สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(31 ส.ค. 63) ซูเปอร์โนวา เป็นการระเบิดอย่างรุนแรงของดาวฤกษ์ การเกิดซูเปอร์โนวาแต่ละครั้งจะส่องสว่างได้มากกว่าดาราจักรทั้งดาราจักร นักดาราศาสตร์ตรวจพบซูเปอร์โนวาอยู่เสมอ แต่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ดาราจักรอื่นที่อยู่ห่างไกล เป็นเวลานาน ...

พบดาวฤกษ์ปากเหวหลุมดำ เคลื่อนที่เร็ว 8 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วแสง

(21 ส.ค. 63) เป็นเวลานานมาแล้วที่นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวเอส 2 เป็นดาวที่อยู่ใกล้หลุมดำคนยิงธนูเอ* มากที่สุด แต่เมื่อปี 2562 นักดาราศาสตร์พบดาวอีกดวงหนึ่ง มีชื่อว่า เอส 62 ดาวดวงนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์สองเท่า และโคจรรอบหลุมดำครบรอบทุก 10 ปี เป็นดาวที่ ...

เบเทลจุสเอาอีกแล้ว

(19 ส.ค. 63) เมื่อปลายปี 2562 นักดาราศาสตร์ได้สังเกตเห็นว่าดาวเบเทลจุสเริ่มหรี่แสงลงมากอย่างผิดสังเกต จนถึงปลายปี ดาวเบเทลจุสได้หรี่แสงจนคนที่ดูดาวเป็นก็สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตาเปล่า การหรี่แสงยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งความสว่างของดาวได้หายไปถึงสองในสามแล้วการ ...

ดาวเคราะห์บริวารของหลุมดำยักษ์

(16 ส.ค. 63) เมื่อเอ่ยถึงหลุมดำ หลายคนคงจะนึกถึงวัตถุจอมเขมือบที่ดูดกลืนทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้าไปใกล้ บริเวณรอบหลุมดำคงจะต้องเป็นแดนแห่งความโกลาหล ทุกสิ่งทุกอย่างในบริเวณนี้จำต้องอยู่ในวาระสุดท้ายก่อนจะถูกกลืนหายไปตลอดกาล แต่ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป เมื่อ ...

ดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้าไม่ได้มีดาวเคราะห์แค่ดวงเดียว

(16 ส.ค. 63) เมื่อปี 2559 วงการดาราศาสตร์ได้ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบดวงหนึ่ง เป็นดาวเคราะห์ของดาวพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (Proxima Centauri) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด อยู่ห่างออกไปเพียง 4.2 ปีแสง ดาวเคราะห์ดวงนี้มีชื่อว่า พร็อกซิมาบี ดาวพร็อกซิมาบีมีขนาดใกล้เคียงกับโลก มีมวลมาก ...

อาจมีดาวเคราะห์ในเขตเอื้ออาศัยได้มากถึงเจ็ดดวงในระบบเดียว

(9 ส.ค. 63) น้ำเป็นสิ่งมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใด แม้แต่สิ่งมีชีวิตในดาวดวงอื่นก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน ดังนั้นการค้นหาสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะอื่น จึงต้องมุ่งไปที่ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวแม่ในเขตที่เรียกว่า เขตเอื้ออาศัย ซึ่ง ...

โอมูอามูอาอาจเป็นก้อนไฮโดรเจนแข็ง

(14 มิ.ย. 63) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2560 นักดาราศาสตร์พบวัตถุดวงหนึ่งผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ในช่วงแรกเข้าใจกันว่าเป็นดาวหางธรรมดาดวงหนึ่ง แต่ต่อมาพบว่าวัตถุดวงนี้มีเส้นทางและความเร็วที่แสดงว่าไม่ได้มีต้นกำเนิดในระบบสุริยะของเรา หากแต่รอน ...

ดาวเคราะห์น้อยที่ทำให้เกิดระเบิดตุงกุสคายังอยู่

(3 มิ.ย. 63) เมื่อเช้าวันหนึ่งในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2451 ได้เกิดลูกไฟสว่างวาบขึ้นที่ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ตามมาด้วยเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว การระเบิดครั้งนั้นรุนแรงเทียบเท่าระเบิดทีเอ็นทีขนาด 5 เมกะตัน ทำให้พื้นที่ป่ากว่า 2,000 ตารางกิโลเมตรบริเวณที่ระเบิดราบ ...

ดาวเคราะห์หมายเลข 9 อาจไม่มีจริง

(31 พ.ค. 63) เมื่อปี 2559 นักวิจัยสองคนได้แก่ ไมค์ บราวน์ และ คอนสแตนติน บาทีจิน พบหลักฐานว่ายังมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ไกลจากดาวเนปจูนออกไป หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้เกิดจากการสังเกตว่าวัตถุไคเปอร์หลายดวงมีวงโคจรที่เกาะกลุ่มกันอย่างผิดสังเกต ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลทางแรงโน้มถ่วง ...

