สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(16 ก.ค. 40) ยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ลงจอดดาวอังคารได้เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ กรกฎาคม 2540 ที่ผ่านมา ท่ามกลางอุปสรรคทั้งจากพายุฝุ่นในบริเวณใกล้เคียงและจากตัวยานเอง ขณะนี้ยานลำลูกโซเจอร์เนอร์กำลังสำรวจพื้นผิวดาวอังคารและส่งข้อมูลกลับมายังโลก เพื่อวิจัยดาวเคราะห์สีแดงดวงนี้ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะนอกจากโลกที่เชื่อว่าอาจมีสิ่งมีชีวิต
...

ภาพถ่ายดาวอังคารจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

(15 มิ.ย. 40) ภาพดาวอังคารภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๐ โดยกล้อง WF/PC2 เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ในภาพจะเห็นขั้วดวงอังคารที่เป็นน้ำแข็งสีขาวโพลน เมฆ พายุฝุ่น และลักษณะทางภูมิศาสตร์อย่างชัดเจน นับเป็นภาพถ่ายดาวอังคารที่คมชัดและละเอียดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายมา
...

ดวงจันทร์มีน้ำจริงหรือ?

(15 มิ.ย. 40) วารสาร Science ฉบับวันที่ มิถุนายนได้รายงานว่า อาจไม่มีน้ำบนดวงจันทร์เลยก็ได้ ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลการสำรวจของยานเคลเมนไทน์ ในปี 2537 ยานเคลเมนไทน์ได้ส่งข้อมูลการสำรวจดวงจันทร์กลับมายังโลก และพบหลักฐานสำคัญว่าอาจจะมีน้ำแข็งอยู่ที่บริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ผลการสำรวจด้วยสัญญาณเรดาร์ของกล้องโทรทรรศน์วิทยุเอริซิโบ กลับให้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม 
...

ผลงานของกล้องตัวใหม่ของฮับเบิล

(15 มิ.ย. 40) เนบิวลาไข่ (Egg Nebula) ในกลุ่มดาวหงส์ ภาพซ้ายเป็นภาพในย่านแสงขาวถ่ายโดยกล้อง WF/PC ส่วนภาพทางขวาเป็นภาพในย่านแสงอินฟราเรดใกล้ ถ่ายโดยกล้อง NICMOS (Near Infrared Camera and Multi-Object Spectrometer) หนึ่งในบรรดาอุปกรณ์ใหม่ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ได้ติดตั้งไปในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา 
...

น้ำบนดาวพฤหัสบดี

(15 มิ.ย. 40) ยานกาลิเลโอได้พบน้ำบนชั้นเมฆของดาวพฤหัสบดี บางทีอาจเป็นไปได้ที่จะมีฝนบนดาวเคราะห์ดวงนี้ การค้นพบนี้ขัดแย้งกับข้อมูลจากยานลูกกาลิเลโอ(Galileo’s Probe) ซึ่งพุ่งลงไปสำรวจในชั้นเมฆเมื่อปลายปี ๒๕๓๘ แต่ไม่มีรายงานการพบน้ำเลย 
...

เจมินกามีดาวเคราะห์?

(27 พ.ค. 40) ในรอบปีที่ผ่านมา มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ ๆ มากมาย ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นอยู่ เจมินกา พัลซาร์ที่อยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ อาจจะมีดาวเคราะห์เป็นบริวารด้วยเช่นกัน
...

เฮล-บอปป์มี 3 หาง!

(27 พ.ค. 40) ศักราชใหม่ของการสำรวจดวงจันทร์กำลังจะเริ่มขึ้นอีกครั้ง ยานอวกาศลูนาร์พรอสเปกเตอร์ของนาซาได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เพียงรอให้ถึงวันที่จะทะยานสู่ดวงจันทร์ในวันที่ 24 กันยายนนี้ ยานลำนี้มีภารกิจที่สำคัญในการทำแผนที่ดวงจันทร์อย่างละเอียด ทั้งแผนที่แร่ แรงโน้มถ่วง สนามแม่เหล็ก และการทดลองอื่น ๆ อีกมาก รวมทั้งการค้นหาน้ำบนดวงจันทร์ด้วย ...

ลูนาร์พรอสเปกเตอร์ พร้อมแล้ว

(24 พ.ค. 40) ยานอวกาศลูนาร์พรอสเปกเตอร์ได้สร้างเสร็จแล้ว พร้อมที่จะทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าในเดือน กันยายน พ.ศ. 2540 นี้ ยานลูนาร์พรอสเปกเตอร์เป็นโครงการสำรวจดวงจันทร์ขององค์การนาซา สร้างโดยลอคฮีด มาร์ติน มูลค่าของโครงการนี้นับว่าถูกมากเพียง 63 ล้านเหรียญสหรัฐ ...

