สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ข่าวดาราศาสตร์

(22 ส.ค. 62) เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2562 เวลา 10:38 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานโซยุซเที่ยวบิน เอ็มเอส-14 ได้ขึ้นสู่ท้องฟ้าที่ท่าอวกาศยานไบโคนูร์ ประเทศคาซัคสถาน เป้าหมายปลายทางคือสถานีอวกาศนานาชาติ ยานโซยุซ ถูกใช้เป็นยานโดยสารสำหรับขนส่งมนุษย์อวกาศระหว่างโลกกับสถานีอวกาศนานาชาติมาเป็นเวลาหลายปี ปกติจะ ...

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลรับรองชื่อใหม่บนดาวพลูโต

(11 ส.ค. 62) เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหรือไอเอยู ได้รับรองชื่อภูมิลักษณ์บนดาวพลูโตเพิ่มอีก 14 ชื่อ ชื่อภูมิลักษณ์ทั้ง 14 นี้ได้แก่พื้นที่ เทือกเขา ที่ราบ หุบเขา และหลุมอุกกาบาตที่ค้นพบโดยยานนิวเฮอไรซอนส์ขณะไปเยือน ...

พบดาราจักรดึกดำบรรพ์กลุ่มใหญ่ เขย่าทฤษฎีกำเนิดเอกภพ

(7 ส.ค. 62) นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดาราจักรมวลสูงจำนวนหลายสิบดาราจักรอยู่ห่างออกไปหลายพันล้านปีแสง ซึ่งอาจทำให้ต้องนักเอกภพวิทยาต้องกลับมาเขียนตำรากันใหม่ว่าเอกภพมีต้นกำเนิดอย่างไร และสภาพแวดล้อมในยุคเริ่มต้นของเอกภพเ ...

อิสราเอลปล่อยสัตว์ประหลาดลงสู่ดวงจันทร์

(7 ส.ค. 62) ดวงจันทร์ของโลก เคยเป็นที่เชื่อกันมานานว่าเป็นดินแดนที่ไร้ชีวิตโดยสิ้นเชิง แต่ถึงขณะนี้ นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงว่า ขณะนี้มีสิ่งมีชีวิตจำนวนนับพันที่ยังมีชีวิตอยู่บนดวงจันทร์ ย้อนหลังไปเมื่อวันที่ 11 เมษายน ยานแบเรชีต ซึ่งเป็นยานสำรวจดวงจันทร์สัญชาติอิสราเอลดวงแรก ได้ไปถึงดวงจันทร์ ยานมีภารกิจที่จะลง ...

ดวงจันทร์มีอายุมากกว่าที่คิด

(3 ส.ค. 62) ดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงดวงเดียวของโลก ทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์ที่เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันอธิบายว่า เมื่อนานมาแล้ว ได้เกิดมีวัตถุขนาดเท่าดาวอังคารดวงหนึ่งพุ่งเข้าชนโลกเมื่อนานมาแล้ว วัตถุดวงนี้มีชื่อว่า "เทีย" ผลจากการชน เศษของเทียและเนื้อโลกบางส่วนหลุดกระเด็นออกมาเป็นสายและโคจรรอบโลก เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า ...

ดาวเคราะห์น้อยคาบสั้นที่สุด

(1 ส.ค. 62) ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ชื่อ 2019 แอลเอฟ 6 (2019 LF6) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบใช้เวลาเพียงประมาณ 150 วัน วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้รีมาก จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ใกล้กว่าดาวพุธ จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ไกลกว่าดาวศุกร์ ...

ปลดระวางเทียนกง 2

(30 ก.ค. 62) เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 สถานีอวกาศเทียนกง 2 ซึ่งเป็นสถานีอวกาศแห่งที่สองของจีนได้ตกลงสู่โลก เป็นการปิดภารกิจอย่างสมบูรณ์ การตกของเทียนกง-2 ต่างจากการตกของสถานีเทียนกง-1 เมื่อปีที่แล้ว เพราะการตกครั้งนี้เป็นการตกแบบมีการควบคุม ซึ่งทางศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน ...

ดวงอาทิตย์ก็อาจเกิดซูเปอร์แฟลร์ได้

(27 มิ.ย. 62) บนดวงอาทิตย์ มีการปะทุชนิดหนึ่งที่แผ่พลังงานที่ร้อนแรงออกมาอยู่เสมอ เรียกว่าการลุกจ้า หรือ แฟลร์ แต่พลังงานจากการลุกจ้าที่พบบนดวงอาทิตย์นี้อาจเทียบไม่ได้กับการลุกจ้าที่พบในดาวฤกษ์บางดวง ในปี 2552 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ ขึ้นสู่ท้องฟ้าโดยมีภารกิจค้นหาดาวเคราะห์ต่างระบบที่คล้ายโลก สิ่งที่กล้องเคปเลอร์พบไม่ได้มีเพียงดาวเคราะห์เท่านั้น แต่ยังพบการปะทุรุนแรงจากดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ทำให้ ...

