สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(6 ก.พ. 64) นักดาราศาสตร์สุริยะส่วนใหญ่เชื่อว่า วัฏจักรสุริยะที่ 25 ที่กำลังดำเนินอยู่นี้ จะเป็นวัฏจักรกำลังอ่อนเช่นเดียวกับวัฏจักรที่ผ่านมา แต่งานวิจัยนักดาราศาสตร์คณะหนึ่งกลับแสดงว่า อาจเป็นวัฏจักรที่มีความรุนแรงที่สุดวัฏจักรหนึ่งเท่าที่เคยมีการบันทึกมาก็ได้ ...

จูโนไขปัญหาน้ำบนดาวพฤหัสบดี

(29 ม.ค. 64) ในปี 2538 ยานกาลิเลโอขององค์การนาซา ซึ่งเป็นยานสำรวจดาวพฤหัสบดีและบริวาร ได้ปล่อยยานลูกชื่อกาลิเลโอโพรบลงไปบนดาวพฤหัสบดีเพื่อสำรวจบรรยากาศของดาวเคราะห์ยักษ์ดวงนี้ กาลิเลโอโพรบตกลงสู่บรรยากาศดาวพฤหัสบดีบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรเล็กน้อย ยานได้ฝ่าบรรยากาศอันหนาแน่นของดาวพฤหัสบดีลง ...

ดาวหางก็มีแสงเหนือใต้

(18 ธ.ค. 63) องค์การอวกาศยุโรปได้ส่งยานโรเซตตาไปสำรวจดาวหาง 67 พี/ชูรูย์มอฟ-เกราซีเมนโค ระหว่างปี 2557-2559 ภารกิจได้สำเร็จลุล่วงไปอย่างงดงาม เป็นยานอวกาศลำแรกที่โคจรรอบดาวหางได้สำเร็จ ปล่อยยานลูกลงไปจอดบนนิวเคลียสดาวหางได้ ข้อมูลจากภารกิจนี้ช่วยให้นักดาราศาสตร์ได้รู้จักดาวหางมากขึ้น มีการค้นพบใหม่ ๆ หลายอย่าง ...

วงโคจรอะโพฟิสขยับ โลกเสี่ยงมากขึ้น

(3 ธ.ค. 63) ย้อนหลังไป 16 ปี วันที่ 19 มิถุนายน 2547 นักดาราศาสตร์ที่หอดูดาวแห่งชาติคิตต์พีกในทูซอน แอริโซนา ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงหนึ่ง ต่อมาได้ชื่อว่า 99942 อะโพฟิส (99942 Apophis) เมื่อคำนวณวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ พบว่ามีวงโคจรใกล้วงโคจรโลก มีคาบการโคจร 323.6 วัน ...

ลาก่อน อาเรซีโบ

(2 ธ.ค. 63) เมื่อวานนี้ (1 ธันวาคม 2563) เวลาราว 8 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่นเปอร์โตริโก แท่นอุปกรณ์หนัก 900 ตันที่ขึงอยู่เหนือจานสายอากาศของกล้องโทรทรรศน์อาเรซีโบได้ถล่มลงมาบนจาน ปิดฉากกล้องโทรทรรศน์วิทยุยักษ์ที่ดำเนิน ...

พบดาวแคระน้ำตาลใกล้บ้าน 95 ดวง

(4 พ.ย. 63) ดาวแคระน้ำตาล เป็นวัตถุที่มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์กับดาวฤกษ์ ดูเผิน ๆ คล้ายดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ แต่ที่แก่นดาวมีปฏิกิริยาหลอมดิวทีเรียม จึงแผ่ความร้อนออกมาด้วย ดาวแคระน้ำตาลมีความหลากหลายในด้านสมบัติ ...

ดาวเคราะห์ต่างระบบในต่างดาราจักร

(3 พ.ย. 63) ช่วงเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมา นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ดวง ดาวเคราะห์ที่พบมีความหลากหลายมากทั้งขนาด วงโคจร อุณหภูมิ แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ...

พบน้ำในพื้นที่รับแดดของดวงจันทร์

(29 ต.ค. 63) นับจากยุคที่การสำรวจดวงจันทร์เริ่มต้น นักวิทยาศาสตร์ได้ส่งยานอวกาศไปสำรวจนับสิบลำรวมถึงส่งมนุษย์ไปเดินบนนั้นและเก็บตัวอย่างหินดวงจันทร์กลับมาวิเคราะห์ ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าดวงจันทร์เป็นดินแดนที่แห้งสนิท ไม่มีแหล่งน้ำ แต่การสำรวจดวงจันทร์ในยุคต่อมา ...

ฟอสฟีนบนดาวศุกร์ หรืออาจจะแค่วิเคราะห์ผิด

(23 ต.ค. 63) ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์บริวารดวงที่สองของดวงอาทิตย์ มีวงโคจรใกล้โลกมากที่สุด มีขนาดใกล้เคียงโลกมาก แต่สภาพแวดล้อมบนดาวศุกร์กลับต่างจากโลกโดยสิ้นเชิง ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด ถึง 470 องศา ...

เดือนหน้าโลกมีบริวารเพิ่ม

(30 ก.ย. 63) โลกเรามีดวงจันทร์เป็นบริวารซึ่งโคจรรอบโลกมาเป็นเวลาหลายพันล้านปีแล้ว แต่โลกเราไม่ได้มีบริวารดวงเดียวเสมอไป บางครั้งเมื่อมีดาวเคราะห์น้อยผ่านเข้ามาใกล้ก็อาจถูกความโน้มถ่วงของโลกคว้าเอามาโคจรรอบตัวเองได้เหมือนกัน แต่บริวารจำพวกนี้มี ...

