอิริเดียม ซึ่งมีอยู่มากถึง 66 ดวง แสงวาบจากดาวเทียมอิริเดียมมีความสว่างกว่าแสงสะท้อนดาวเทียมทั่วไปมาก ในบางจังหวะอาจสว่างถึงอันดับ -8 (สว่างกว่าดาวศุกร์ 20 เท่า!)
...
(1 มี.ค. 62) เมื่อเดือนธันวาคม วงการดาราศาสตร์ได้ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบสมาชิกดวงใหม่ของระบบสุริยะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากถึง 120 หน่วยดาราศาสตร์ นับเป็นวัตถุระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีชื่อทางการว่า 2018 วีจี 18 (2018 VG18) มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 500 กิโลเมตร จึงอยู่ในระดับที่เรียกว่า
...