พบลูนาร์โมดูลของอะพอลโล 10

(21 มิ.ย. 62) อะพอลโล 10 เป็นภารกิจก่อนหน้าอะพอลโล 11 เพียงขั้นเดียว ถือว่าเป็นภารกิจ "ซ้อมเสมือนจริง" ของอะพอลโล 11 จึงมีรายละเอียดขั้นตอนต่าง ๆ เกือบเหมือนกัน เพียงแต่ไม่มีการลงไปจอดบนดวงจันทร์จริง ๆ เท่านั้น แม้จะไม่มีการลงจอดบนดวงจันทร์ แต่อะพอลโล 10 ก็มี ...

น้ำทะเลยูโรปาเหมือนน้ำทะเลโลก

(17 มิ.ย. 62) น้ำในมหาสมุทรบาดาลของยูโรปานอกจากจะเป็นของเหลวแล้วยังเป็นน้ำเค็มอีกด้วย ซึ่งยิ่งทำให้ดวงจันทร์ดวงนี้มีสภาพเอื้อต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น เดิมนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกลือในน้ำในมหาสมุทรของยูโรปาเป็นเกลือแมกนีเซียมคลอไรด์ แต่การ ...

หลักฐานใหม่สนับสนุนว่าพลูโตมีมหาสมุทรบาดาลได้

(23 พ.ค. 62) ถ้ามีใครมาบอกว่า ใต้พื้นผิวของดาวพลูโตมีมหาสมุทรบาดาลที่เป็นของเหลวอยู่ด้วย คงต้องถูกมองว่าเพี้ยนไปแล้วแน่ ๆ แต่นับวันการศึกษาดาวพลูโตก็ยิ่งเผยหลักฐานว่าแนวคิดดังกล่าวมีความเป็นไปได้ ไม่ใช่เรื่องเพ้อเจ้ออีกต่อไป โดยเฉพาะหลักฐานล่าสุดจากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในฮกไกโดซึ่งอธิบายได้ว่าน้ำใต้พื้นผิวดาวพลูโตยังคงสถานะ ...

จุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีกำลังจะแหลกสลาย?

(21 พ.ค. 62) ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วงการนักถ่ายภาพทางดาราศาสตร์เริ่มมีการเผยแพร่ภาพของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีที่มีรูปร่างแปลกตาไม่คุ้นเคย จุดแดงใหญ่ที่เคยเป็นวงรีสีแสดเริ่มปรากฏสิ่งที่ดูเหมือนเปลือกนอกค่อย ๆ หลุดล่อนออกมา ราวกับว่าจุดแดงใหญ่นี้กำลังจะสลายไป ...

พบน้ำในดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ

(13 พ.ค. 62) ยานฮะยะบุซะ เป็นยานสำรวจดาวเคราะห์ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา (JAXA) ยานนี้ได้ออกเดินทางจากโลกเมื่อปี 2548 โดยมีเป้าหมายที่ดาวเคราะห์น้อยชื่ออิโตะกะวะ ยานได้กลับมายังโลกในปี 2553 โดยนำตัวอย่างจากผิวดาวเคราะห์น้อย ...

ญาติโอมูอามูอาพุ่งเข้าใส่โลกเมื่อ 5 ปีก่อน

(28 เม.ย. 62) เมื่อปี 2560 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบวัตถุรูปร่างประหลาดดวงหนึ่ง มีลักษณะเรียวยาวคล้ายซิการ์ และพบว่าเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงนี้แสดงว่าไม่ได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ หากแต่เดินทางมาจากนอกระบบสุริยะของเรา วัตถุดวงนั้นต่อมามีชื่อว่า โอมูอามูอา นับเป็นการค้นพบวัตถุจากต่างดาวที่เข้ามาเยือนเป็นครั้งแรก ...

อินเดียสำแดงเดชยิงดาวเทียมด้วยขีปนาวุธ

(8 เม.ย. 62) เมื่อวันที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา อินเดียได้ทำการทดลองยิงดาวเทียมของตนเองชื่อ ไมโครแซต-อาร์ ด้วยขีปนาวุธ การทดลองครั้งได้ประสบความสำเร็จ ดาวเทียมถูกทำลายที่ความสูง 300 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก นายนเรนทระ โมที นายกรัฐมนตรีอินเดียได้กล่าวชื่น ...