พู่ไอน้ำบนดวงจันทร์ยูโรปา

(13 พ.ค. 63) ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี เป็นดินแดนที่น่าพิศวงที่สุดแห่งหนึ่งในระบบสุริยะ ดวงจันทร์ดวงนี้มีมหาสมุทรบาดาลที่อาจมีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังพบสิ่งที่คล้ายกับพู่ไอน้ำพ่นออกมาจากพื้นผิวของยูโรปาอีกด้วย ล่าสุด ...

ดาวดวงนั้นมันกลายเป็นฝุ่นไปแล้ว

(7 พ.ค. 63) ก่อนหน้านั้นได้มีการพบดาวเคราะห์บริวารของดาวดวงอื่นหรือที่เรียกว่าดาวเคราะห์ต่างระบบมาแล้วนับพันดวง แต่สำหรับดาวโฟมัลโอบีมีความพิเศษกว่าดวงอื่น ดาวเคราะห์ต่างระบบดวงอื่นล้วนแต่ถูกค้นพบด้วยวิธีทางอ้อม ไม่เคยถ่ายภาพได้โดยตรง แต่ดาวดาวโฟมัลโอบีเป็นดวงแรกที่ถูกค้นพบจาก ...

แสงวาบบนดวงจันทร์เกิดขึ้นทุกชั่วโมง

(6 พ.ค. 63) ดวงจันทร์ถูกชนบ่อยแค่ไหน? ถ้าต้องการพิสูจน์อย่างตรงไปตรงมาที่สุด ก็ต้องคอยสังเกตการพุ่งชนจริง ๆ เมื่อมีอุกกาบาตพุ่งชนดวงจันทร์ จะมีแสงวาบขึ้นที่ตำแหน่งพุ่งชน เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า ปรากฏการณ์ชั่วขณะ ...

สเปซเอกซ์ บลูออริจิน และไดเนติกส์ พัฒนายานนำมนุษย์ไปดวงจันทร์ให้นาซา

(3 พ.ค. 63) อีกเพียงไม่กี่ปี เราอาจจะได้เห็นมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง ภายใต้โครงการใหม่ของนาซาชื่อ อาร์ทิมิส โครงการนี้จะไม่เพียงส่งมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์เพียงสองสามวัน ...

อีกคำอธิบายเกี่ยวกับดาวเบเทลจุส

(18 เม.ย. 63) นักดาราศาสตร์เชื่อวันว่า เมื่อใดที่เกิดกระแสไหลวนที่ใหญ่เป็นพิเศษ เมื่อแก๊สเย็นตัวลงก็จะเกิดพื้นที่คล้ำขนาดมหึมาบนผิวดาว ทำให้ดาวหรี่แสงลงอย่างผิดสังเกต ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวเบเทลจุสในช่วงที่ผ่านมา แต่นักดาราศาสตร์อีกจำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำอธิบายนี้ งานวิจัยหนึ่งที่เขียนโดย เอมิลี เอ็ม. เลอเวสก์ จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และ ฟิลิปส์ แมสซีย์ ...

ดาวหางบอริซอฟอาจกำลังสลาย

(30 มี.ค. 63) มื่อปลายปีที่แล้ว ชาวโลกได้มีโอกาสต้อนรับดาวหางต่างด้าวอีกดวงหนึ่ง ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า ดาวหางบอริซอฟ (2I/ฺBorisov) ดาวหางต่างด้าวหมายความว่า เป็นดาวหางที่มีต้นกำเนิดมาจากระบบสุริยะหรือดาวฤกษ์ดวงอื่นนอกจากดวงอาทิตย์ ต่อมาด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง ดาวหางได้หลุดจากพันธนาการของดาวแม่ พเนจรผ่านอวกาศอันเวิ้งว้างก่อนจะพลัด ...

น้ำแข็งบนดาวพุธเกิดจากความร้อน

(30 มี.ค. 63) ดาวพุธ ดาวเคราะห์ดวงในสุดของระบบสุริยะ อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด จึงรับรังสีของดวงอาทิตย์เข้มข้นที่สุด มีอุณหภูมิพื้นผิวด้านกลางวันร้อนดั่งขุมนรกถึง 400 องศาเซลเซียส แต่ทราบหรือไม่ บนดาวพุธมีน้ำแข็งด้วย ...

เบเทลจุสหยุดแล้ว แต่นักดาราศาสตร์ไม่หยุด

(2 มี.ค. 63) จากการหรี่แสงลงอย่างผิดสังเกตของดาวเบเทลจุสตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่านี่อาจเป็นสัญญาณว่าดาวเบเทลจุสกำลังจะระเบิดเป็นซูเปอร์โนวาในไม่ช้านั้น จนถึงขณะนี้ เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าการคาดการณ์ดังกล่าวไม่เป็นความจริง ดาวเบเทลจุสได้หยุดหรี่แสงลงและค่อย ๆ สว่าง ...

