(11 ม.ค. 66) การค้นพบนี้เกิดขึ้นจากโครงการเจดส์ (JADES) ซึ่งเป็นโครงการสำรวจอวกาศลึกด้วยกล้องเจมส์เวบบ์ โดยใช้กล้องเนียร์แคมของกล้องเจมส์เวบบ์สำรวจสเปกตรัม 9 ย่าน โดยเน้นไปที่ดาราจักรที่มีการเลื่อนไปทางแดงสูงมาก การ
...
(17 ธ.ค. 65) เมื่อปี 2555 วารสารเนเจอร์ได้เผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับหนึ่งซึ่งได้ทำให้โลกดาราศาสตร์ต้องตกตะลึง นักวิทยาศาสตร์พบหลักฐานว่ามีคาร์บอน-14 เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันในวงปีบางวงของต้นซีดาร์ญี่ปุ่น การสืบหาอายุจากวงปีชี้ว่า วงปีวงนั้นตรงกับปี ค.ศ. 774-775 โดยปกติคาร์บอน-14 เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่มีในธรรมชาติน้อยมาก ปริมาณทั่วทั้งโลกรวมกัน
...
(14 ธ.ค. 65) มีการค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่เกิดขึ้นแทบทุกวัน เมื่อเพียงไม่กี่เดือนก่อน ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่า จำนวนดาวเคราะห์ต่างระบบที่ค้นพบแล้วมีจำนวนเกิน 5,000 ดวงแล้ว และมีอีกกว่า 8,000 ดวงที่รอการยืนยัน แต่งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ อาจทำให้ยอดจำนวนดาวเคราะห์ที่พบแล้วต้องลดลงไปสามหรือสี่ดวง
...
(12 ธ.ค. 65) ลูนาร์แฟลชไลท์เป็นโครงการขององค์การนาซา ภารกิจของยานลำนี้คือ สำรวจหาแหล่งน้ำบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ โดยจะใช้วิธียิงเลเซอร์อินฟราเรดใกล้ใส่พื้นผิวดวงจันทร์ แล้วใช้สเปกโทรมิเตอร์บนยานตรวจวัดสเปกตรัมของรังสีที่สะท้อนกลับมา
...
(24 พ.ย. 65) ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารสองดวง ชื่อ โฟบอส และ ดีมอส ดวงจันทร์ทั้งสองมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับดาวอังคารเอง แม้จะมีขนาดเล็ก แต่นักดาราศาสตร์ให้ความสนใจบริวารของดาวอังคารมาก โดยเฉพาะโฟบอส ปัจจุบันโฟบอสโคจรรอบดาวอังคารด้วยคาบ 7 ชั่วโมง 39 นาที แต่วงโคจรของโฟบอสไม่เสถียร การคำนวณพบว่าดวงจันทร์ดวงนี้กำลังตีวง
...
(28 ก.ย. 65) ดาร์ต (DART -- Double Asteroid Redirect Test) พุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายแล้ว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 06:14 น. ตามเวลาประเทศไทย ในภารกิจชื่อเดียวกับยานนี้ ยานดาร์ตจะพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยเป้าหมายด้วยความเร็ว 22,530 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยให้ยานทำหน้าที่เป็นตุ้มน้ำหนักเพื่อชนให้ดาวเคราะห์น้อยมีวงโคจรเปลี่ยนแปลงไป บนยานยังมีกล้อง
...
(19 ส.ค. 65) ย้อนหลังไปเมื่อปี 2554 กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลตรวจพบดาวดวงหนึ่งมีความสว่างเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน แล้วก็หรี่แสงกลับลงไปอยู่ที่ความสว่างเดิม กระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน
...
(5 ส.ค. 65) คลื่นวิทยุวาบสั้น (fast radio burst) เป็นเป็นเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ชวนพิศวงที่สุดชนิดหนึ่ง เป็นคลื่นวิทยุความเข้มสูงที่แผ่ออกมาจากที่ใดที่หนึ่งในอวกาศและปรากฏขึ้นเป็นเวลาเพียงเศษเสี้ยววินาที ส่วนใหญ่กินเวลาเพียงระดับมิลลิวินาทีเท่านั้น แต่ภายในระยะเวลาเท่านั้นกลับมีพลังงานมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 500 ล้านเท่า
...
(4 ส.ค. 65) โลกหมุนรอบตัวเองในอัตราไม่คงที่ อัตราการหมุนขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากหลายปัจจัย ดังนั้นวงการวิทยาศาสตร์จึงเลิกใช้อัตราหมุนของโลกเป็นตัวกำหนดเวลามาตรฐาน โดยหันไปใช้นาฬิกาอะตอมที่เที่ยงตรงมากกว่าแทนตั้งแต่
...
(20 ก.ค. 65) จุลอุกกาบาตคือวัตถุแข็งขนาดเล็กระดับฝุ่นที่อยู่ในอวกาศ แม้มีขนาดเล็ก แต่จุลอุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงเหมือนอุกกาบาต เมื่อชนเข้ากับสิ่งใดก็สร้างความเสียหายได้ วัตถุมนุษย์สร้างไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม ยานอวกาศ สถานีอวกาศ
...