ทำดาวเทียมให้เป็นป้ายโฆษณาลอยฟ้า

(6 เม.ย. 62) ลองจินตนาการดูถึงวันหยุดสุดสัปดาห์หนึ่ง คุณออกไปเที่ยวนอกเมืองเพื่อหลีกหนีความวุ่นวาย สูดไอดินปูเสื่อนอนดูดาว แต่ระหว่างที่กำลังมองดูดาวระยิบระยับแข่งกับแสงทางช้างเผือกอยู่เพลิน ๆ ก็มีจุดสว่างเคลื่อนมาจากขอบฟ้า แวบแรกก็คล้ายกับจะเป็นดาวเทียม แต่เมื่อแสงนั้นเข้ามาใกล้เหนือศีรษระมากขึ้น ก็เห็นได้ชัดว่านี่ไม่ใช่ดาวเทียมธรรมดา เพราะจุดแสงสว่างเรียงกันเป็นอักษร "KFC"! ...

เตรียมบอกลาแสงวาบอิริเดียม

(20 มี.ค. 62) แสงวาบอิริเดียม หรือ อิริเดียมแฟลร์ เป็นแสงที่สะท้อนจากดาวเดียมอิริเดียม ซึ่งมีอยู่มากถึง 66 ดวง แสงวาบจากดาวเทียมอิริเดียมมีความสว่างกว่าแสงสะท้อนดาวเทียมทั่วไปมาก ในบางจังหวะอาจสว่างถึงอันดับ -8 (สว่างกว่าดาวศุกร์ 20 เท่า!) ...

วัตถุในระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดดวงใหม่

(1 มี.ค. 62) เมื่อเดือนธันวาคม วงการดาราศาสตร์ได้ตื่นเต้นกับข่าวการค้นพบสมาชิกดวงใหม่ของระบบสุริยะที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากถึง 120 หน่วยดาราศาสตร์ นับเป็นวัตถุระบบสุริยะที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ มีชื่อทางการว่า 2018 วีจี 18 (2018 VG18) มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 500 กิโลเมตร จึงอยู่ในระดับที่เรียกว่า ...

ผู้โดยสารคนแรกของเวอร์จินกาแล็กติกขึ้นสู่อวกาศ

(28 ก.พ. 62) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยานวีเอสเอสยูนิตี ซึ่งเป็นยานในชั้นสเปซชิปทูของเวอร์จินกาแล็กติก ได้ขึ้นสู่อวกาศอีกครั้ง เที่ยวบินนี้มีความพิเศษตรงที่ในยานมิได้มีเพียงนักบินเท่านั้น แต่มีผู้โดยสารไปด้วย นับเป็นผู้โดยสารคนแรกของยานชนิดนี้ นักบินในเที่ยวบินนี้คือ เดฟ แมคเคย์ หัวหน้านักบิน ไมเคิล มัคซูชี ผู้ช่วยนักบิน ส่วนผู้โดยสารหนึ่งคนนั้นไม่ใช่ลูกค้าของเวอร์จินกาแล็กติก แต่เป็นคนของ ...

อัลติมาทูลี แบน!

(11 ก.พ. 62) ยานนิวเฮอไรซอนส์ ยานสำรวจดาวพลูโตและวัตถุไคเปอร์ขององค์การนาซา ได้เฉียดผ่านวัตถุไคเปอร์ชื่อ อัลติมาทูลี ไปเมื่อวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมา หลังจากการเฉียดผ่านไปเพียงไม่กี่วัน ภาพของอัลติมาทูลีชุดแรกที่ส่งกลับมา ก็สร้างความยินดี ...

สะเก็ดข่าว

จุดพุ่งชนของลูนา 25

30 ต.ค. 66/นาซาเผยภาพถ่ายของพื้นผิวดวงจันทร์ ณ จุดที่คาดว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์ในภารกิจที่ล้มเหลวที่ผ่านมา ภาพนี้ถ่ายโดยยานลูนาร์รีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ แสดงจุดพุ่งชนของยานอย่างชัดเจน เป็นการยืนยันว่ายานลูนา 25 พุ่งชนดวงจันทร์จริง หลุมมีความกว้างประมาณ 10 เมตร

นาซาอาจเปลี่ยนแผน ยังไม่มีคนไปดวงจันทร์ในอาร์เทมิส 3

10 ส.ค. 66/8 สิงหาคม 2566 องค์การนาซา ได้เปิดเผยว่า ภารกิจอาร์เทมิส 3 ซึ่งเดิมวางไว้ว่าเป็นภารกิจแรกของโครงการที่จะมีมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง อาจต้องเปลี่ยนแผนเป็นภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ เนื่องจากยานลงจอดดวงจันทร์ซึ่งพัฒนาโดยสเปซเอกซ์ยังไม่มีวี่แววว่าจะทำสำเร็จได้ทันกำหนดการซึ่งอยู่ราวปลายปี 2568

วอยเอเจอร์ 2 หาย!