ซูเปอร์โนวาเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ครั้งใหญ่

(31 ส.ค. 63) ซูเปอร์โนวา เป็นการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวฤกษ์ การเกิดซูเปอร์โนวาแต่ละครั้งจะส่องสว่างได้มากกว่าดาราจักรทั้งดาราจักร นักดาราศาสตร์ตรวจพบซูเปอร์โนวาอยู่เสมอ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ดาราจักรอื่นที่อยู่ห่างไกล เป็นเวลานาน ...

พบดาวฤกษ์ปากเหวหลุมดำ เคลื่อนที่เร็ว 8 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วแสง

(21 ส.ค. 63) เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวเอส 2 เป็นดาวที่อยู่ใกล้หลุมดำคนยิงธนูเอ* มากที่สุด แต่เมื่อปี 2562 นักดาราศาสตร์พบดาวอีกดวงหนึ่ง มีชื่อว่า เอส 62 ดาวดวงนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์สองเท่า และโคจรรอบหลุมดำครบรอบทุก 10 ปี เป็นดาวที่ ...

เบเทลจุสเอาอีกแล้ว

(19 ส.ค. 63) เมื่อปลายปี 2562 นักดาราศาสตร์ได้สังเกตเห็นว่าดาวเบเทลจุสเริ่มหรี่แสงลงมากอย่างผิดสังเกต จนถึงปลายปี ดาวเบเทลจุสได้หรี่แสงจนคนที่ดูดาวเป็นก็สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า การหรี่แสงยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งความสว่างของดาวได้หายไปถึงสองในสามแล้วการ ...

ดาวเคราะห์บริวารของหลุมดำยักษ์

(16 ส.ค. 63) เมื่อเอ่ยถึงหลุมดำ หลายคนคงจะนึกถึงวัตถุจอมเขมือบที่ดูดกลืนทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าไปใกล้ บริเวณรอบหลุมดำคงจะต้องเป็นแดนแห่งความโกลาหล ทุกสิ่งทุกอย่างในบริเวณนี้จำต้องอยู่ในวาระสุดท้ายก่อนจะถูกกลืนหายไปตลอดกาล แต่ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เมื่อ ...

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าไม่ได้มีดาวเคราะห์แค่ดวงเดียว

(16 ส.ค. 63) เมื่อปี 2559 วงการดาราศาสตร์ได้ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบดวงหนึ่ง เป็นดาวเคราะห์ของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด อยู่ห่างออกไปเพียง 4.2 ปีแสง ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า พร็อกซิมาบี ดาวพร็อกซิมาบีมีขนาดใกล้เคียงกับโลก มีมวลมาก ...

อาจมีดาวเคราะห์ในเขตเอื้ออาศัยได้มากถึงเจ็ดดวงในระบบเดียว

(9 ส.ค. 63) น้ำเป็นสิ่งมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใด แม้แต่สิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่นก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน ดังนั้นการค้นหาสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะอื่น จึงต้องมุ่งไปที่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวแม่ในเขตที่เรียกว่า เขตเอื้ออาศัย ซึ่ง ...

โอมูอามูอาอาจเป็นก้อนไฮโดรเจนแข็ง

(14 มิ.ย. 63) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2560 นักดาราศาสตร์พบวัตถุดวงหนึ่งผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ในช่วงแรกเข้าใจกันว่าเป็นดาวหางธรรมดาดวงหนึ่ง แต่ต่อมาพบว่าวัตถุดวงนี้มีเส้นทางและความเร็วที่แสดงว่าไม่ได้มีต้นกำเนิดในระบบสุริยะของเรา หากแต่รอน ...

ดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้เกิดระเบิดตุงกุสคายังอยู่

(3 มิ.ย. 63) เมื่อเช้าวันหนึ่งในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2451 ได้เกิดลูกไฟสว่างวาบขึ้นที่ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ตามมาด้วยเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว การระเบิดครั้งนั้นรุนแรงเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นทีขนาด 5 เมกะตัน ทำให้พื้นที่ป่ากว่า 2,000 ตารางกิโลเมตรบริเวณที่ระเบิดราบ ...

ดาวเคราะห์หมายเลข 9 อาจไม่มีจริง

(31 พ.ค. 63) เมื่อปี 2559 นักวิจัยสองคนได้แก่ ไมค์ บราวน์ และ คอนสแตนติน บาทีจิน พบหลักฐานว่ายังมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากดาวเนปจูนออกไป หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้เกิดจากการสังเกตว่าวัตถุไคเปอร์หลายดวงมีวงโคจรที่เกาะกลุ่มกันอย่างผิดสังเกต ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลทางแรงโน้มถ่วง ...

พู่ไอน้ำบนดวงจันทร์ยูโรปา

(13 พ.ค. 63) ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี เป็นดินแดนที่น่าพิศวงที่สุดแห่งหนึ่งในระบบสุริยะ ดวงจันทร์ดวงนี้มีมหาสมุทรบาดาลที่อาจมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังพบสิ่งที่คล้ายกับพู่ไอน้ำพ่นออกมาจากพื้นผิวของยูโรปาอีกด้วย ล่าสุด ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น