(12 ก.ค. 65) ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องเนียร์แคม ซึ่งเป็นภาพถ่ายอินฟราเรดใกล้ของเจมส์เวบบ์ ถ่ายโดยผนวกภาพถ่ายหลายใบที่ถ่ายในย่านความยาวคลื่นต่างกัน รวมระยะเวลารับแสง 12.5 ชั่วโมง ภาพที่ได้มีความละเอียด และคมชัดมากกว่าภาพอวกาศ
...
(8 ก.ค. 65) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมา องค์การนาซาได้เปิดเผยภาพที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เวบบ์เป็นครั้งแรก ภาพนี้เกิดจากการผนวกภาพถ่ายจำนวน 72 ภาพที่ถ่ายในช่วงเวลา 8 วัน รวมเวลารับแสง 32 ชั่วโมง เผยให้เห็นดารา
...
(7 ก.ค. 65) เมื่อปลายปี 2562 ดาวเบเทลจุส ดาวเด่นในกลุ่มดาวนายพราน และเป็นหนึ่งในดาวที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้า ได้แสดงอาการแปลก ๆ ในแบบที่ไม่เคยมีใครพบเห็นมาก่อน ดาวดวงนี้ได้เกิดหรี่แสงลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือเพียงครึ่งเดียวของความสว่างปกติ
...
(5 ก.ค. 65) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ได้มีข่าวน่าตื่นเต้นเล็ก ๆ ข่าวหนึ่งว่า นักดาราศาสตร์พบวัตถุลึกลับดวงหนึ่งกำลังจะพุ่งชนดวงจันทร์ วัตถุดวงนี้ไม่ใช่ดาวเคราะห์น้อยทั่วไป แต่คาดว่าเป็นจรวดท่อนบนของสเปซเอกซ์ซึ่งได้นำยานดิสคัฟเวอร์ (DSCOVR--Deep Space Climate Observatory) ของนาซา
...
(29 มิ.ย. 65) ย้อนหลังไปเมื่อ วันที่ 19 กรกฎาคม 2512 หรือกว่าครึ่งศตวรรษก่อน ภารกิจอะพอลโล 11 ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่โลกด้วยการนำมนุษย์ลงไปเดินบนดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรก ภารกิจในครั้งนั้น มนุษย์อวกาศได้นำตัวอย่างฝุ่นจากดวงจันทร์
...
(14 พ.ค. 65) ที่ใจกลางของดาราจักรทางช้างเผือก คือที่สิงสถิตของหลุมดำมวลยวดยิ่งที่มีชื่อว่า คนยิงธนูเอ* (Sagittarius A* หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Sgr A*) มีมวลประมาณ 4.3 ล้านมวลสุริยะ เช่นเดียวกับหลุมดำทั้งหลาย หลุมดำคนยิงธนูเอ* มืดสนิท ไม่เปล่งแสงใด ๆ แต่นักดาราศาสตร์ทราบว่ามีอยู่จริงจากการวิเคราะห์การเคลื่อนที่ของดาวที่อยู่ใกล้
...
(8 พ.ค. 65) นักดาราศาสตร์ต่างฝันถึงการค้นพบดาวเคราะห์ต่างระบบมานานแล้ว แต่การค้นหาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่อยู่ไกลหลายปีแสงเป็นเรื่องยากยิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่กว่าที่นักดาราศาสตร์จะพบดวงแรกก็ต้องรอมาจนถึงปี
...
(28 เม.ย. 65) เมื่อปี 2557 ยานฮะยะบุซะ 2 ขององค์การอวกาศญี่ปุ่นหรือแจ็กซา ได้ออกเดินทางจากโลกไปโดยมีเป้าหมายคือดาวเคราะห์น้อยริวงุ ยานได้ไปถึงเป้าหมายในเดือนมิถุนายน 2561 และได้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อย่างใกล้ชิดเป็นเวลา
...
(18 เม.ย. 65) บนดาวอังคารมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงมากมาย เช่น พายุที่รุนแรง ฟ้าแลบฟ้าร้อง แต่กระนั้นดาวเคราะห์ดวงนี้ก็เป็นดินแดนที่เงียบอย่างเหลือเชื่อ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ยานเพอร์เซอร์วีรันซ์ขององค์การนาซาได้เดินทางไปถึงดาวอังคาร ยานพร้อมทั้งอุปกรณ์
...
(15 เม.ย. 65) เมื่อปลายปีที่แล้ว
มีรายงานการค้นพบดาวหางดวงใหม่ดวงหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากและกำลังมุ่งหน้าเข้ามายังระบบสุริยะชั้นใน ดาวหางดวงนี้มีชื่อว่า ซี/2014 ยูเอ็น 271 (เบอร์นาร์ดิเนลลี-เบิร์นสไตน์) [C/2014 UN271 (Bernardinelli-Bernstein)] ต่อมาเมื่อเดือนมกราคมปีนี้ คณะนักดาราศาสตร์นำโดย ดร.สวี่ เหวินเทา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์มาเก๊า ได้สำรวจดาวหางดวงนี้อีกครั้งด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเพื่อวัดขนาดของนิวเคลียสให้แน่ชัด ...