ฮับเบิลชี้ขาด เอกภพมีอายุไม่น้อยกว่า 13,000 ล้านปี

(24 พ.ค. 40) นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจเอกภพ และคำนวณอายุเอกภพได้ 13,000 ล้านปี 
...

VLBI กล้องโทรทรรศน์ที่ใหญ่กว่าโลก

(26 เม.ย. 40) ดาวเทียม MUSES B ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศที่ศูนย์อวกาศทาโกชิมาในญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และเมื่อยานขึ้นไปถึงอวกาศก็จะได้ชื่อใหม่ว่า ฮารูกะ แปลว่า "ไกลออกไป" จานรับสัญญาณขนาด ๘ เมตรบนยานฮารูกะจะทำงานร่วมกับสถานีบนโลกที่กระจายอยู่ใน ๕ ทวีป เพื่อทำหน้าที่เป็นอินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ที่มีความกว้างมากกว่าขนาดของโลก เพื่อให้ได้ภาพในย่านความถี่วิทยุที่คมกริบของดาวที่อยู่ในบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของดาวและเควซาร์ในดาราจักรอื่น ๆ ดาวเทียมลำนี้เป้นส่วนหนึ่งในอภิมหาโครงการ VSOP ...

ฮับเบิลเข้าอู่

(19 เม.ย. 40) นักบินอวกาศจากยานดิสคัฟเวอรีกำลังเปลี่ยนอุปกรณ์บางชิ้นบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เป็นการปรับปรุงกล้องฮับเบิลครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของกล้องให้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งถอดเปลี่ยนอุปกรณ์บางชิ้นที่มีปัญหา ...

กล้องสองตายักษ์

(19 เม.ย. 40) พนักงานของ Steward Observatory Mirror Lab ซึ่งตั้งอยู่ใต้สนามอเมริกันฟุตบอลของมหาวิทยาลัยแห่งแอริโซนา กำลังเตรียมการในการหล่อกระจกขนาด ๘.๔ เมตร สำหรับของกล้อง Large Binocular Telescope (LBT) 
...

25 ปี ไพโอเนียร์ 10

(19 เม.ย. 40) วันที่ มีนาคม 2540 ที่ผ่านมา เป็นวันครบรอบ 25 ปีของยานไพโอเนียร์ 10 ภารกิจที่หลงเหลืออยู่ของยานไพโอเนียร์ 10 คืออะไร? 
...

อำลา อาลัย คาร์ล เซกัน

(13 ก.พ. 40) คาร์ล เซกัน นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคนิวโมเนีย ที่สถาบันวิจัยโรคมะเร็ง เฟรด ฮัชชินสัน ...

หลุมดำในดาราจักร... เรื่องธรรมดา

(13 ก.พ. 40) การค้นพบหลุมดำขนาดยักษ์ในใจกลางดาราจักร อาจจะไม่ใช่เรื่องตื่นเต้นอีกต่อไป
...

ชุดอวกาศเข้าพิพิธภัณฑ์

(13 ก.พ. 40) นอร์แมน ทาการ์ด ได้มอบชุดอวกาศของเขาให้แก่ Air and Space Museum โดยมีพิธีมอบเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๐ ที่ผ่านมา 
...

ยานอวกาศไบออนกลับมาแล้ว แต่ลิงตาย

(25 ม.ค. 40) ยานอวกาศไบออน 11 ของรัสเซียได้กลับมายังโลกแล้วหลังจากโคจรรอบโลกนาน สัปดาห์ ส่วนลิงหนึ่งในสองตัวที่นำขึ้นไปด้วยตายหลังจากกลับลงถึงพื้นโลกแล้ว
...

น้ำแข็งบนดวงจันทร์

(13 ม.ค. 40) นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากยานเคลเมนไทน์ ซึ่งสำรวจดวงจันทร์ในช่วงปี 2537-2538 และพบทะเลสาบน้ำแข็งขนาดมหึมาที่ขั้วใต้ของดวงจันทร์ จุดประกายความหวังที่จะสร้างอาณานิคมบนดวงจันทร์อีกครั้ง น้ำบนดวงจันทร์เกิดขึ้นได้อยางไร? เหตุใดจึงเพิ่งค้นพบน้ำในยุคนี้? ...

ยานอวกาศสำรวจดาวอังคาร สำเร็จสอง ร่วงหนึ่ง

(3 ม.ค. 40) ยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ และ ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ของสหรัฐ ทะยานพุ่งออกจากโลก และกำลังมุ่งสู่ดาวอังคาร ส่วนยาน มาร์ส 96 ของรัฐเซียตกสู่พื้นโลก 
...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น