พายุสุริยะเป็นเหตุให้ปลาวาฬเกยตื้น

(27 ก.พ. 63) เป็นเวลานานมาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์พยายามทำความเข้าใจถึงสาเหตุของปลาวาฬเกยหาด บางคนสันนิษฐานว่า โซนาร์จากเรือประมงไปรบกวนประสาทสัมผัสของปลาวาฬที่ใช้ในการนำทาง บ้างก็ว่าพิษในน้ำทะเลก็อาจมีส่วน บ้างก็กล่าวว่าเมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งในฝูงเกยหาด ก็จะส่งเสียงเรียกให้เพื่อนมาช่วยจนพากันเกยหาดยกฝูง ...

สเปซเอกซ์และโบอิ้งลุยธุรกิจท่องเที่ยวอวกาศ

(21 ก.พ. 63) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สเปซแอดเวนเจอรส์ บริษัทเอกชนอเมริกันที่ทำธุรกิจด้านท่องเที่ยวอวกาศ ได้แถลงว่า บริษัทได้ทำข้อตกลงกับสเปซเอกซ์ที่จะดำเนินกิจการท่องเที่ยวอวกาศโดยให้ผู้โดยสารเดินทางไปกับยานครูว์ดรากอนของสเปซเอกซ์ ...

เบเทลจุส หงอยไม่เลิก

(24 ม.ค. 63) นับจากเดือนกันยายนปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์เริ่มสังเกตเห็นว่าดาวเบเทลจุสเริ่มหรี่แสงลงอย่างผิดสังเกต จนถึงเดือนธันวาคม ความสว่างที่ลดลงไปของดาวดวงนี้ถึงกับสังเกตได้แม้จะมองด้วยตาเปล่า วันนี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการหรี่แสงของดาวดวงนี้ เมื่อวันที่ 22 มกราคม นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบการหรี่แสงครั้งนี้ได้เป็นคณะแรก ...

สะเก็ดข่าว

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

อาร์เทมิส 1 ทำฐานส่งเสียหาย

27 พ.ย. 65/ภารกิจอาร์เทมิส 1 ทะยานฟ้ามุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์แล้วอย่างสวยงาม แต่สิ่งที่ทิ้งไว้ที่ฐานส่งไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ วิศวกรพบความเสียหายหลายอย่างที่ฐานส่งจรวด ตั้งแต่สีหลุดล่อน กล้องเสียหาย ประตูลิฟต์พัง ท่อนิวเมติกเสียหาย อย่างไรก็ตามนาซามั่นใจว่าทั้งหมดนี้จะซ่อมเสร็จทันใช้ส่งภารกิจอาร์เทมิส 2 อย่างแน่นอน

ผู้โดยสารชุดแรกไปดวงจันทร์ของสเปซเอกซ์

6 พ.ย. 65/สเปซเอกซ์ได้เผยชื่อของผู้โดยสารชุดแรกที่จะเดินทางไปเที่ยวดวงจันทร์กับยานสตาร์ชิปของยานแล้ว ผู้โดยสารชุดนี้เป็นที่คุ้นเคยกันดี คือเดนนิส ติโต และภรรยา อะกิโกะ ติโต

อาร์เทมิส 6,7,8

22 ต.ค. 65/องค์การนาซาได้สั่งล็อกฮีตมาร์ตินให้ผลิตยานโอไรอันสำหรับภารกิจอาร์เทมิส 6, อาร์เทมิส 7 และ อาร์เทมิส 8 แล้ว

กำหนดวันเดินทางใหม่ของอาร์เทมิส 1

14 ต.ค. 65/นาซา ได้เลือกวันส่งจรวดในภารกิจอาร์เทมิส 1 ใหม่แล้ว เป็นวันที่ 14 พฤศจิกายน และวันกลับถึงโลกคือวันที่ 9 ธันวาคม รวมระยะเวลาของภารกิจ 25.5 วัน

มนุษย์อวกาศรัสเซียบนครูว์ดรากอน

7 ต.ค. 65/5 ตุลาคม 2565 อันนา คิคินา มนุษย์อวกาศหญิงจากรอสคอสมอสของรัสเซีย ได้เดินทางไปกับยานครูว์ดรากอนของสหรัฐอเมริกาไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ นับเป็นมนุษย์อวกาศรัสเซียคนแรกที่เดินทางไปกับยานของสเปซเอกซ์ การเดินทางครั้งนี้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและรัสเซียในการแลกเปลี่ยนมนุษย์อวกาศระหว่างกัน โดยยังคงให้มีมนุษย์อวกาศสหรัฐเดินทางไปกับยานโซยุซและให้มนุษย์อวกาศรัสเซียเดินทางไปกับยานของอเมริกัน

นาซาเลือกผู้ผลิตชุดอวกาศ

18 ก.ย. 65/นาซาได้เลือกแอกเซียมสเปซให้เป็นผู้ผลิตชุดอวกาศสำหรับมนุษย์อวกาศในภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งจะใช้ในการลงไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์

สะเก็ดข่าวอื่น