2 ส.ค. 66/เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้รับคำสั่งที่ผิดพลาดจากนาซา ทำให้สายอากาศของยานซึ่งใช้ในการสื่อสารระหว่างยานกับโลกหันไม่ตรงโลก การสื่อสารระหว่างยานกับโลกจึงขาดหายไป คาดว่าการสื่อสารจะกลับมาเป็นปกติในวันที่ 15 ตุลาคมเมื่อถึงกำหนดที่ยานจะรีเซ็ตตัวเอง แล้วสายอากาศจะหันมาตรงกับโลกอีกครั้ง

เอ็มเค 2 ไปได้สวย

13 เม.ย. 66/ดอว์นแอโรสเปซ บริษัทการบินอวกาศสัญชาตินิวซีแลนด์-เนเธอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบเครื่องบินอวกาศที่ขับดันด้วยเครื่องยนต์จรวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนายานเอ็มเค 2 เครื่องบินในตระกูลเอ็มเคนี้เป็นระบบขนส่งอวกาศที่ใช้เครื่องบินแทนจรวด จึงมีความประหยัดและยืดหยุ่นมากกว่าแบบจรวด

เวอร์จินออร์บิตไปไม่ไหว

31 มี.ค. 66/เวอร์จินออร์บิต บริษัทผู้ให้บริการขนส่งอวกาศในเครือเวอร์จินกรุ๊ป ผู้บุกเบิกการส่งดาวเทียมด้วยจรวดติดบนเครื่องบิน ประกาศยุติการดำเนินงานเนื่องจากประสบปัญหาด้านเงินทุน

โซยุซ เอ็มเอส-22 กลับถึงโลก

28 มี.ค. 66/ยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่มีปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้กลับมาถึงโลกแล้ว อย่างราบรื่น เที่ยวบินนี้ไม่มีลูกเรือ มีเพียงสัมภาระบางส่วนที่ส่งกลับมาจากสถานีอวกาศนานาชาติ

ยูแอลเอ เตรียมขาย

2 มี.ค. 66/ยูไนเต็ดลอนช์อัลไลอันซ์ บริษัทเอกชนด้านการขนส่งอวกาศยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน มีแผนที่จะขายบริษัทภายในปีนี้

บัซ อัลดริน แต่งงานอีกครั้ง

23 ม.ค. 66/บัซ อัลดริน มนุษย์คนที่สองที่เคยเดินบนดวงจันทร์ ได้เข้าสู่พิธีสมรสเมื่อวันที่ 20 ที่ผ่านมา ปัจจุบัน บัซอายุ 93 ส่วนภรรยา แองคา ฟาร์ อายุ 63

รัสเซียอาจต้องส่งโซยุซเปล่าไปรับมนุษย์อวกาศ

28 ธ.ค. 65/รอสคอสมอสและนาซากำลังประเมินว่า ยานโซยุซที่เกิดปัญหาสารทำความเย็นรั่วไหลอยู่ในสภาพที่ดีพอจะนำมนุษย์กลับโลกได้หรือไม่ หากไม่ได้ รอสคอสมอสจะต้องส่งยานโซยุซเปล่าลำใหม่ขึ้นไปให้มนุษย์อวกาศใช้กลับโลก ซึ่งทางองค์กรกล่าวว่า ยานจะพร้อมส่งโซยุซขึ้นได้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

โซยุซรั่วอีกแล้ว

16 ธ.ค. 65/เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ที่ผ่านมา มนุษย์อวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้สังเกตว่ามีละอองของเหลวพ่นออกมาจากส่วนท้ายของยานโซยุซเอ็มเอส-22 ที่เชื่อมต่ออยู่กับสถานีอวกาศนานาชาติ เหตุการณ์นี้ทำให้กำหนดการออกย่ำอวกาศของมนุษย์อวกาศรัสเซียต้องยกเลิก และคาดว่าอาจมีผลกระทบต่อการกลับสู่โลกในเดือนมีนาคมด้วย เพราะมนุษย์อวกาศทั้งสามต้องใช้ยานลำนี้ในการกลับสู่โลก ส่วนตัวสถานีและมนุษย์อวกาศบนสถานีทั้งหมดไม่ได้รับอันตรายใด ๆ การสอบสวนเบื้องต้นเชื่อว่า สารที่รั่วออกมาน่าจะเป็นสารหล่อเย็นของยานโซยุซ และเหตุที่รั่วเป็นเพราะถูกสะเก็ดดาวขนาดเล็กพุ่งชน

สะเก็ดข่าวอื่น